- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๔ ประทานคืนหนังสือเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งรัชกาลที่ ๓ กับประทานข้อทักท้วงในหนังสือเล่มนั้นบางแห่ง ซึ่งทรงสงสัยว่าจะผิด เพื่อข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบไว้ เผื่อมีโอกาศที่จะตีพิมพ์ใหม่ จะได้แก้ไขเสียให้ถูก ทั้งนี้เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบต้นฉะบับดู เมื่อได้ความประการใด จะได้กราบทูลมาเพื่อทราบใต้ฝ่าพระบาทภายหลัง
การชำระต้นฉะบับสำหรับตีพิมพ์ ดูเผินๆ ก็ไม่ยาก แต่เมื่อข้าพระพุทธเจ้ามาเห็นข้อทักท้วงที่ทรงพระเมตตาประทานมานี้ รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่าเป็นงานประณีต ผู้ชำระต้องเป็นคนใจเย็น และมีความรู้รอบตัว ถ้าเรื่องที่ชำระเกี่ยวกับความรู้ที่ไม่เคยเห็นหรือถนัด ก็อาจพลาดได้ง่าย หรือบางทีพบคำที่เอาความไม่ได้ ไปแก้เข้ากลับผิดไปก็มี ดังคำ หาบโพล่ ที่เคยตรัสเล่าให้ฟังว่า ผู้ไม่รู้แก้เป็น หาบโล่ ไป เพราะฉะนั้น จึงหาตัวคนชำระหนังสือได้ยาก แม้ข้าพระพุทธเจ้าเองก็ทำไม่ค่อยได้ เพราะเป็นคนสะเพร่าใจเร็ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงตกลงถือเป็นคติไว้ว่า ถ้าใครเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจชำระ ให้ยึดถือต้นฉะบับไว้อย่าแก้ เมื่อสงสัยคำไหน ก็ให้นำมาพูดกัน เพียงได้เท่านี้ก็ยังดี แต่ลางทีคำในต้นฉะบับผิด แต่อ่านก็ได้ความปล่อยไปตามเดิมก็มี ต่อเมื่อมีผู้รู้จักคำและเฉลียวใจขึ้น ความก็ปรากฏว่าที่จดไว้ แม้อ่านได้ความ ก็เข้าเรื่องกันไม่ได้สนิท เช่น ใน กฎหมายเก่าลักษณะเบ็ดเสร็จ แห่งหนึ่ง มีความว่า ถ้าผู้ใดแกล้ง ผูก จูง ขี่ } ช้าง ม้า โค กระบือ ให้กินเข้าท่าน เมื่อเป็น ต้น ลำ } เป็น เข้าม่าน เข้ารวง } ดังนี้ ดูก็ได้ความดี ครั้นมาเฉลียวนึกถึงคำว่า เข้าม้าน ซึ่งหมายความว่าเข้าลีบเข้าเสีย ความก็ไม่กินกันกับที่ต้องห้ามไม่ให้ ช้าง ม้า โค กระบือไปกิน ผู้ชำระมีความคิดดี ได้นำฉะบับเขียนและที่ตีพิมพ์แล้วมาสอบดูอีกหลายฉะบับ ก็เขียนเป็น ม้าน ทุกแห่ง ซ้ำในต้นฉะบับหนึ่งแก้เป็น เข้าลีบ ไป แต่ผู้ชำระเป็นชาวอิศาน ได้ออกความเห็นว่า เข้าม้าน นั้นเห็นจะเป็น เข้ามาน เกินไม้โทไป เพราะ เข้ามาน ภาษาถิ่นอิศานใช้เรียกเข้าที่มีท้องมีรวง และยังใช้เรียกหญิงมีครรภ์ว่า แม่มาน ตลอดจนความในที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่นเป็น โรคมาน ก็ว่า มีมานน้ำมานหิน เป็นต้น ดังนี้ ความก็เข้ากันได้สนิทดีกว่า ม้าน ข้าพระพุทธเจ้าซักถามผู้ชำระต่อไปว่า มาน โดยตรงจะแปลว่าอะไร ก็ตอบไม่ได้ เป็นแต่บอกว่า เขาใช้กันในความหมายข้างต้นเท่านั้น จะแปลว่าอะไรแน่ก็ไม่ทราบ ข้าพระพุทธเจ้าเกิดสนุก ก็ลองค้นหาคำนี้ว่าจะมีอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นหรือในภาษาจีนบ้างหรือไม่ ส่วนคำว่า มาน ในภาษาเขมร ทราบเกล้า ฯ ว่า แปลว่า มี ความไม่เข้ากัน ข้าพระพุทธเจ้าค้นหาคำว่า มาน ในภาษาไทยถิ่นอื่นก็ไม่พบ แต่ไปพบในภาษาจีนอยู่คำหนึ่งว่า อ่านว่า หมั่น หรือ หมูน ในเสียงชาวกวางตุ้ง หรือ มั้ว ในเสียงแต้จิ๋ว แปลว่า เสมอ ๆ มากมาย เปี่ยมอย่างน้ำเต็ม เมื่อนึกเทียบคำไทยที่มีความคล้ายคลึงกันเสมอ ๆ ก็มีคำว่า หมั่น ส่วนที่แปลว่ามากมายก็ใกล้กับความหมายในคำว่า มาน ของภาษาถิ่นอิศาน ความว่า เสมอๆ กับมากมาย ก็เป็นลักษณะเดียวกัน เมื่อมีเสมอ ๆ ก็ต้องมากมาย คำว่า หมุน ก็เทียบได้กับคำไทยว่า มูนมอง มากมูน ตลอดจนคำว่า พอกพูน ทางอิศานมีชื่อบ้าน ชื่ออำเภอว่า โพน เช่น โพนทอง โพนพิสัย ได้ความว่า โพน แปลว่า จอมปลวก หรือโขดเนิน ก็อาจเป็นคำพวกเดียวกับ พูน มีแนวเทียบในคำว่า โนน นูน เนิน เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไปภาคอิศาน ได้ไปเที่ยวที่ตำบลดอนหอม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นหมู่บ้านของพวกผู้ไทย ตำบลนี้ บางทีก็เรียกว่า โนนหอม และว่า ดอน กับ โนน ก็เป็นคำเดียวกัน ฟังดูก็มีเหตุผลทั้งในทางเสียง ด กับ น ที่อาจเพี้ยนกันได้ด้วยฐานกรณ์อยู่ใกล้กัน ความก็ใกล้กัน คือเป็นที่สูง ควันข้าพระพุทธเจ้าล่องมาตามลำแม่น้ำโขง ไปได้ความว่า เกาะในแม่น้ำโขงเขาเรียกว่า ดอน ทั้งนั้น ความจะมาแคบเข้าเมื่อไทยยกลงมาอยู่ใกล้ทะเล ไปได้คำว่า เกาะ ซึ่งคิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะมาจากเขมร คำว่า ดอน จึงคงเหลืออยู่แต่ที่ใช้เรียกที่ดินสูงอยู่บนบก อนึ่ง คำว่า แม่น้ำมูล คิดด้วยเกล้าฯ ว่า ถ้าเป็น มูน จะได้ความสนิทกว่า มูล ส่วนที่แต้จิ๋วออกเสียง หมั่น หรือ หมูน เป็น มั้ว เสียงและความก็ใกล้เข้ากับคำว่า มั่วสุม ในภาษาไทย
อีกคำหนึ่งคือ เกรด มีผู้เห็นในที่ประชุมทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ว่าจะเป็น เตรด ในภาษามอญ และของเก่าก็เขียนว่า เตรด ครั้นข้าพระพุทธเจ้าบอกว่า เตรด มีในภาษามอญ แปลว่า เที่ยวไป และใช้เป็น เตรดเตร่ ก็มี ก็เกิดทึกทักเอาว่าจะเป็นคำเดียวกัน แต่ข้าพระพุทธเจ้าไม่สมัครใจเห็นด้วย เพราะแปลความไม่สู้ได้กันสนิท ข้าพระพุทธเจ้าให้คนไปถามเจ้าคุณวัดชนะสงคราม พร้อมทั้งคำว่า ตะใน อีกคำหนึ่ง ซึ่งเป็นชื่อตำบลในอำเภอปากเกรด และในทำเนียบบางแห่งเขียน ตนัย ก็มี คงเป็นเรื่องลากเข้าความให้ตรงกับคำว่า ดนัย มากกว่าอื่น เจ้าคุณวัดชนะสงครามตอบมาว่า เกรด และ ตะใน เป็นภาษาไทย ไม่ใช่ภาษามอญ ก็เป็นอันล้มความคิดที่ว่ามาจากภาษามอญ คำว่า ตะใน ในต้นฉะบับซึ่งจังหวัดเขียนส่งมา เขียนว่า ใน ที่ประชุมตกลงเห็นว่า เมื่อแปลไม่ได้ความ เลยแก้ ใน เป็น ไน เสีย คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ใน เข้าทีกว่า เพราะ ตะใน อาจกร่อนเสียงมาจาก ตาลนอกตาลใน ก็ได้ ส่วนคำว่า เตรด ในภาษามอญแปลว่า เที่ยว ข้าพระพุทธเจ้าพบแปลกในพจนานุกรม มอญ-อังกฤษอยู่คำหนึ่ง เขียนไว้ว่า ret dung แปลว่า เที่ยวไปในเมือง ใกล้กับคำว่า เสด็จ เรดทุ่ง มาก บางทีจะเป็นคำเดียวกับ เตรด โดยลดเสียง ต ออกเสีย ซึ่งเป็นลักษณะคำกล้ำ มีอยู่ในภาษาไทยมาก เช่น แมง-แลง-แมลง แมบ-แลบ-แมลบ คลอด-ลอด ส่วน dung แปลว่า เมือง เสียงมอญอ่านว่า เดิง ทำให้ข้าพระพุทธเจ้านึกไปถึงเมืองทุ่งตึกที่ในจังหวัดตะกั่วป่า เป็นเมืองร้าง เพราะ ตึก ในภาษามอญก็แปลในความเดิมว่า กองอิฐ ถ้าถือคำในภาษามอญ ทุ่งตึก ก็น่าจะแปลว่า เมืองตึก ทั้งปรากฏว่ามอญเคยอยู่แถบนั้นมาก่อนแต่สมัยโบราณ
คำว่า เกร็ด เจ้าพระยาภาศกรวงศ์เคยบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า ในภาษามะลายู แปลว่า ช่องแคบ ข้าพระพุทธเจ้าจึงค้นดูในพจนานุกรมภาษามะลายู มีเขียนเป็นสองนัยว่า kellet บ้าง sellet บ้าง คำหลังนี้คงเป็นคำเดียวกับที่จีนแต้จิ๋วในเมืองไทยเรียกเมืองสิงคโปรว่า ซิลัด มาเมื่อเร็วๆ นี้ ข้าพระพุทธเจ้าอ่านเรื่องการเดินทางของชาวอินเดียสมัยโบราณกล่าวว่า ช่องแคบมะละกามีพวกโจรสลัดมะลายูคอยดักตีชิงอยู่เสมอ จนเป็นที่เกรงขามของนักเดินทะเลในสมัยนั้น ก็มาได้ความรู้ขึ้นอีกคำหนึ่งว่า สลัด กับ Sellat เป็นคำเดียวกัน ในหนังสือฝรั่งรุ่นเก่าเคยเขียนคำว่าสลัด เป็น Selleiters แปลว่า โจรสมุทร คำชะนิดนี้ค้นหาที่มาได้ลำบาก เพราะความหมายย้ายที่มาไกล ถ้าไม่ได้เรื่องราวมาประกอบก็ทราบไม่ได้ เมื่อทราบไม่ได้ก็หันเหแก้เสียงลากเข้าความให้แปลได้ ห่างจุดเดิมออกไปอีก ในตำรานิรุกติศาสตร์ของฝรั่งว่า Etymology เป็นวิชาประวัติศาสตร์ เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เป็นความจริงที่สุด
ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเลื่อนลอยจากเรื่องเดิมมาไกล ต้องขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง การจะสมควรสถานไร พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์