- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทราบใต้ฝ่าพระบาท
ตามที่มีพระเมตตาประทานข้อสันนิษฐานอักขระ โอม ซึ่งมีอยู่ในพระราชลัญจกรมหาโองการ กับ พระบรมราชโองการ มาในลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๔ เดือนนี้ พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
ถ้าข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ข้อความที่ทรงสันนิษฐานไว้ ความรู้ของข้าพระพุทธเจ้าก็คงมีอยู่เท่าเดิม เพราะคงไม่ได้สืบสาวต่อไป อักขระโอมในพระราชลัญจกรมหาโองการ มหาฉ่ำชี้แจงแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เคยเห็นในศิลาจารึกมีรูปเหมือนที่ทรงไว้ เว้นแต่อักขระรูปพระจันทร์แหว่ง เขียนเป็นเส้นเดียวดั่งนี้ ◡ แต่ก็ไม่รับรองลงไป เพราะบอกวาลวดลายที่เขียนไว้อาจลบเลือนไปเหลือให้เห็นเส้นเดียวก็ได้ ที่เขียนเป็นรูปพระจันทร์แหว่ง คิดด้วยเกล้าฯ ว่าคงมีมานานแล้ว เพราะในบทคาถาลงอิทธิเจ กล่าวไว้ว่า
สฺุกาโร โหติ สมฺภโว ลง ○
อฑฺตจนฺทา ปน ชายเต ลง <img>
อุกาโร โหติ สมฺภโว ลง <img>
ถ้ามีอุณาโลมข้างบน ก็ว่า อุณฺณาโลมา ปน ชายเต และตัวข้างล่างว่า อสํวิสุโลปุสพุภ
อักขระลงอิทธิเจนี้ น่าจะนึกเอาตามรูปที่เขีนน เมื่อตีความในอักขระ โอม นั้นไม่ออก อีกผู้หนึ่งอธิบายให้ข้าพระพุทธเจ้าฟังว่า รูปพระจันทร์แหว่งนั้น คือเพี้ยนไปจากตัว <img> ของเขมร ที่ถูกเป็นดั่งนี้ <img> ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯว่า จะเป็นอนุโลมโดยลากรูปพระจันทร์แหว่งให้เข้ากับสระหนังสือเขมร เพราะคำ โอม ในภาษาสํสกฤตเขียนเป็น ॐ รูปคล้ายกับ โอม ในตราพระมหาโองการมาก พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีอธิบายว่าเมื่อแยกออก ํ ได้แก่นฤคหิต ถ้าประกอบกับรูปพระจันทร์แหว่ง ซึ่งอ่านออกเสียงเป็น g ออกเสียงรวมกันคล้ายเสียง gum แต่รวมทั้งหมดคือ ఀ ก็คงเรียกว่าอนุสวารเหมือนอย่างเรียก ํ อย่างเดียวว่าอนุสวารอยู่นั่นเอง บางทีรูปพระจันทร์แหว่งจะมาแต่อนุสวาร ఀ ของสํสกฤตนี้เอง ส่วน ॐ แปลงรูปมาจาก ओ โอ เมื่อรวมซ้อนกันเข้าก็เป็น โอ + gum
อักขระ โอม ในตราพระบรมราชโองการ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในกระแสพระดำริ ว่าหัวหน้าเป็นขีดเดียว คือ ตัว อ ในหนังสืออริยกะ ตัวกลางใกล้ไปทางตัว <img> โอ ในภาษาทมิฬ ซึ่งผูกรวมเข้ากับนฤคหิตเป็น <img> อ่านว่า โอม
ข้าพระพุทธเจ้าค้นภาษาไทยต่าง ๆ ถึงคำว่า เขน ในความว่า ลากเขน ก็ไม่พบ สอบถามมหาฉ่ำถึงภาษาเขมรก็ว่าไม่มี ส่วนคราดนั้นทางอีศานเรียกว่า คาด คำว่า กางเขน จึงยังเป็นคำมืดมัวของข้าพระพุทธเจ้า เพราะสอบค้นเท่าไรก็ไม่ได้เค้าที่ควรพอใจ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์