- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๒๗ เดือนก่อน พูดเรื่องอักขระ โอม กับ อุณาโลม ในเรื่องอักขระ โอม นั้น ท่านช่วยค้นคว้าหาความรู้ให้ได้อย่างพอใจแล้ว แต่ในเรื่องอุณาโลมนั้น ให้ติดใจสงสัยอยู่มาก จึ่งจะพูดกับท่านต่อไป เพราะอะ ไรๆ ท่านก็ช่วยได้มากเต็มที
รูปโคมูตรตั้งนั้นหมายถึงอะไรแน่ ถ้าว่าตามชื่อซึ่งเรียกว่าอุณาโลม ก็หมายถึงพระเจ้าในทางพระพุทธศาสนา
พระราชลัญจกร มหาโองการ หมายถึงอะไร พุทธหรือไสย แม้จะเอาขึ้นตาเตงก็หนักไปทางไสยมากที่สุด คืออักขระโอมนั้น ไม่มีทางเถียงว่าจะไม่ใช่ทางไสย ไม่ได้ใช้ในทางพระพุทธศาสนา และอักขระนั้นเองทำให้พระราชลัญจกรนั้นได้ชื่อว่ามหาโองการ และตรงกับคำใช้ที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินตรัสว่า พระบรมราชโองการ อีกประการหนึ่งบรรดาพระราชลัญจกร อันเปนเพื่อนกันก็ล้วนเปนไสยศาสตร์ทั้งนั้น ก็เหตุไฉนเล่า ตรามหาโองการจึงจะพลัดไปเปนทางพระพุทธศาสนา
แต่ที่อักขระ โอม ในตรานั้นมีรูป โคมูตร อยู่เบื้องบน จะแปลว่ากะไร แปลว่าพุทธกับไสยอยู่ปนกันกระนั้นหรือ เห็นไม่ได้ จึ่งนึกว่ารูปโคมูตรนั้นจะต้องหมายเป็นอย่างอื่นในทางไสย ไม่ใช่หมายว่าอุณาโลมทางพุทธ เมื่อแส่คิดไปก็เห็นทางไป
พราหมณ์เมืองไทยเขาถวายเจิมดังนี้ <img> นี่จะแปลว่ากะไร อุณาโลมหรือ เห็นไม่ได้ แล้วจะเปนอะไรได้บ้างในทางไสย คิดดูก็เห็นใกล้กับตาที่สามของพระอิศวรที่สุด จริงอยู่ ตาที่สามของพระอิศวรนั้นเปนรูปตาแท้ๆ ดังนี้ <img> เมื่อเทียบกับที่พราหมณ์เจิม จะผิดกันที่เส้นใต้ตาขาดหายไปเสียครึ่งท่อนทางท้ายเท่านั้น จะเปนว่าทำลดละเอาแต่พอเปนทีได้หรือไม่ และอย่างที่พราหมณ์เจิมนั้นเอง เมื่อเอาไปเขียนเข้าลาย ก็หยักปลายเล่นให้งามจนเปนรูปโคมูตร ทางความคิดดำเนินไปอย่างนี้ จึ่งว่าโคมูตรหมายเปนตาที่สามของพระอิศวร
คิดเห็นไปอีกทางหนึ่งว่า พวกพราหมณ์กับพวกพุทธบริษัทย่อมประมูลกันอยู่เสมอ ทางไหนมีอะไรก็จะต้องมีเหมือนกันไม่ให้แพ้กัน เช่นจักรรถ ทางไสยเขาก็มีจักรพรรดิ ทางพุทธก็มีธรรมจักร ทางไสยมีตาที่สาม ทางพุทธก็มีอุณาโลม ความจริงพุทธกับไสยจะแยกออกจากกันได้ยากที่สุด เพราะลำดับต้นเปนอันเดียวกัน หากแตกกิ่งไปคนละสาขาเท่านั้น จึ่งเปนศาสนาที่คู่เคียงแข่งกัน เวลาศาสนาใดขึ้นหน้า ศาสนาที่ล้าหลังก็เข้าเกาะ เช่น พุทธาวตาร นั่นเปนเวลาที่ทางพุทธขึ้นหน้า ทางไสยจึงเข้าเกาะเอาว่าพระพุทธก็คือ นารายณ์แบ่งภาค ฝ่ายพระพุทธศาสนาทางมหายาน โกยเอาเทวดาต่างๆ เข้าไปไว้มากมาย นั่นก็เห็นได้ว่าเวลานั้นไสยศาสตร์คงขึ้นหน้า จึงเกาะเอาเทวดาทางไสยเข้าไปจูงโดยที่พุทธกับไสยติดแฝดกันอยู่ พวกเราจึ่งนับถือกันอยู่ทั้งสองอย่างจนทุกวันนี้
ที่จริงเรียกโคมูตรว่า อุณาโลม นั้นฉันเห็นไม่สู้เหมาะ ถ้าหากเรียกว่า รัศมีพระเจ้า จะดีกว่านั้นมาก แต่ที่เรียกว่า อุณาโลม ก็โดยประสงค์จะให้เปนของอยู่ที่หน้าผาก เหมือนกับตาที่สาม พระเศียรพระพุทธรูปครั้งสุโขทัย ซึ่งท่านอ้างว่ามีฝังทองเปนรูปโคมูตรที่พระนลาฏนั้น ฉันกลัวจะฝังใหม่ ถ้าพูดอย่างใส่สี ก็ว่าฝังเมื่อวานซืนนี้เอง ไม่ใช่ฝังแต่แรกสร้าง พระพุทธรูปเมื่อครั้งเมืองสุโขทัยยังรุ่งเรือง ถ้าเปนแบบแผนอยู่ครั้งโน้นเช่นนั้น ก็จะต้องมีปรากฏอยู่มาก ไม่ใช่มีแต่พระเศียรเดียว