- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ขอท่านช่วยค้นคำ กระยา ให้ที ในคำไทยต่าง ๆ จะมีหรือไม่ ถ้ามีเขาใช้เป็นไปในความอย่างไร ตามที่ขอให้ช่วยค้นนี้ด้วยประสงค์จะสอบคำที่เราใช้ซึ่งคิดจะลักลั่น ฉันไม่แน่ใจดังจะพูดให้ฟังต่อไปนี้
กระยา เราเข้าใจกันอยู่ว่า ข้าว ความเข้าใจอันนี้มีมูลที่คำ พระกระยา กระยาสารท กระยาบวช แต่ที่ไม่เกี่ยวแก่ข้าวก็มี เช่น พระกระยาสนาน กระยารง นึกได้ในบัดนี้เท่านี้
ฉันคิดว่าที่เข้าใจกันว่า ข้าว นั้นเข้าใจผิด มีคนเขาแก้คำ พระกระยาสนาน ซึ่งเข้ากันไม่ได้ เปน พระกายสนาน แต่ฉันไม่ลงเนื้อเห็นด้วย เห็นว่าถ้าแปลไปในทางว่าเปน เครื่อง เปน ต่าง ๆ อะไรอย่างนัน จะกินความได้หมดด้วยกัน
พระกระยา ที่จริงน่าจะเปนพระกระยาเสวย เหมือนกับเครื่องเสวย คำนี้ก็เรียกกันแต่ว่า เครื่อง ไม่ได้ความอะไร หากแปลพระกระยาเสวยว่าเครื่องเสวยต่าง ๆ แล้ว ก็ได้กันกับ
กระยาบวช แปลว่า เครื่องกินบวช
กระยาสารท แปลว่า เครื่องกินในฤดูสารท
พระกระยาสนาน จะหมายความว่าเครื่องสรงต่าง ๆ กระมัง ถ้าหมายถึงน้ำก็เป็นน้ำต่างๆ มีนำสี่สระ เป็นต้น คำ น้ำสี่สระ หมายถึงน้ำสระเกศ สระแก้ว สระคา (คงคา) สระยมนา อันมีอยู่ที่สุพรรณบุรี คำสี่สระนี้มีคนไม่รู้แก้ พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ เปน น้ำศีรษะ สิ้นเคราะห์ไปเถิด
กระยารง ฉันคิดว่าเปน รงค์ คือสีต่างๆ คำที่เรียกเครื่องเขียนผนังว่า น้ำยา เรียกสีซึ่งลงเคลือบทองว่า ยา นั้น ฉันคิดว่าออกจากคำ กระยา นั้นเอง
จะพูดแถมคำ ข้าหลวง ต่อไปอีกเพื่อให้ท่านเข้าใจแจ่มแจ้ง เดี๋ยวนี้ใช้คำว่ากรรมการอะไรต่ออะไร ก็เหมือนกันกับแต่ก่อนใช้คำข้าหลวงอะไรต่ออะไร ฉะนั้น ถ้าคำแปล กรรมการ จะเจียรนัยออกชือกรรมการทุกอย่างไป คำข้าหลวงก็ควรเจียรนัยออกชื่อข้าหลวงทุกอย่างไปเหมือนกัน ซึ่งฉันคิดว่าจะเก็บให้หมดไม่ได้ แม้คำกรรมการจะแปลจำเพาะแต่คำกรรมการเท่านั้น คำข้าหลวงก็ควรแปลแต่คำข้าหลวงเท่านั้นเหมือนกัน หากจะให้คำต่อเปนตัวอย่างก็ควรให้แต่คำซึ่งคนในปัจจุบันจะเข้าใจได้ยาก เช่น ข้าหลวงใหญ่ ข้าหลวงน้อย ข้าหลวงเดิม ฉะนี้เปนต้น คำเช่น ข้าหลวงผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าหลวงปักปันเขตแดน เหล่านี้เข้าใจได้อยู่แล้ว ไม่จำต้องแปลเลย เพราะเหตุฉะนั้นฉันจึ่งชอบคำแปลข้าหลวงในคำแปลเดิม ไม่ชอบคำแปลที่มีผู้ขอแก้ ด้วยเห็นรุ่มร่ามไม่สมควรแก่ที่จะเอามาพูดเลย
ไม่ว่าจะแปลคำอันใด หากกล่าวละเอียดมากก็คับแคบเข้า ประเดี๋ยวก็ตาย อย่างที่ท่านเคยปรึกษาคำแปล กุดั่น ทำให้คิดถึงคำแปล คด ถ้าจะแปลเพียงว่า สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสันฐานคคเปนข้อศอก เท่านั้นจะพอกระมัง ถ้าพูดไปจนกระทั่งว่าอ้อมว่าล้อม ถ้าไปถูกเขารื้ออะไรเสียหมด เหลือแต่คดอยู่ขาเดียว คำแปลจะเลยตายเสีย