- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ได้รับแล้ว
ความเห็นของท่านในเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ นั้นจะผิดไปไม่ได้ ไม่ว่าเรื่องอะไร จะต้องเป็นนิทานเล่าให้กันฟังก่อน แล้วกวีจึงเก็บเอาไปแต่งเปนหนังสือขึ้นทีหลัง เพราะเหตุฉะนั้น หนังสือที่ต่างฉะบับ คนละคนแต่ง ความผิดกัน ย่อมไม่ประหลาดเลย
ข้อที่พวกดาหลังรู้เรื่องแต่ลางตอน และเล่นแต่ตอนที่ชำนาญนั้นก็เปนธรรมดา เหมือนกับคนขับเสภาของเรา ก็ย่อมรู้เรื่องขับได้แต่ตอนที่จำได้แม่นยำเช่นเดียวกัน บทกลอนในตอนหนึ่ง เช่นเรียกว่าตอนไร่ฝ้าย ตอนขึ้นเรือน ฉะนั้น เปนต้น แต่ละตอนก็เปนต่างคนต่างแต่ง แล้วตัวก็ไปขับหรือสอนให้ศิษย์ไปเที่ยวขับ เพราะฉะนั้นคนขับจึ่งขับได้แต่เปนตอนๆ ที่ติดต่อกันไปได้เปนเรื่องเปนราวนั้น เพราะพวกกวีเที่ยวได้วิ่งขอจดเปนหนังสือลำดับติดต่อกันเข้า สังเกตดูก็เห็น ว่าต่างตอนย่อมต่างฝีปากกันทั้งนั้น ไม่ใช่คนคนเดียวแต่งให้เปนเรื่องตลอดไป
เมื่อเทียบกับทางประเทศอินเดียก็ลงรอยคล้ายคลึงกัน พวกนักปราชญ์ฝรั่งซึ่งเขาสอบสวนชำระคัมภีร์เวทเขาก็ยกย่องมุขปาฐะว่าแม่นยำดีกว่าหนังสือ แต่จะหาบุคคลผู้เดียวซึ่งทรงไตรเพทนั้นไม่มี มีแต่ได้เปนตอน ๆ ต้องวิ่งหาสอบติดต่อกัน ที่ว่าหนังสือไม่แม่นสู้มุขปาฐะไม่ได้นั้นก็แลเห็นเหตุ เพราะคนเขียนหนังสือย่อมไม่รู้ถ้อยคำแห่งพระเวทก็จำต้องเขียนผิด และถ้ายิ่งลอกกันต่อ ๆ ไปหลายทีก็ยิ่งผิดมากขึ้น อย่างบุราณว่าลอกสามที่กินตาย (คำนี้หมายถึงลอกตำรายา) ส่วนมุขปาฐะนั้นเขาได้ต่อจากปากครูผู้รู้ อย่างเราต่อหนังสือค่ำ จะผิดได้น้อยที่สุด เพราะเหตุดั่งนั้นเราจึ่งใช้วิธีท่องต่อหนังสือค่ำกัน ไม่ใช้ให้อ่านหนังสือ จนพระสวดปาฏิโมกข์ก็ใช้มุขปาฐะ หนังสือจะต้องมาทีหลังปากเปนแน่นอน