- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๒๓ สองฉะบับ ได้รับแล้ว
มกร อาจารย์จิลเดอส์แปลว่า สัตว์ร้ายในทะเล อาจารย์โมเนียว่าลางทีก็เอาไปคลุกกับจรเข้ ตามที่ว่าเช่นนี้เห็นชอบกลหนักหนา ด้วยมังกรจีนก็เห็นมีสองอย่าง อย่างหนึ่งหน้าคล้ายสิงห์โต ตัวยืดยาวเปนงู มีตีน อีกอย่างหนึ่งหน้าคล้ายจรเข้ ตัวก็สั้นใกล้ไปข้างจรเข้ แต่อย่างหลังนี้พวกเราที่เล่นลายครามเขาตัดสินกันว่าเปนมังกรญี่ปุ่น จะอย่างไรก็ตามที แต่ได้เห็นของจีนในสิ่งอื่น มีมังกรหน้าจรเข้อยู่จริง ๆ ทำให้เข้าใจว่า มังกรหน้าสิงห์โตเปนของใหม่ หน้าจรเข้เปนของเก่า มังกรของไทยเราก็เปนพวกจรเข้ ดูพระราชลัญจกร ซึ่งโปรดพระราชทานบัณฑิตสภาลงมา อันได้จำลองตีหนังสือรุ่นเก่าของหอพระสมุดนั้นเถิด เมือความเปนไปอย่างว่านี้มีอยู่ ธงจรเข้ก็คือธงมังกรนั่นเอง ผิดกันแต่เขียนเปนจรเข้จริง ๆ กับเขียนใส่สีไปเล็กน้อยเท่านั้น เปรียบเหมือนราชสีห์ มีตัวจริงอยู่แท้ๆ ยังดัดแปลงใส่สีเปนอะไรไปได้ ไกลกว่าจรเข้กับมังกรไปเสียอีก
ท่านพบตู้ที่ฉลักเปนรูปมังกร ว่าอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณนั้นดีแล้ว ฉันจะไปพิจารณาดูให้ดีอีกทีหนึ่ง
คำ Kum’hîra ฉันเห็นจะลงเนื้อเห็นว่า เปนคำนี้เองที่เคลื่อนมาเปน เหรา จึ่งมักติดมากับจรเข้ Kum’hîra ก็ตกตัว b ไปตัวเดียวเท่านั้น จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เหรา ก็คือจรเข้นั้นเอง
คำ กุฎมพี ฉันเคยตกใจมาแล้ว ในความหมายข้างไทยเปนคนต่ำ แต่ทางสํสกฤตว่าคนมั่งมี ขัดกันตรงข้าม ที่อาจารย์หอบสอน-ชอบสอน ว่าคนต่ำได้มั่งมีขั้นนั้นดีทีเดียว อธิบายให้เปนลูกโซ่เกี่ยวความซึ่งตรงกันข้าม ให้ประสานกันเข้าได้
แทงวิไส สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงสันนิษฐานว่า เปนของมลายูจัดมาเล่นถวาย ดุจพวกเมืองหลวงพระบางเอาสิงห์กับและคนป่ามาเล่นถวาย เมื่อครั้งโสกันต์กรมขุนสุพรรณภาควดี แต่ทางสันนิษฐานชะนิดนี้ฉันไม่สู้ จึ่งไม่ได้เขียนบอกมาให้ท่านทราบ ที่เรียกว่า สิงห์กับคนป่า นั้น เราเรียกกันเอาเอง เพราะอ้ายสิงห์นั้นปากมันงับคังกั๊บ ๆ เข้ากับจังหวะกลอง อ้ายคนป่านั้น ใส่หัวโตเบ้อเร่อ ตัวเปนฟางไปทั้งตัว จะหมายความว่าตัวเปนขนหรือห่มคากรองก็หาทราบไม่ วิธีเล่นก็ไม่มีอะไร อ้ายคนป่ามีสองคนรำเข้าล้อสิงห์ แล้วก็ทำตกใจวิ่งหนีออกห่างไป อ้ายสิงห์ก็ลอยหน้าทำปากกับ ๆ ไป ไม่เห็นมีอะไรยิ่งกว่านั้น สิงห์ก็อย่างสิงห์โตที่เจ๊กเล่นนั่นเอง แต่ตัวมีขนทำด้วยฟางไปทั้งตัว การเล่นอันนี้พวกเขาจะเรียกว่าอะไรไม่ทราบ พวกไทยที่ไปหลวงพระบางมาอธิบายว่าคนป่าสองคนนั้น คนหนึ่งเรียกว่า ปู่เยอ เปนชาย อีกคนหนึ่งเรียกว่า ย่าเยอ เปนหญิง เปนต้นสกุลของมนุษย์ดุจอาดัมกับเอวา ฉะนั้น จะถูกจริงหรือไม่ก็ไม่ทราบ
เรื่องหอกมลายู ฉันรู้เปนท่อน ๆ ได้ฟังเขาอ่านบอกทูลถวายได้แต่ชื่อมาเช่นบอกกับท่านแล้วนั้นท่อนหนึ่ง แล้วได้ไปเห็นหอกชะนิดหนึ่ง ตัวหอกกับบ้องโตไล่เลี่ยกัน ที่คอหยักคอดเข้าไป มีทองยับ ๆ หุ้มอยู่ที่คอ เขาบอกว่านี่คือหอกมลายู ฉันก็นึกอ้อเอาในใจว่า นี่เองที่เรียกว่า หอกคอทองเถลิงทอง แล้วได้เห็นม้าในกระบวนแห่คเชนทรัศวสนาน มีซองสองข้างอาน มีเหล็กปลายแหลมสองสามอันเสียบอยู่ในซองกับกำหางนกยูง มีปลายเอนไปข้างหลัง เขาว่าเหล็กแหลมนั้นคือ หอกซัด ซัดด้วยท้าว จะเปนหอกมลายูหรือมิใช่ไม่ทราบเพราะดูอยู่ไกล ความรู้ของฉันต่อกันไม่ติดฉะนี้แล