- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
กรมศิลปากร
วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๕ และวันที่ ๒๙ มิถุนายน รวม ๒ ฉะบับไว้แล้ว พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกโล่งใจเมื่อได้อ่านพระอธิบายเรื่อง ตรามังกร ที่ทรงพระเมตตาประทานอธิบายมาในลายพระหัตถ์สองฉะบับนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าได้พบสำเนาพระราชสารคำหับ ครั้งปลายรัชกาลกรุงธนบุรีฉะบับหนึ่ง ว่าใช้พระราชลัญจกรเป็นตราพระมังกรหก ประทับในพระราชสารนั้นด้วยดวงหนึ่ง ตรามังกรของโบราณคดีสโมสร ที่ทรงสันนิษฐานว่าเป็นของเก่า คงไม่ต่ำกว่ารัชกาลที่ ๑ ก็มีเค้าตรงกันกับที่ทรงสันนิษฐาน แต่จะไม่ใช่องค์ที่ใช้ประทับพระราชสารไปเมืองจีน ซึ่งเป็นชะนิดมังกรหก หากไปเข้าใจรวมกันว่า เป็นตราองค์เดียวกัน
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระเมตตาทราบคำอธิบายในคำว่า คำหลวง เมื่อชำระมาถึงคำนี้ กรรมการก็หมดปัญญาแปล ตกลงมอบให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลขอพระเมตตาปรานี เพื่อทราบเกล้า ฯ ถึงคำนี้ คำหลวง ถ้าจะแปลว่าเป็นถ้อยคำของในหลวง ก็ไปติดขัดที่มี พระมาลัยคำหลวง และ นันโทปนันทสูตรคำหลวง ซึ่งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงนิพนธ์ หาใช่เป็นพระราชนิพนธ์ไม่ ถ้าจะสังเกตดูข้อความในหนังสือคำหลวง มีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง ที่ยกคาถามาตั้งไว้ แล้วก็แต่งขยายความจากคาถานั้น ทำนองกาพย์ห่อโคลง หรือคำหลวง จะหมายความถึงลักษณะทำนองนี้ แล้วบรรจุคำประพันธ์รูปต่าง ๆ ลงไปได้ทุกอย่าง ไม่จำกัดร่ายหรือโคลง ทั้งนี้ ก็เหลือปัญญาสามารถที่ข้าพระพุทธเจ้าจะเดาได้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
----------------------------
พระราชสารคำหับ จุลศักราช ๑๑๔๖
พระราชสารสมเด็จพระเจ้ากรุงมหานครศรีอยุธยาผู้ใหญ่ ปราบดาภิเษกตามบุราณราชประเพณีสืบมาแต่ก่อน มีพระราชรำพึงคิดถึงทางพระราชไมตรีสมเด็จพระเจ้ากรุงตาฉิงผู้ใหญ่ ซึ่งมีมาแต่กาลก่อน แต่งให้ พระสวัสดิสุนทร ราชฑูต หลวงบวรเสนหา อุปทูต หลวงพัฒนาพิมล ตรีทูต ขุนพัฒนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่ หมื่นพิพิธวาจา ปั่นสื่อ จำทูลพระสุพรรณบัตรสุวรรณพระราชสาร เชิญเครื่องพระราชบรรณาการ และพระราชสารคำหับอักษรจีน ออกมาจิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงตาฉิงผู้ใหญ่ ตามขนบบุรราชประเพณีสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าสืบมา ฯลฯ
พระราชสารปิดตราโลโต ครั้งนี้หาตราโลโตมิได้ ปิดตราพระไอยราพตมาเป็นสำคัญ
พระราชสารคำหับ จุลศักราช ๑๑๔๓
พระราชสารสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยาปราบดาภิเศกใหม่ คิดถึงครองพระราชไมตรีกรุงปักกิ่ง จึงให้พระยาสุนทรอภัย ราชทูต หลวงพิชัยเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อ หมื่นพิพิธวาจา ป้านสื่อ จำทูลพระสุพรรณบัตร สุวรรณพระราชสาร เชิญเครื่องพระราชบรรณาการ ช้างพลายช้างหนึ่ง ช้างพังช้างหนึ่ง (รวม) ๒ ช้าง ออกมาจิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิ้งผู้ใหญ่ ตามขนบพระราชไมตรีสืบมาแต่ก่อน ฯลฯ
แต่ก่อนพระราชสารคำหับปิดตราโลโต ครั้งนี้หาตราโลโตมิได้ ปิดตราพระไอยราพตมาเป็นสำคัญ
วันอังคารเดือน ๗ แรม ๒ ค่ำ ปีฉลูตรีนิศก เพลาบ่าย ๔ โมง เสด็จออกท้องพระโรง ทรง ฯ เรียกเอาพระราชสารคำหับ ให้พระยาพิพัฒโกษาอ่าน ๆ ถวายจนสิ้นเรื่อง ทรง ฯ สั่งพระยาพิพัฒโกษาว่าดีอยู่แล้ว เอาไปให้ล่ามแปลออกเป็นอักษรจีน พระยาพิพัฒโกษาให้ขุนแก้วอายัต นอกราชการ คัดเอาไปแปลเป็นอักษรจีน ถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ ปีฉลูตรีนิศก ให้จารึกพระราชสารเถิด
พระยาราชทูตว่า อย่างแต่ก่อน ท้ายพระราชสารว่า เคื่อนหล่งเสวยราชสมบัติได้ ๔๖ ปี
เวนนายทองคำ นายสัง แปลง ๓ ครั้ง ตราพระครุฑพาห์
ตราพระราชโองการ
ตราพระครุฑพาหน
๔ องค์
ตราพระไอยราพต
ตราพระมังกรหก