- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงพระเมตตาประทานเรื่องคำต่าง ๆ ล้วนเป็นประโยชน์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ที่ให้เกิดความรู้และความคิดได้กว้างออกไป เป็นพระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้
เรื่องชาวละครออกเสียง ง เป็น ฮ ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าสังเกตมา ออกจะเป็นเสียงที่แพร่หลายไปในปักษ์ใต้หลายจังหวัด ไทยถิ่นอื่นก็มีบางคำ แต่ไม่เป็นทั่วไปเหมือนทางปักษ์ใต้ เช่น เหงือก ไทยคำที่ว่า เหือก หงอน ไทยใหญ่อาหมและไทยขาวว่า หอน ที่กลับกันก็มี เช่น หับ ถิ่นพายัพว่า งับ หรือคำว่า ห้า เป็น พะงัว จีนแต้จิ๋ว โหง ในพะม่าเรียก ห่าน ว่า งาน เทียบ นกหงัน ในภาษาจีน หงส์ (hansa) ในสํสกฤต และ ansar ในภาษาอังกฤษ คำที่พ้องเสียงกันนี้ ถ้าเป็นคนละตระกูลภาษา ก็น่าจะเกิดจากตั้งชื่อตามเสียงห่านร้อง ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดไม่เห็น ก็คือ คำที่เพี้ยนเสียง ง เป็น ฮ หรือ ฮ เป็น ง เหตุไรในบางถิ่นจึงเพี้ยนแต่บางคำหาได้เพี้ยนเป็นแนวตลอดไปเหมือนเสียงทางปักษ์ใต้
ในภาษาไทยมีคำ ค่าคบ ซึ่งในภาษาไทยใหญ่ก็มีคำว่า ค่า แปลว่า กิ่งไม้ที่แยกตรงจากลำต้น ข้าพระพุทธเจ้าพบในภาษาจีน เป็น หง่า แปลความเดียวกัน และแปลว่า อ้าออก ก็ได้ เป็นอันได้ความว่า ค่า ง่า อ้า เป็นคำเดียวกัน
งั่ง ที่ทำเป็นพระพุทธรูปแต่ไม่มีผ้าพาด มีผู้บอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นรูปพระชินะ ในลัทธิศาสนาชิน แต่จะเป็นความจริงเพียงไร ข้าพระพุทธเจ้ายังสอบค้นอยู่ต่อไป
ปั้นหยา น่าจะเป็นคำแขก แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังค้นไม่พบ ส่วนที่พวกแขกเจ้าเซนเรียกพระปั้นหย่าเป็นชื่อมือทองที่นำออกแห่ ว่า พระปั้นหย่า แต่คำว่า กุฎีเจ้าเซน กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เคยบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นคำเปอร์เซีย แปลว่า พระแท่น หรือ ที่ประทับของเจ้าเซน ข้าพระพุทธเจ้าค้นในภาษามลายู พบคำว่า กะเต ว่ามาจากเปอร์เซีย แปลความเดียวกัน คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นคำเดียวกัน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์