- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑๑ ได้รับแล้ว
เรื่องผีเสื้อ รู้มาคนละเล็กละน้อยประสมกันเข้า เปนสำเร็จสิ้นเรื่องที่จะพึงสงสัยอะไรแล้ว
เรื่องพยัญชนกลับ ท่านอธิบายพอใจมาก ทำาให้นึกขึ้นได้ถึงเด็กนักเรียนเล่นกัน รวมทั้งตัวฉันก็ถูกเล่นมาด้วย เขาให้พูดว่า เปิดประตูโบถ ติดๆ กันไปเร็ว ๆ ประเดี๋ยวเดียวลิ้นก็กระดิกไปไม่ทันคำ ไขว้เขวกันเปนอะไรต่ออะไร หัวเราะกันไม่ไหว
สังกะสี แปลว่าสีขาวนั้น รับไม่ได้
เขน โล่ ดั้ง นั้นติดจะยุ่งมาก ฉันคิดว่าทั้งสามชื่อนั้นมีความหมาย จะว่าเครื่องบังหน้ากันศัสตราวุธเหมือนกันหมด ที่มีชื่อเรียกต่างกันไปนั้นเพราะเปนชื่อเรียกตามภาษาต่างๆ ไม่ได้หมายเรียกตามรูป ขอบใจท่านที่บอกให้ทราบว่าญวนเรียกเครื่องบังหน้ากันศัสตราวุธว่า เขน ตรงกับที่เราเรียกอยู่อย่างหนึ่งทีเดียว นับได้ว่า เขน เปนคำญวน โล่มะลายูที่ทำด้วยหวาย ในใบบอกส่งบรรณาการแต่ก่อนเราเรียกว่า ปิไส ปิไสหวาย และการเล่นในงานโสกันต์อย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า แทงวิไส ฉันคิดว่าจะเปน แทงปิไส แต่คำ ปิไส จะเปนภาษาอะไร ท่านตรวจภาษามะลายูเขาก็ไม่ได้เรียกอย่างนั้น เปนเรื่องยุ่งไม่หาย
ขอบใจท่านที่ให้คำ เซี้ยง แสง ไป ดีจริง จะจำไว้ สงสัยมานานแล้ว
คำ ก่งสิน ก็ดี จิ๋น กับ สิน แทนกันได้โดยง่ายเหมือน สลาก ฉลาก
พันนิจรักษา เปนชื่อหัวพันในกรมวัง มีสี่คน คือ พันจงใจจิตร พันนิจรักษา พันพิทักษทิวา พันรักษาราตรี เดิมจะมีหน้าที่อะไรไม่ทราบ เมื่อฉันได้เห็นนั้น เปนหน้าที่เฆี่ยนตีและขังตารางแก่คนผิด ตารางพันนิจตั้งอยู่ติดกับบ้านฉัน จึ่งได้ยินเขาสวดมนต์
ฉันไปงานศพนางจำเริญ พิเดชสงคราม ได้หนังสือ เทพนิยายสงเคราะห์ ซึ่งเขาแจกมาอ่านดู รู้สึกสนุก มีอะไรที่ฉันเคยรู้นอกไปจากที่มีในหนังสือนั้นอยู่บ้างจึ่งจะบอกให้ท่านทราบ เผื่อว่าท่านไม่ทราบไม่เคยคิดไม่เคยสังเกต จะได้เปนประโยชน์ต่อไป
เงือก—นาค
๑. เคยได้ยินคนแก่บอกว่าเงือกมีสองชะนิด คือ เงือกคน กับ เงือกงู ตามที่ท่านบอกเช่นนี้ก็เห็นจะเปนด้วยท่านได้ฟังมาสองอย่าง เอาเปนยุติไม่ได้นั่นเอง
๒. จรเข้ เคยพบหนังสือ เขมรเขียน <img> (ก๎รเพิห) อ่านว่า กระเปอ
๓. เคยได้ยินชาวปักษ์ใต้เรียกจรเข้ว่า เข้ เกรงว่าคำนี้จะเปนคำไทย เราเรียกว่า ตะเข้ ก็จะมาแต่ ตัวเข้ นั้นเอง หากแต่พูดห้วนเข้า
๔. ในหนังสือเรียนเขียนยักไปตามชะนิดเปน จรเข้ กินคน จเข้ดนตรี ตเฆ่ ลากไม้ นี่เปนวิธีแปลก ที่จริงเปนคำเดียวกัน
กินนร—คนธรรพ
๑. กินนรตัวเมีย เคยเห็นที่ทำรูปกันมาในเมืองเราเปนสองอย่าง เปนนางท่อนบนเปนนกท่อนล่างอย่างหนึ่ง เปนนางทั้งตัวติดปีกหางอีกอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ต้องกับเรื่อง มโนรา
๒. กินนรตัวผู้ เคยเห็นที่ทำรูปกันมาในเมืองเรามีอย่างเดียว เปนรูปพระท่อนบนเปนนกท่อนล่าง แต่น้อยนักที่ทำรูปกินนรตัวผู้