- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ท่านถามถึงตรามังกร จะตอบให้ท่านทราบ แต่เห็นเปนเรื่องมีสารอันหนึ่ง จึ่งแยกตอบมาเสียต่างหากให้เปนโดยจำเพาะ
ตรามังกร นั้น เปนพระราชลัญจกรอันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแก่โบราณคดีสมาคมหรือแก่ราชบัณฑิตยสภา อย่างไรก็เคลือบเคลิ้มไปเสียแล้ว แต่จะเป็นอะไรก็เหมือนกัน ด้วยโบราณคดีสมาคมนั้นเองยกขึ้นเปนราชบัณฑิตยสภาในภายหลัง ให้ใช้ตรานั้นเปนตราประจำสภา
ท่านคงทราบแล้วว่าแต่ก่อนไม่ใช้เซนชื่อ ใช้ตราประจำตัวหรือประจำตำแหน่งประทับแทนเซนชื่อ เพราะฉะนั้นบรรดาคนสามัญซึ่งมีธุระในการหนังสือก็ทำตราขึ้นใช้ประจำตัวเอง เว้นแต่คนลางคน ลางตำแหน่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดปราน จึงทรงพระกรุณาโปรดบริจาคพระราชลัญจกรพระราชทานไปใช้เปนตราประจำตัว นับกันว่าเปนเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง ไม่มีได้อย่างนั้นกันกี่คนนัก ตัวอย่างเช่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ได้รับพระราชทาน พระราชลัญจกรนารายน์เกษียรสมุท ไปใช้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงษ์ได้รับ พระราชลัญจกรสุริยมณฑล ไปใช้ ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้เปนตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลัง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้รับพระราชทาน พระราชลัญจกรจันทรมณฑล ไปใช้ ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้เปนตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง ได้รับพระราชทาน พระราชลัญจกรรูปมังกร ไปใช้ (เห็นในหนังสือเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง จดว่า มังกรเล่นแก้ว) ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเปนตราประจำตำแหน่งราชบัณฑิตยสภา พรรณนามาให้ท่านฟังเพียงเท่านี้ พอให้เปนตัวอย่างว่าตรานั้นสำคัญเพียงไร
อัน พระราชลัญจกรรูปมังกร ซึ่งโปรดพระราชทานราชบัณฑิตยสภามานั้น จะสร้างขึ้นครั้งไร และสำหรับใช้ในการสิ่งไรหาทราบไม่ แต่สังเกตรูปมังกรเห็นเก่ามาก คงไม่ต่ำกว่ารัชกาลที่ ๑ เขาพูดกันว่าสำหรับใช้รประทับตราพระราชสาสนไปเมืองจีน แต่ฉันไม่เชื่อ เพราะเห็นว่าติดจะเปนเล่นเปนล้อไป พระราชสาสนอันมีไปเมืองจีนนั้นน่าจะใช้ พระราชลัญจกรมหาโลโต มากกว่า
จะอธิบาย พระราชลัญจกรมหาโลโต ให้ท่านทราบเสียด้วย เปนตราที่พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานพระเจ้ากรุงสยาม เห็นจะเปนที่เจตนาจะตั้งแต่งเปนเมืองประเทศราชของกรุงจีน ทำด้วยหยกสีตองอ่อน มีลักษณเปนแท่นสี่เหลี่ยม บนนั้นแกะเปนรูปอูฐหมอบ ใต้นั้นแกะเปนหนังสือจีนอย่างตัวเหลี่ยมสี่ตัว ผู้รู้เขาอ่านว่า เสี้ยม โหล ก๊ก อ๋อง
ฉันอ่านหนังสือพิมพ์ พบเขาแปลเรื่องเซนต์ยอชแทงดรากอนลง มีรูปข้างต้นด้วย ได้ตัดส่งมาให้ท่านดูเล่นด้วยนี้แล้ว รูปมังกรเขียนเปนจรเข้เรานี่เอง ถูกกับที่เราได้คาดคะเนกัน