- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับใส่เกล้า ฯ ตรวจค้นหาคำ อาทมาฏ ตามที่ทรงแนะแนวทางประทานมา ในลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๕ เดือนนี้ พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ในชั้นต้น ข้าพระพุทธเจ้าค้นดูในพจนานุกรมภาษามอญ คงพบคำที่มีเสียงใกล้กันที่สุด ก็คือคำว่า เอาะหตะเมอะห์ แปลว่า บันเทอง ความไม่เข้ากันกับ อาทมาฏ ซึ่งในพระราชพงศาวดาร มีเค้าคล้ายเป็นกองสืบข่าว และในจดหมายเหตุเรื่องตีเมืองพุทไธมาศครั้งกรุงธนบุรี เรียกว่า กรมอาจารย์ บ้าง กองอาทมาท บ้าง (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖ หน้า ๗ แล ๘)
ข้าพระพุทธเจ้าได้วานคนไปสืบถามพระที่วัดชนะสงคราม ได้รับตอบว่าคำว่า สมิงอาทมาฏ สองคำนี้ ท่านเจ้าคุณสุเมธมุนี เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามว่า เป็นภาษามอญทั้งสองคำ และเป็นบรรดาศักดิ์มอญด้วย แต่คำในภาษามอญที่คล้ายคลึงคำว่า อาทมาฏ นั้น ท่านว่านึกไม่ได้ เป็นแต่เมื่อต่อคำสองคำคือ สมิง อาทมาฏ เป็น สมิงอาทมาฏ แล้ว แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่าแม่กอง
คำ อาทมาฏ เป็นอันได้ความแน่ขึ้นมาชั้นหนึ่ง ว่ามีอยู่ในภาษามอญ จะเป็นคำเก่าของมอญ หรือคำเดิมได้มาจากภาษาทางอินเดีย จึงแปลกันไม่ออก ที่แปลว่านายกอง คงแปลเดาตามรูปความ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า จะมาจาก อาตมารถ ในภาษาสํสกฤต ซึ่งพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีชี้แจงไว้ในหนังสือวรรณคดีสมาคมว่า มีอยู่ในภาษาทมิฬ เป็นภาษาปาก ใช้พูดกันเท่านั้น หมายความว่า ลับ ความน่าจะเข้ากันได้กับลักษณะ กองอาทมาฏ แต่ยังมีที่ขัดข้องอยู่ที่คำนี้ไม่ใช่เป็นคำที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในภาษาทมิฬ บางทีทมิฬจะได้ความหมายในคำนี้มาจากภาษาอื่นอีกต่อหนึ่ง ภาษาที่เกี่ยวข้องกับทมิฬและมอญ ก็มีภาษาเตลุคุ หรือที่เรียกในภาษาปรากฤตว่า เตลิงค์ ว่าเป็นกำเนิดเดิมของคำว่า เตลง ที่ในหอสมุดมีพจนานุกรม เตลุคุ-อังกฤษ แต่ไม่ได้ให้ตัวโรมันไว้ ข้าพระพุทธเจ้าลองจดตัวพยัญชนะและสระภาษาเตลุคุมาประกอบเทียบดูกับตัวเตลุคุที่มีอยู่ในพจนานุกรม แต่ก็ต้องละความเพียร เพราะไม่สามารถจะทราบได้ ถึงรูปคำที่ประกอบขึ้นแล้ว ว่ามีตัดเติมกันอย่างไรบ้าง ความรู้ในคำ อาทมาฏ จึงไปชะงักอยู่เพียงว่า มือยู่ในภาษามอญเป็นชื่อตำแหน่งเท่านั้น
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์