- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๓ เมษายน พทธศักราช ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๘ ทรงพระเมตตาประทานพระอธิบายเรื่องเล่น แทงวิไส พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
การเล่นต่าง ๆ ในงานโสกันต์ คงจะต้องเสื่อมสุญไป จะเหลืออยู่ก็แต่ชื่อ ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเสียดายมาก เพราะเปนการเล่นที่สืบต่อเป็นประเพณีมา อาจเปนหนทางให้สืบสาวหาความร้เรื่องเก่าๆ จากการเล่นเหล่านี้ได้ เพียงแต่ชื่อก็แสดงอยู่ว่าเป็นของได้มาจากชาติอื่น แต่จะได้มาอย่างไร และได้มาจากชาติอะไร กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าเกิดสนุก แต่ก่อนนี้ ข้าพระพุทธเจ้าอ่านหนังสือที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียมของชาติต่างๆ มีชวา มลายูเป็นต้น ก็เพียงแต่อ่านผ่านๆ ไป ไม่ได้นึกเฉลียวมาถึงทางไทยด้วย เพราะขาดความรู้ทางด้านของตนเอง การค้นหาเรื่องเหล่านี้ เป็นเครื่องกระตุ้นให้ข้าพระพุทธเจ้าต้องเพียรค้นหาและต้องสอบถามด้วยความสนุก แม้บางคราวจะไม่ได้เรื่องที่ต้องการหา แต่ก็กลับไปได้เรื่องอื่นซึ่งไม่ได้นึกไว้
ข้าพระพุทธเจ้าได้สอบถามเรื่อง หอกคอทอง เถลิงทอง จากขุนธนกิจวิจารณ์ ข้าราชการสำนักพระราชวัง ซึ่งเป็นผู้ใฝ่ใจในเรื่องเหล่านี้ ได้ตอบอธิบายให้ข้าพระพุทธเจ้ามาดังนี้
หอกมลายู เป็นหอกขนาดเล็กและสั้น โดยมาก เรียกชื่อหอกจำพวกนี้ว่า หอกซัด
หอกซัด มีอยู่ ๒ ชะนิด คือ
๑ คอทอง
๒ เถลิงทอง
หอกซัดคอทอง มีปลอกทองเกลี้ยงหุ้มไว้ที่คอ ส่วนยาวของปลอกประมาณ ๑ คืบ คอทอง เป็นเครื่องประดับหอกให้สวยงาม และแสดงชั้นอย่างแห่งหอก เป็นอุปโภคของผู้ทรงอิสสรศักดิ์ เป็นศาสตราสำหรับใช้จับด้ามพุ่ง จะผิดหรือถูกก็ปล่อยเลย
หอกซัดเถลิงทอง มีปลอกทองสลักสวม (ไม่ใช่หุ้ม) ไว้ที่คอเหมือนกัน ส่วนยาวของปลอกประมาณ ๒ องคุลี เถลิงทอง ถ้าตามปกติก็เป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกับ คอทอง แต่ในทางสาระแห่งเถลิงทองหาใช่ปลอกอย่างคอทองไม่ หอกซัดเถลิงทอง ผู้ใช้ ๆ นิ้วเท้าคีบที่ปลายด้ามในขณะที่นั่งอยู่บนหลังม้าแล้วซัดหอกไปหาอริ ถ้าหอกต้องอริ ตัวหอกก็ไปตรึงติดอยู่ คือตัวหอกหลุดออกจากด้ามได้ และเถลิงทองนั้นก็ถอดออกจากด้ามได้เช่นเดียวกัน เมื่อจัดการสวมตัวหอกใหม่แล้วก็สวมเถลิงทองประกับไว้ตามเดิมได้อีก
ทั้งนี้ การจะผิดถูกสมควรสถานไร ขอพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์