- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ เดือนนี้ ทรงปรารภถึงการนับถือผี ตามที่ตรัสมานั้น เป็นความจริงแน่แท้ ฝรั่งคนหนึ่งเขียนเรื่องความเชื่อถือไว้ว่า ถ้าลองสะกิดผิวหนังคนที่เป็นอารยชนดู ก็จะพบอนารยภาพพื้นป่าเถื่อนซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังนั้นเต็ม เพราะมนุษย์ จะมีเพศผิวพรรณต่างๆ กัน แต่ก็มาจากประเภทเดียวด้วยกันทั้งนั้น จะแตกต่างกันก็ในส่วนภายนอก ลึกเข้าไปก็เป็นอย่างเดียวกันหมด มนุษย์ที่นับว่าเจริญก็เปรียบเหมือนยอดไม้ ที่ยังไม่เจริญเปรียบได้ด้วยรากไม้ เขยิบขึ้นมาก็ถึงลำต้นและกิ่งก้านสาขา ล้วนเป็นต้นไม้ต้นเดียวกันทั้งหมด
ม่าน ทีใช้เป็นชื่อพม่า คงเป็นคำเดียวกับ ม่านจื๊อ ในภาษาจีน จีนเรียกชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ตอนใต้ว่า เมี่ยวจื๊อ หรือ ม่านจื๊อ รวมทั้งหมด ไม่กำหนดแยกพวกแยกชาติ นอกจากจะเติมคำประกอบบอกลักษณะลงไป ที่แยกเป็น เมี่ยว (แม้ว คงเป็นคำเดียวกันกับ เมี่ยว) และ ม่าน เพียงแต่ เมี่ยว เป็นพวกที่ปกครองเป็นบ้านเป็นเมือง มีความเจริญดีกว่า ม่าน เท่านั้น คำว่า ม่าน ที่ติดมาเป็นชื่อพม่า ก็คงเป็นด้วยถือกันว่า สืบมาจากชาติเหล่านี้พวกหนึ่ง เพราะชาติที่นับอยู่ในตระกูล ธิเบต-พม่า ยังมีอยู่มาก พวกในแดนตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตอนที่ต่อกับธิเบตและพม่า ก็คงจะมาจากพวก ม่าน เหล่านี้พวกหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเคยอ่านเรื่องราวของชาติเหล่านี้ ซึ่งฝรั่งแปลออกจากหนังสือจีน เวลาอ่าน มุ่งหาแต่ข้อความบางอย่าง จึงอ่านข้าม ๆ ไป ไม่ได้สังเกตในเรื่องประเพณีทำศพของชาติเหล่านี้ ว่าจะมีกล่าวไว้หรือไม่ ข้าพระพุทธเจ้าจะค้นอ่านดูอีกครั้งหนึ่ง เพราะได้จดชื่อและเล่มหนังสือนั้นไว้แล้ว
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์