- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ฉันจะตอบหนังสือลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ของท่าน แต่คำตอบนั้นจะไม่มีอะไรตกลงปลงชิ้น ด้วยคิดอะไรไม่มีตก จึ่งเปนแต่จะบอกท่านตามที่ฉันรู้สึกนึกได้ เพื่อให้ท่านได้ทราบแปลกออกไป เปนทางที่จะได้พิเคราะห์เพิ่มเติมขึ้นอีกเท่านั้น
คำ ม้าน หรือ มาน แม้เอาความยุติได้ ไม้โทก็ไม่สำคัญ จะมีหรือไม่มีก็เหมือนกัน คำ ม้าน ฉันเข้าใจมาก่อนว่าเปนครึ่งแห้งครึ่งสด ด้วยได้ยินเขาพูดกันว่า ผึ่งแดดเสียพอม้าน หรือพวกช่างหล่อเขาพูดกันถึงดินหุ่นว่าดินม้าน ส่วน เข้าบ้าน เข้ารวง } นั้นยังไม่เคยพบไม่เคยได้ยิน ท้องมาน เข้าใจเสียว่า มาร หมายถึงท้องยักษ์คือท้องโต นึกคำ หน้าม้าน ได้อีกคำหนึ่ง ก็ไปเข้าพวกครึ่งสดครึ่งแห้ง
คำ มาน ในภาษาเขมรซึ่งแปลว่า มี นั้น อ่านว่า เมียน เพราะฉะนั้นจึ่งควรระวังคำว่า มาน จะเปน เมียน ไปก็ได้ คำโคลงฉันท์ของเรามีใช้ว่า ระเมียน แปลว่ากะไรก็ไม่ทราบ คำพูดมีว่า มิดเมี้ยน ยามลาว (หมอดู) จำได้มีว่า ทัมวลบเมี้ยน (เขียน ทัมวล เพื่อให้เปนนิคฤหิต ด้วยพูดว่า ทังวล ก็มี) จะเปนลาวแขวงไหนก็ไม่ทราบ จะเปนคำเดียวกับ ม้าน หรือไม่ใช่ก็ไม่ทราบ แต่ดูความเปนว่า ลับ
หมั่น เราพูดกันมี หมูน ก็มี เช่น เกิดหมูนพูนเขา ตรงทีเดียว มั้ว ก็มีคำ เช่น มั่วสุม
คำ มากมาย เคยมีเรื่องเข้ามาสู่หน้า ฉันไปดูปราสาทพิมาย นึกถึงคำนั้น คิดไม่ออก มีตำนานเล่าแปลชื่อ เอาเปนว่า พี่มา ตัดตัว ย ทิ้ง ตำนานแปลชื่อชะนิดนั้นมีมาก เช่น สามเสน ว่า สามแสน กางเขน ว่า กางแขน ฉันจึ่งไม่คำนึงถึง ครั้นกลับมากรุงเทพฯ จึงปรารภถึงชื่อปราสาทพิมายต่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านให้ความเห็นว่าเปนชื่อพระพุทธเจ้าตรงทีเดียว พิมาย คือวิมายา ผู้ไม่มีมายา ฉันเก็บเอาไปบอกสมเด็จกรมพระสวัสดิ เธอก็ชอบใจ อีกไม่ช้าเธอมาถามฉันว่า มากมาย จะเปนมากด้วยมายาหรือมิใช่ ฉันก็จน
คำ พูน โพน เปนคำเดียวกัน ไม่มีสงสัย
คำ เกรด เกลด เตรด อะไรพวกนี้ ฉันเคยทะเลาะกับท่านมาคราวหนึ่งแล้ว ท่านถามคำที่เขากล่าวถึงประตูเมรุว่า ย่อเกลด หรืออะไรก็ลืมเสียแล้ว ฉันอธิบายให้ท่านฟังว่า ชั้นยอดปราสาทที่เขาย่อยกออกมา เขาเรียกว่า ยกกะเปาะ หรือ ย่อเก็จ ย่อเกร็ด ย่อเกล็ด อะไรถูกก็ไม่ทราบ เรียกกันต่าง ๆ ฉันสมัครรับเอาเปน ย่อเกร็ด เพราะ เกร็ด หมายถึงแผ่นดินแหลมยื่นออกไป ท่านว่าภาษามลายูมี เกลเล็ต ว่าคลองเล็ก ฉันก็ยอมแพ้ ด้วยมีคำเรียกอยู่ว่า ปากเกรด แสดงว่าเปนปากคลอง
คำ เตรด มีอยู่เปนหลายแยก เตร็จเตร่เปนเที่ยวได้ พาหุรัตน์ตรัสเตร็จ เปนเที่ยวไม่ได้ คำ เกรด เตรด ที่ปนกันเลอะก็เพราะเราพูดตัวควบให้ต่างเสียงกันไปไม่ได้ เกรด ก็อ่านว่า เกรด เตรด ก็อ่านว่า เกรด ซ้ำ อินทรา ก็อ่านว่า อินกรา เสียด้วย
คำ ตะใน มีชื่อนกอยู่ด้วย ตระไนนี่สนั่นเสียง จะเปนชื่อภาษาอะไร รูปร่างจะเปนอย่างไร ก็ไม่ทราบ
ท่านจะสอบถามเขมรมอญพะม่าอะไรก็ตาม เห็นจะต้องเลือกถามคนที่ใฝ่ฝันอยู่บ้างในถ้อยคำ ถ้าถามคนสามัญ เห็นจะมากไปด้วยไม่รู้
ท่านวินิจฉัยว่า ทุ่ง แปลว่า เมือง ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า เมืองทุ่งยั้งก็มี มีตำนานยกศัพท์เปนภาษามคธว่า ทุํยงฺคนคเร จะแปลคำนั้นว่ากะไรก็ลืมเสียแล้ว