- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๓ เดือนนี้ มีพระเมตตาประทานพระอธิบายข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับคำเก่า ซึ่งโดยมากเป็นความรู้ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้า ฯ เป็นครั้งแรก ทั้งนี้พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
เรื่องคำซ้ำ ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงคำซ้ำที่นอกจากหมายความเป็นพหูพจน์ หรือเน้นคำให้แรงขึ้นหรือให้เด่นขึ้น เช่นคำซ้ำที่ทำให้ความหมายเพลาลง อย่าง ดำ ๆ แดง ๆ ลางชะนิดซ้ำคำ แต่แปลงเสียงให้แผกออกไปเสียคำหนึ่ง เช่น บนบาน ลนลาน แซกแซง ยยิ้ม รริกรรี่ ทั้งนี้จะผิดถูกสถานไร ขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ที่ประทาน คำยืด คำย่น เป็น คำเดิม คำยืด ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เหมาะที่สุด ด้วยเข้าใจได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้า ฯ ใช้คำนี้ต่อไป
คำว่า ยิงธนูแพะเลี้ยง มีอยู่ในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ เล่ม ๑ หน้า ๑๒๓ วรรค ๓ จากล่าง ส่วน เลียงผา มีอยู่ในหน้า ๑๕๖ วรรคสุด
เรื่องพระแสงอัษฎาพานร เป็นด้วยความโง่เขลาของข้าพระพุทธเจ้าที่เข้าใจผิดไปว่า เป็นพระแสงชุด ๘ องค์ อย่างพระแสงอัษฎาวุธ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้ไปเห็นพระแสงอัษฎาพานรบนพระที่นั่งจักรพรรดิ์พิมาน จึงได้ทราบเกล้า ฯ ว่า เป็นชื่อพระแสงองค์เดียว ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีเวลาดูได้ตลอด นอกจากดูผาด ๆ และถามเจ้าหน้าที่ว่า มีรูปพระยาพานรกี่ตน เขาตอบว่ามี ๘ ด้วยกัน นี่ก็เป็นความสับเพร่าของข้าพระพุทธเจ้าอีก เพราะเมื่อต่อมาได้รับลายพระหัตถ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ไปค้นดูเรื่อง ฉันท์อัษฎาพานร ที่จารึกแผ่นศิลาไว้ที่วัดพระเชตุพน ปรากฏว่าฉันท์เรื่องนั้นสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ ทรงนิพนธ์ ดำเนินเรื่องว่า ท้าวทฤพราชครองกรุงโกคามที มีพระปัญญาทราม แก้ปฤษณาไม่ตก อำมาตย์จึงเชิญเสด็จประพาสป่า ร้อนถึงรุกขเทวดา ๘ องค์มีความสงสาร จำแลงเป็นวานรมาถวายอนุสาสนแก่ท้าวเธอเป็นการแก้ปฤษณา ชี้ให้เห็นทางที่เป็นเจริญมงคลรวมด้วยกัน ๘ ข้อ ท้าวทฤพราชก์เสด็จกลับพระนคร เสวยราชสมบัติเป็นศิริสวัสดิ์มงคลสืบไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านฉันท์เรื่องนี้แล้ว ก็เฉลียวใจว่า รูปวานรที่สลักอยู่บนฝักพระแสงอัษฎาพานร คงจะไม่ใช่รูปพระยาพานร อาจเป็นรูปวานรธรรมดา แต่ก็ไม่มีโอกาศจะตรวจดูได้อีก จึงได้สอบถามเจ้าหน้าที่ลางคนในสำนักพระราชวัง คงได้ความจากผู้หนึ่งว่า เป็นรูปวานรธรรมดา หาใช่เป็นรูปพระยาพานรไม่ ถ้าเป็นดังนี้จริง ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดด้วยเกล้าฯ ว่า พระแสงอัษฎาพานรจะโปรดให้สร้างขึ้นตามเค้าเรื่องในฉันท์ปฤษณาอัษฎาพานร เพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญ เป็นทำนองเดียวกับมงคล ๘ ประการ ทั้งนี้จะผิดถูกสถานไร ขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระกรุณา ข้าพระพุทธเจ้าได้ความจากพระยาเทวาธิราชว่า พระแสงอัษฎาพานร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างขึ้น เรื่อง ฉันท์ปฤษณาอัษฎาพานรจะมีที่มาจากหนังสือเรื่องใดไม่ปรากฏ เพราะค้นดูในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่พบ
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสเข้าไปเห็นเครื่องราชูปโภคและสิ่งอื่นๆ เป็นครั้งแรก ก็ทำให้ตื่นใจอยู่มาก เพราะสิ่งของบางอย่าง ในปทานุกรมก็ยังแปลผิด เช่น มังสี แปลว่ากรรไกรหนีบหมาก แต่ที่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นกลายเป็นพานรูปไข่ปากเป็นกลีบบัวสำหรับรองรับพระสังข์ พระเสน่า ในปทานุกรมอธิบายว่า ธนู หอก แต่ของจริงกลายเป็นมีดคล้ายกฤช แต่ไม่คดไปคดมา ดูจะเป็นมีดสำหรับใช้ขว้าง เพราะปลายแหลมด้ามหนัก อินทธนู สำหรับเครื่องต้น ก็เรียกว่า พระนบ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าก็เขียนและแปลไม่ออก นบ มาจากภาษาอะไร ข้าพระพุทธเจ้าสอบถามใครก็ไม่ได้ความ
ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นรูปร่างตราหยกโลโตแล้ว และยังได้เห็นพระราชลัญจกรอื่น ๆ มี ตราตรีสารเศวต ตรามังกรหก ตรานารายน์นาคบัลลังก์ ตราพระอินทรทรงช้างเอราวัน ตราพรหมทรงหงส์ ตรานารายน์ทรงปืน (ไฟ) และตราอื่น ๆ อีกหลายสิบองค์ แต่ปลาดที่ไม่พบ ตราสยามโลกักขราช ยังมีพระราชลัญจกรประจำรัชชกาลอยู่อีกชุดหนึ่ง เป็นหนังสือจีนชะนิดลายประแจจีน แต่ขอบโดยรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีตราประจำรัชชกาลอยู่ตามมุม เป็นรูปบัวแก้วองค์ ๑ รูปครุฑองค์ ๑ รูปวิมานองค์ ๑ และรูปมงกุฎองค์ ๑
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์