- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๓ และวันที่ ๑๔ โปรดเกล้า ฯ ให้ค้นเรื่อง เขี้ยวกาง หรือ เซี่ยวกาง และลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๕ ประทานข้อความเพิ่มเติมเรื่องหัวพันกรมวัง ๔ คน และเรื่อง สวดภาษาไทย ข้าพระพุทธเจ้าได้รับไว้แล้ว เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
เรื่องเขี้ยวกาง ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยค้นหามาครั้งหนึ่ง ยังไม่ได้ความ ข้าพระพุทธเจ้าคล้อยไปในทางที่เชื่อว่า จะเป็นคติมาจากจีน เพราะได้ความว่าทวารบาลของจีนมีมานมนานแล้ว ภายหลังจึงมาใช้รูปอวยชีจง และ ซินซกโป๊ ขุนนางทหารผู้ใหญ่ของพระเจ้าหลีซิบิ๋น มาแทน แต่ข้อขัดข้องอยู่ที่ชื่อและฉายาทวารบาลเหล่านี้ ไม่มีชื่อใกล้มาทาง เขี้ยวกาง หรือ เซี่ยวกาง และไม่ปรากฏว่าเหยียบสิงโต ในคติมหายาน มีทวารบาลอยู่มาก และมีอยู่จำพวกหนึ่ง เป็นพวกวิหารบาล และ ทวารบาล จีนเรียกว่า กิมกาง แต่แยก กาง ออกจาก กิม ไม่ได้ เพราะกางในภาษาจีนว่า แข็งแกร่ง คงทน กิม ว่าทองคำ รวมกันหมายความว่า เพชร ซึ่งเป็นคำที่จีนคิดศัพท์ ผูกขึ้นแทนคำว่า วชระ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เซี่ยวกาง ถ้าจะได้มาจากจีน ก็คงมาทางแต้จิ๋ว และ ฮกเกี้ยน มากกว่าทางอื่น เพราะทางไทยถิ่นอื่นไม่ปรากฏว่ามีมาแต่เดิม และรูปภาพเซี่ยวกางที่มีอยู่ที่บานประตูตู้หนังสือ ๕ ตู้ ในหอพระสมุดวชิรญาณ ก็เป็นรุ่นรัตนโกสินทรทั้งนั้น รูปที่เขียนไว้ ก็มีมงกุฎอาวุธและเกราะต่างๆ กัน บางรูปก็ไม่มีหนวดยาว คงตรงกันแต่ที่เหยียบสิงโตเท่านั้น ถ้าจะมีรูปเซี่ยวกางเก่าขึ้นไปสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คงจะไม่ใช่เป็นของมาแต่เก่าก่อนข้าพระพุทธเจ้าหมดปัญญา ค้นหาไม่ได้ จึงลองผูกศัพท์จีนในเสียงแต้จิ๋วหรือฮกเกี้ยนให้เข้าเรื่องกับทวารบาล และให้ใกล้เสียงกับคำว่า เซี่ยวกาง เป็น ซิว หรือ เซียวมึ้งกง ซิว แปลว่า เฝ้า ดูแล รักษา คุ้มครองป้องกัน มึ้ง ว่าประตู กง เป็นตำแหน่งขุนนางจีนชั้นสูงสุด และใช้เป็นคำยกย่องให้เกียรติยศแก่ผู้ที่นับถือกลัวเกรง เอาต่อท้ายคำอื่น คำเดียวกับ ก๋ง ซึ่งแปลว่า ปู่ ข้าพระพุทธเจ้าเขียนแล้วนำไปให้คนจีนดู ก็แปลออกตรงความมุ่งหมายที่ว่า ทวารบาล ครั้นลดคำว่า มึ้ง แปลว่า ประตูออกเสีย เหลือแต่คำว่า เซียวกง ก็ว่าใช้ไม่ได้ ไม่เคยพบ ความที่คิดไว้ก็ต้องละ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถ้าจะสืบสาวทางเรื่องคติว่าด้วยเทวดาของจีน รวมทั้งคติมหายานประกอบกัน ก็น่าจะได้ความขึ้น เพราะทางธิเบตก็มีทวารบาลเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานเวลาค้นคว้าเรื่องนี้ต่อไป
เรื่องสวดมนต์ภาษาไทย มีผู้รับปากข้าพระพุทธเจ้าคนหนึ่ง ว่าจะสอบทางจังหวัดนครสวรรค์ให้ เพราะเคยมีพวกยายชียังใช้สวดกันอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าได้พบคำอธิฐานบำเพ็ญกุศล ซึ่งขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ปฏิสนธิมา พบศาสนาพระชินมาร ได้ก่อสร้างสมภาร ไว้หลายประการจะกฎหมาย ดั่งนี้เป็นต้น กับคำกรวดน้ำว่า อิมินา ปฺุกมฺเมน ด้วยเดชผลบุญข้าพเจ้านี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระนิพานเถิด เป็นต้น คำอธิฐานเหล่านี้อยู่ในหนังสือ ปกิณณกคาถา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงรวบรวม ตีพิมพ์แจกในงานศพหม่อมเจ้าอ้น เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นพวกเดียวกันกับสวดมนต์ภาษาไทย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า