- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ได้รับแล้ว
ดาบชะเลย ไม่ใช่ดาบไทย เปนของต่างประเทศนั้นแน่ ชื่อของมันแสดงว่าตีมาได้ แต่จะตีได้มาแต่ไหนครั้งไรนั้นไม่ทราบ
คำว่า ชะเลย ตามที่ฉันเคยคิดมาก่อน พบว่าความเปนไปได้สองทาง คือ คนหรือของซึ่งได้มาแต่การทำศึกก็เรียกว่า ชะเลย คนและของอันไม่เกี่ยวแก่หลวงก็เรียกว่า ชะเลย มีอย่างคือ ชะเลยศักดิ์ ในสองอย่างนั้นผิดกันมาก จะว่าแต่ด้วยคน ชะเลยศึก นั่นเหมือนกับนักโทษ ชะเลยศักดิ์ นั้นเปนสามัญเท่านั้นเอง ได้ลองคิดหาคำแปลก็หาไม่พบที่เหมาะจึงได้ระงับไว้ ด้วยไม่มีธุระที่จะต้องใช้คำแปล เปนแต่คิดเล่น ท่านแปลว่า อื่น ก็กินความไปได้ทั้งสองทาง แต่ฉันรู้สึกว่าไม่สนิท ถ้าเปรียบด้วยกับข้าวก็ต้องว่าไม่อร่อย
ข้อที่ท่านบอกภาษาต่าง ๆ เรียก ธนูศร นั้น มีประโยชน์ ให้ความรู้แก่ฉันขึ้นเปนอันมาก จับใจในคำ ผา เคยได้ยินพูดว่า ปืนผามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ไม่เคยนึกเลยว่าจะมีความหมายอยู่ในนั้น
คำ สินาด ทราบมานานแล้วว่าปืนไฟ แต่ไม่ทราบว่าเปนภาษาอะไรมาแต่ไหน ท่านบอกให้ทราบที่มา ขอบใจท่านเปนอันมาก ส เปน ฉ ช และ ล เปน ด น นั้นไม่ประหลาดอะไร ย่อมสับเปลี่ยนกันอยู่เสมอ
ชื่อปืนบาเรียม ได้เคยเห็นหนังสือหรือทั้งคนพูดด้วย เปนว่า ปืนบ้าเหรี่ยม ไม่อัศจรรย์อะไรที่มีเอกโทประกอบขึ้น แต่ฉันก็ไม่ทราบว่าเปนปืนชะนิดไร จนกระทั่งทราบจากท่านบอกว่า มลายูเรียกปืนใหญ่ว่ามาเรียม เปนใกล้มากที่สุด ถ้าดังนั้น ปืนบ้าเหรี่ยม ก็หมายความว่าปืนใหญ่เท่านั้นเอง ไม่จำกัดชะนิด ปืนจารงค์ มณฑก นกสับ ฉันก็เห็นแต่หนังสือ ไม่ทราบว่าชื่อไหนเปนปืนชะนิดไรเหมือนกัน สังเกตโดยชื่อ แลเห็นแต่ปืนนกสับว่าควรจะเปนปืนคาบศิลานั่นเอง
จะหวลกล่าวพาดพิงไปถึงพระแสงอัษฎาวุธอีก ด้วยมีชื่อพระแสงอัษฎาพานร อันเปนชื่อมีจำนวน ๘ คล้ายกัน มีพระแสงดาพชื่ออย่างนั้น ฝักจำหลักเปนรูปพระยาวานรทหารพระราม ๘ ตนลงยา เขาว่าสร้างในรัชกาลที่ ๓ ดูเปนขอไปที เหตุด้วยพระยาวานรมี ๑๑ ตน ทำไมจึงเอาแต่ ๘ ตน ก็คงเปนเพราะจะให้ได้กับชื่ออัษฎาพานรเท่านั้นเอง ชื่อนั้นคงมีมาก่อน สร้างพระแสงดาพขึ้นประจบเอาทีหลัง ชื่อเดิมนั้นจะหมายถึงอะไร หรือเดิมจะเปนคำอื่น แต่เรียกเฉไฉกันมาก็เปนได้ มีเงาอยู่อย่างหนึ่งที่ตราพวกพระยาพิชัยสงครามเปนรูปพระยาวานร แต่ก็หาควรจะเปนพระแสงไม่ ทั้งตราตำแหน่งที่ปรากฏในกฎหมาย ก็ไม่มีถึง ๘ และซ้ำตัวกันก็มี เปนแต่เปลี่ยนท่า