- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือลงวันที่ ๑๙ เดือนนี้ ตอบไปเรื่องอักขระ โอม ท่านช่วยสอบสวนขยายให้ได้ความรู้กว้างออกไป ดีมาก จะไม่ตอบย้อนมาอีกก็ไม่ได้ อะไรมันเตะอยู่ข้างในก็ไม่ทราบ
ฟังเปนยุติได้ว่าเดิมทีเดียวเขียนดั่งนี้ <img> ดูแต่นิคฤหิตหนังสือสํสกฤตเถิด เขียนจุดเดียว และหนังสือขอมชะนิดเขียนด้วยปากกาปากกว้าง ซึ่งเรียกกันว่า ขอมย่อ นั้นก็เขียนจุดเดียว เห็นจะมาแก้เปนกลวงกลางกันเมื่อเขียนด้วยเหล็กจาร เพราะจะเอาเหล็กแหลมทิ่มลงไปทีเดียวกลัวจะแลไม่เห็น จึ่งเขียนให้ใหญ่ก็กลายเปนพินธุ เมื่อนิคฤหิตเปนจุดกลวงไปแล้ว วงเล็บใต้นั้นก็พลอยกลวงเปนพาลจันทร์ไปด้วย
สูตต์ สฺุกาโร ฯ อฑฺฒเจนฺทา ฯ และ อุกาโรฯ นั้นไม่เคยทราบ ด้วยไม่เคยบุกเข้าไปในตำรา ปมํอิทฺธิเจ แล้วก็ไม่เคยเห็นเขาลงอักขระ โอม กันที่ไหนด้วย มีลงแต่อุณาโลม นั่นเคยได้ยิน เรียกสูตต์ว่า อุณฺณาโลมา ปน ชายเต อสํวิสุโลปุสพุภ ก็ได้ทราบ เขาเรียกว่า นว อรหาธิคุณ เปนอักษร ละ แห่งพระนามพระพุทธเจ้า มี อรหํ เปนเบื้องต้น มี ภควา เปนที่สุด
อดที่จะบอกความเห็นต่อไปไม่ได้ อุณาโลมรูปนี้ <img> ฉันคิดว่าเปนของทางไสยศาสตร์ คือตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งประดิษฐานอยู่ตรงหน้าผาก ที่เอามาใส่ไว้เหนืออักขระ โอม นั้น ก็แสดงอยู่ในตัวแล้วว่าเปนทางไสยศาสตร์ ตรามหาโองการ หมายถึงพระอิศวร ตราครุฑพาห์ หมายถึง พระนารายน์ ตราหงสพิมาน หมายถึงพระพรหม ตราไอยราพต หมายถึง พระอินทร ฯลฯ แต่ล้วนเปนทางไสยศาสตร์ทั้งนั้น ที่เรียกว่า อุณาโลม กลัวจะลากเอาเข้ามาสู่พุทธศาสนาทีหลัง ดูไม่เห็นจะเปนอุณาโลมได้ที่ตรงไหน พระพุทธรูปที่ทำกันในเมืองเราก็เปนพระนลาฏเกลี้ยง ๆ ไม่มีอุณาโลม มีพระพุทธรูปทางอินเดียเหนือ ทำมีอุณาโลมอยู่บ้าง แต่ก็ทำเปนเม็ดกลมๆ เท่านั้น เปนสมควรที่สุดที่จะหมายเปนขนหว่างคิ้ว เห็นหนังสือที่ไหนเขาอธิบายว่าเปนขนเส้นยาวขมวดอยู่ ที่ทำเปนรูปโคมูตรนั้น ไม่มีที่ไหนเลย
ไม้กางเขน ค้นไม่พบก็ต้องระงับไว้ที