- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ เดือนนี้ ประทานข้อความต่าง ๆ ที่ทรงคิดเห็น ในเรื่องถ้อยคำที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถวาย พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
คำคู่ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า คำว่า รบรา ซึ่งได้เคยมีผู้ค้นหาคำแปลและที่มาของ รา แต่หาไม่พบ ก็น่าจะออกมาจากคำว่า รบ นั้นเอง เป็นคำซ้อนจำพวก วัดวา คบค้า กำชับกำชา
คำซ้อน ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านพบเรื่องคำซ้อนในหนังสือฝรั่ง เรียกว่า reduplication ว่าเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่แทบทุกภาษา มากบ้างน้อยบ้าง การซ้ำคำต่างภาษาก็มีวิธีซ้ำต่าง ๆ กัน เช่น
บอกลักษณะว่า ยิ่ง ว่า นัก หรือ มาก
ใช้วิธีซ้ำเต็มคำสองหน ในภาษาชาวเกาะ Mandingo ding ว่า เด็ก ding ding ว่าเด็กนิด มลายู ราชราช ว่า เจ้านายหลายองค์ โอรัง ว่า คนโอรังโอรัง ว่า ประชาชน
ใช้ซ้ำเต็มคำสี่ครั้ง igi ในภาษาชาวเกาะ Mantaway ว่ามาก igi-igi-igi-igi ว่ามากมาย
ให้ยืดหรือซ้ำเสียงพยางค์หลัง uatu ภาษาของชาวป่าในประเทศบราซิลว่า ลำธาร uatu-u-u-u ว่า มหาสมุทร
ใช้ซ้ำโดยตัดคำออกเสียบ้าง แปลงเสียงพยัญชนะเสียบ้าง ฯลฯ aliguli ในภาษาของพวกชาวป่าพวกหนึ่งในอเมริกาใต้ว่า เด็กชาย aliguguli เด็กชายหลายคน ในภาษายี่ปุ่น kuni ว่าประเทศ kuni-guni หลายประเทศ (เสียง ni เป็นโฆษ ลากเสียง k ให้เป็น g เป็นเสียงโฆษะไปด้วย) ในบางภาษาใช้เสียงซ้ำหลายครั้งซึ่งเกิดจากของบางอย่าง แล้วตั้งเป็นชื่อของนั้นก็มี เช่น ชาวป่าเอโนในเกาะยี่ปุ่น เรียกบุ้งขูดไม้ว่า Shiriushiriurani ในภาษาชาว Dhak ในเกาะบอร์เนียว หัวเราะใหญ่ว่า kakakkaka ภาษาชาว Maori เกาะ New Zealand ลมพัดว่า haruru ในภาษาอังกฤษ barbarian ก็ออกมาจากคำซ้ำ barbar โดยเลียนเสียงคนพูดไม่เป็นภาษาอย่างบ้าๆ แบ้ๆ แปลว่าชาติป่าเถื่อนพูดไม่เป็นภาษา ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานเดาคำว่า ใบ้ บ้า บอ บุ้ย ในภาษาไทย น่าจะมีกำเนิดมาจากลักษณะเดียวกัน
คำซ้ำในภาษาไทย ข้าพระพุทธเจ้านึกได้ คือ
(๑) บอกลักษณะยิ่ง มาก นัก โดยซ้ำคำเต็ม เช่น โตโต
(๒) บอกลักษณะอย่างข้างบน แต่ใช้แปลงระดับเสียงคำหน้าให้เป็นเสียงสูง เช่น แด๊งแดง ไม่ช้ายไม่ใช่
(๓) ใช้คำอื่นแซกกลางคำที่ซ้ำ เช่น อะไรต่ออะไร ใครต่อใคร
(๔) ใช้ซ้ำคำเพื่อแยกจำนวน เช่น เป็นคน ๆ ไป
(๕) ใช้ซ้ำคำ แต่หดเสียงสระในคำหน้า เป็นทำนองอัพพาสในตำราไวยากรณ์บาลี เช่น วะวับวะวาบ ระริกระรี่
(๖) บอกลักษณะการติดต่อเรื่อยไปไม่ให้ขาดระยะ ใช้ซ้ำคำเต็ม เช่น ช้าช้า คือ ให้ช้าสม่ำเสมอเรื่อยไป แดงแดง หมายความว่า คิดแต่สีแดงอย่างเดียว จะแดงมากแดงน้อย หรือมีสีอื่นปนอยู่ก็ไม่สำคัญ คงให้ถือแต่สีแดงอย่างเดียว ความจึงกลายเป็นว่า แดง ๆ แปลว่าไม่สู้แดง ในตำรานิรุกติศาสตร์ฝรั่งอธิบายว่า คำพูดในภาษามีวิภัติปัจจัย คำย่อมสำเร็จรูปมีความหมายแน่นอนอยู่ในตัว เช่น is ในภาษาอังกฤษ เป็นคำประกอบรูปคำเสร็จไว้ก่อนน่าที่จะพูดอยู่แล้ว เพราะ is จะมีความหมายเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากหมายความว่า is ใช้ฉะเพาะคนที่สามคนเดียว หรือ เทโว ในภาษาบาลี ก็เป็นคำผะสมเสร็จ หมายความว่าเป็น ปฐมาวิภัติ เอกพจน์ ปุงลิงค์ ส่วนภาษาใช้คำโดด เมื่อยังไม่กล่าวออกมา ก็ยังไม่เป็นรูปคำ ต่อเมื่อหลุดปากออกมา ผู้พูดก็ผะสมคำไปในตัว โดยวีธีเรียงลำดับคำให้เป็นไปตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ หาได้ประกอบคำขึ้นในตัวไม่ เพราะฉะนั้นคำที่เปล่งออกมาแต่ละคำ ถ้าเปรียบด้วยเส้นตามยาว ก็ไม่มีเขตต์สุด แต่คำในภาษาจำเป็นต้องมีฐานและเขตต์สุดของเส้นตามยาว จึงจะเป็นที่เข้าใจกัน ที่พูดว่า ช้า ก็หมายความว่า ตามเส้นซึ่งเป็นฐานตั้งแต่ A ไปถึง B เป็นสุดเขตต์ เป็นระยะของคำว่า ช้า ถ้าพูดว่า ช้าช้า ก็หมายความแบ่งระยะของคำว่า ช้า เป็นสองตอน แต่ละตอนให้ถือเอาอาการช้าอย่างเดียว อาการอย่างอื่นไม่นึกถึง ตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลมานี้ ไม่แน่ใจว่าข้าพระพุทธเจ้าจะเข้าใจความหมายของเขาได้ถูกต้อง ด้วยเป็นเรื่องทางจิตตวิทยา คำผิดพลาดอย่างไร ขอรับพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงระเมตตา
คำว่า ถึก คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นคำไทย พะม่าน่าจะได้ไปจากไทยใหญ่ เพราะ ถึก มีอยู่ในภาษาไทยทุกถิ่น คือ มีอยู่ในภาษาอาหม ไทยใหญ่ คำที่ ไทยขาว ไทยโท้ ไทยนุง และไทยย้อย เสียงเพี้ยนเป็น ถิก ติก ตึก ไปบ้าง แต่มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ใช้ประกอบบอกเพศของสัตว์สี่เท้าว่าเป็นตัวผู้ เช่น ลิงถึก งัวถึก ถ้าเป็นนก จึงจะใช้ว่า ผู้ เช่น ไก่ผู้ นกยูงผู้
คำว่า แง อาจเป็นคำพะม่า แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังรวนเรใจ เพราะ แง น่าจะเป็นคำตั้งจากเสียงร้อง จึงยากที่จะวินิจฉัย เพราะอาจพ้องกันได้ทั้งเสียงและความ แม้จะเป็นคนละตระกูลภาษา ถ้าความคิดและฟังเสียงของผู้ตั้งคำตรงกัน เพราะแง ๆ ในภาษาไทยก็มี เป็นเสียงร้องของเด็กเล็กๆ ในภาษาอาหมมีคำว่า งี หรือ เง แปลว่า บุตรคนเล็กที่สุด ความได้กับ ลูกแหง คือ ลูกเล็กที่สุด และ งี แปลว่า กวาง ตรงกับภาษาจีน ซึ่งคงจะตั้งตามเสียงร้องของกวาง เสียงร้องไห้ครวญครางในภาษากวางตุ้งว่า เหย่ เหง่ เอ่ ก็น่าจะเทียบได้กับ แย แง ในภาษาไทย และ ขี้แอ่ ในภาษาพายัพ
คำประกอบกับสี ที่ทรงสันนิษฐานว่า เขียวจี๋ จะมาจาก เขียวขจี ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในกระแสพระดำริ เพราะเสียง ขะ เป็นเสียงเบา เวลาพูดเผลอตัว อาจหลุดหายไปได้ ด้วยอยู่ในระหว่างเสียงหนัก ที่ เขียวจ กลายความหมายว่าเขียวจัด คงจะเป็นเพราะ ขจี เป็นคำต่างประเทศ ผู้ใช้อาจเข้าใจผิดในความหมายไปได้
ข้าพระพุทธเจ้าอดขันเรื่องที่ตรัสเล่าต่อนิทานพระยามนตรีสุริยวงศ์ไว้ไม่ได้ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า กระต่ายขูดมะพร้าวของเดิมจะมีลักษณะรูปไม่เหมือนกัน จึงทำให้คิดเห็นรูปกระต่ายขูดมะพร้าวเป็นชื่อต่างๆ เป็นเหตุให้ข้าพระพุทธเจ้านึกเลยไปถึงการตั้งชื่อสัตว์ต่างๆ ในครั้งแรก เดิมคงตั้งชื่อตามเสียงที่มันร้อง เพราะมีพะยานอยู่มากภาษาด้วยกัน และเป็นภาษาอยู่คนละตระกูล แต่เสียงเพี้ยนไปตามแต่จะได้ยิน และถือเอาเสียงร้องนั้นพอเป็นประมาณ แต่มีชื่อสัตว์บางชะนิด ซึ่งชื่อของมันในบางภาษาก็ไม่ไปทางเสียงที่ร้องเลย เช่น อัศว ในภาษาสํสกฤต เป็นต้น บางทีการตั้งชื่อจะไม่อาศัยเสียงร้องของมันอย่างเดียว น่าจะถือเอาลักษณะอื่นที่เป็นพิเศษในสัตว์นั้น จะเป็นด้วยเหตุนี้ได้บ้าง ความคิดในเรื่องกระต่ายขูดมะพร้าวจึงเป็นต่าง ๆ
ไม้ม้วน ข้าพระพุทธเจ้าเคยสอบค้นมาคราวหนึ่ง รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่าเป็นเสียงที่แปลก และฝรั่งจดเสียงไว้สับปลับมาก แต่ก็มีเค้าพอพิจารณาได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายผลสอบค้นทีหลัง
งัวขัน ขานชื่อ เรือขนาน ข้าพระพุทธเจ้าค้นในภาษาอาหม พบคำ khā n ซึ่งเป็น ขัน ขาน คัน คาน หรือจะเป็นระดับเสียงไหนก็ได้ แปลไว้ว่าขวาญ เคียว เจ็บร้าว กะสวย เรือสองลำผูกติดกัน สนิม ฉมวก คำ พูดไปเร็ว ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในกระแสพระดำริว่า งัวขัน ก็คือ งัวขาน เพราะในภาษาอาหมก็มียันอยู่ว่า ขัน หรือ ขาน แปลว่า พูด ในภาษาไทยขาว ขาน แปลว่า ตอบ ในไทยย้อย หาน แปลว่าตอบ ก็เป็นคำเดียวกับ ขาน แต่ในปทานุกรมของเราว่า ขาน มาจาก ขยาน ในภาษาสํสกฤต ซึ่งคงเป็นการลากไทยเข้าหาภาษาสํสกฤตมากกว่าอื่น
ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้นึกเฉลียวไปถึงคำว่า ขนาน ว่าที่ถูกเป็น เรือขนัน ต่อเมื่อทรงแนะขึ้นจึงได้เห็น คงจะเป็นเพราะเสียงสั้นยาว เป็นเสียงที่สับปลับในภาษาไทยถิ่นต่างๆ เป็นข้อเตือนใจให้ข้าพระพุทธเจ้าได้สติสำหรับพิจารณาคำอื่น ๆ ต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์