- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๔ เดือนนี้ ๒ ฉะบับ ประทานพระวิจารณ์คำในภาษาลางคำมายังข้าพระพุทธเจ้า ทั้งนี้เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
คำ ลาว เคยสันนิษฐานกันว่ามาจาก ละว้า เป็นเหตุให้เกิดรังเกียจคำว่า ลาว หมายความว่าเป็นชาติป่าเถื่อน ถึงกับลาวภาคอิศานลางคนน้อยใจว่าเขาเป็นไทยไม่ใช่ลาว มีผู้หนึ่งมาเล่าให้ข้าพระพุทธเจ้าฟัง ว่าเจ้าคุณพรหมมุนี วัดบรมนิวาศ ยืนยันว่า ลาว ไม่ใช่เพี้ยนมาจาก ละว้า ไม่น่าจะรังเกียจคำว่า ลาว ข้าพระพุทธเจ้าจึงเกิดสงสัยว่าลางทีจะมาจากคำ อ้ายลาว หากเสียงมาใกล้กันโดยบังเอิญ คำว่า ละว้า หรือ ลัวะ ก็แปลก ที่ในพะม่าแยกเสียงเป็น ล้า และ ว้า ใช้ได้ทั้งสองคำ ฝรั่งว่าภาษาของพวกปะหล่อง ซึ่งอยู่ตอนใต้ประเทศจีน และเป็นพวกอยู่ในตระกูลเดียวกับละว้า มักชอบเติม ร หรือ ล ให้กล้ำกับคำที่พูด คำที่ยืมเอามาจากไทยใหญ่ เช่น ม้า ร้อน ไร่ ก็เติมเสียงเป็น มล้า หะร้อน หะไร่ จึงทำให้ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ละว้า ก็จะเป็นทำนองเดียวกัน คือเติมเสียง ล เข้าข้างหน้าคำเป็น ล้า ว้า ละว้า คำภาษาไทยในลักษณะนี้ก็มีอยู่หลายคำ เช่น ลา-ม้า-มลา แลง-แมง-แมลง เล็ด-เม็ด-เมล็ด แลบ-แมบ-แมลบ ข้าพระพุทธเจ้าจับเอาเค้านี้ไปคิดถึงคำว่า เหมง หรือ หมิ่ง ในภาษาจีน แปลว่ารุ่งเรือง โดยเทียบกับคำว่า เรือง-มะเลือง ถ้าแยก ม เป็นคำหนึ่ง ก็เป็นเมือง เสียงสระ เอือ ไทยบางถิ่นเพี้ยนเป็นสระ อิ เช่นบ้านเมือง ก็เป็น บ้านมิง หรือ บ้านเมง เพราะฉะนั้น เมือง ในแนวเทียบกับ เรือง-มะเลือง ก็อาจเป็น เมง มิง เมียง แปลว่ารุ่งเรืองได้ ข้าพระพุทธเจ้านึกเลยไปถึงคำว่า มิ่งขวัญ มิ่งเมือง ลางที มิ่ง ในชั้นเดิมจะแปลว่ารุ่งเรือง แล้วมาหมายความถึงสิ่งหนึ่งที่เป็นสิริอยู่ในกายตัวเมื่อภายหลังเป็นทำนองเดียวกับ Spirit ในภาษาอังกฤษ ความเดิมแปลว่า ลม แล้วเอามาใช้เป็นสิ่งที่อยู่ในกายตัวทำให้มีชีวิตอยู่
เรื่องคนชื่อ บุญจันทร์ ข้าพระพุทธเจ้าลองซักถามชาวกวางตุ้งคนหนึ่งว่า จัน จั่น เป็นชื่อคนมีหรือเปล่า เขาบอกว่าเป็นชื่อที่มือยู่ดกดื่นในชาวกวางตุ้ง ส่วนจีนชาวอื่นไม่ค่อยใช้ตั้งชื่อนี้ จั่น แปลว่าประเสริฐหรือมีค่ามาก เป็นคำเดียวกับที่มีอยู่ในยี่ห้อ ก่ำจั่นเหลา ส่วนจั่นที่ใช้เป็นชื่อโรงสีข้าว เป็นอีกคำหนึ่ง แปลว่า โรงเก็บสินค้าหรือกุดัง คำว่า บุญจันทร์ เขาก็ว่ามีคนชื่อเหมือนกัน และว่ามีนักปราชญ์จีนฤาชื่อในครั้งโบราณคนหนึ่ง ชื่อ หมั่นจั๋น หมั่น เป็นเสียงกวางตุ้งตรงกับ บุ๋น ในเสียงแต้จิ๋ว แปลว่าพลเรือน ดั่งข้าพระพุทธเจ้าได้กราบทูลไว้แล้ว แต่มีข้อขัดข้องอยู่อย่างหนึ่ง ถ้า บุญ ในภาษาไทยเป็นคำเดียวกับ บุน หรือ บุ๋น เหตุไฉนจึงไม่เป็นเสียง หมั่น อย่างชาวกวางตุ้ง ซึ่งส่วนมากเป็นไทยที่กลายเป็นจีนกวางตุ้งไป
ผวนผัน-หวนหัน ข้าพระพุทธเจ้าคิดได้อีกคำหนึ่ง คือ ผกผัน-หกหัน ที่ความผิดกันนิด ๆ ก็มีอยู่คำหนึ่ง คือ เผย กับ ระเหย รำเพย ในภาษาญวน โผย แปลว่า ลมพัด ในภาษาชาวปักษ์ใต้ ฮึดฮัด ว่า ผึดผัด นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีคำเทียบได้อีก เสียงพยัญชนะในวรรคต่างๆ นอกจากวรรค ก เพี้ยนเป็น ห ฮ มีน้อย ใน วรรค ต ก็มีแต่ เถอะ-เหอะ คำเดียวเท่านั้น วรรค จ ไม่มีเลย คงมีดกดื่นอยู่แต่วรรค ก เพราะฐานกรณ์อยู่ใกล้กัน ห ฮ เกิดจากลำคอ ส่วนเสียง วรรค ก เกิดที่โคนลิ้น ตรงลิ้นไก่ ที่ในตำราไวยากรณ์ภาษาบาลีว่า วรรค ก เป็น โอฐชะ เกิดแต่คอ น่าจะไม่ตรงทีเดียว เพราะเกิดแต่คอก็มีแต่ ห ฮ เท่านั้น ถ้าออกเสียงให้เกิดกังวาน เลียง ห ฮ ก็เพี้ยนเป็นเสียงสระออไป เช่น หอม ในคำว่า เก็บหอมรอมริบ มีผู้แก้ หอม เป็น ออม เพราะแปล หอม ไม่ออก ซึ่งที่ถูกเป็นคำเดียวกัน ในภาษาอังกฤษ hour honour ก็อ่านเป็นเสียง อ เอด ในอิศานเป็น เฮด ออม ก็เป็น หอม หรือ อินดู กับ ฮินดู หนุมานในมลายูเป็น อนุมาน ในชะวา คำ hasil ในภาษามลายูเอามาจากอาหรับ แปลว่า ผลประโยชน์ที่เก็บได้จากที่ดินที่สวน ตกมาเป็น อาสิน ในภาษาไทย
จวน ซึ่งเป็นชื่อผ้าชะนิดหนึ่ง เมื่อวานนี้นางนิล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนสุนันทา ฯ มาหาข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าลองถามถึงคำนี้ เขาบอกว่าเขามีผ้าล่องจวนอยู่ที่บ้านผืนหนึ่ง ว่าเป็นผ้าไหมที่มีไหมสีอื่นแซมเป็นริ้ว อย่างคดกฤชไปตามยาวของผืนผ้า เพราะข้าพระพุทธเจ้าได้วานมหาฉ่ำค้นดูในพจนานุกรมเขมร มีคำว่า ชร แปลว่า ลายที่มีตามชายผ้าหรือที่ริมผ้า ถ้าผสมกับ ชวร เป็น ชรชวร ก็แปลว่าลักษณะที่นุ่งต่ำ และมีลวดลายตามชายผ้าหรือตามริมผ้า
แปง ในภาษาอิศานมีอีกคำหนึ่ง แปลว่า สร้าง ดั่งที่ตรัส ตรงกับ แปลง ในภาษาไทยสยาม และ แผลง ในปักษ์ใต้ ข้าพระพุทธเจ้าสงสัยว่า แปลง ที่แปลว่า สร้าง จะเกี่ยวข้องกับคำว่าสร้างด้วย เพราะในภาษาจีนก็เป็น ซัง หรือ เซง ในกวางตุ้ง และ แซ ในแต้จิ๋ว (เทียบ เซ่ง-แซ่ เน่ง-แน่) ถ้าลดตัว ส ในคำว่า สร้าง ก็ใกล้กับคำว่า รัง ที่แปลว่า สร้าง รังสรร และ รังสรัง ในภาษาโบราณ ก็ใกล้กัน ถ้าลดตัว ป ในคำว่า แปลง ก็เป็น แลง ใกล้กับคำ รัง อยู่บ้าง จำแลง ก็จะเป็นคำในพวกเดียวกัน แต่ที่กราบทูลมานี้ เป็นเรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดนึกทางเดียว ยังหาหลักฐานทางอื่นมายืนยันไม่ได้
คำว่า ชา ในความว่า ปันหมู่ชา ข้าพระพุทธเจ้านึกออกอีกคำหนึ่งคือ เด็กชา น่าจะเป็นคำเดียวกัน ข้าพระพุทธเจ้าได้พยายามค้นหาคำนี้มานาน แต่ไม่พบคำที่เหมาะกัน แต่แปลกที่ในภาษาอาหมเรียกเด็กว่าเล็ก ถ้าอย่างนั้นมหาดเล็กเด็กชา เล็ก จะหมายความว่าเด็กก็คงได้ ในภาษาอาหม ข้าเลก แปลว่า ลูกจ้าง คนใช้ที่จ้างมา แต่ เลกข้า แปลว่าเด็ก ล กับ ด เพี้ยนกันอยู่คำหนึ่งคือ ลูกคาง ในอาหมเป็น ดูกคาง ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ดูกคาง ได้ความดีกว่า ลูกคาง ดึกดำบรรพ์ ดึก คงตรงกับ ลึก เช่น ดงดึก-ดงลึก แต่ ดำบรรพ์ จนด้วยเกล้า ฯ ด กับ ล ยังมี เดือนดับ-เดือนลับ ตลอดจนคำว่า พลบ พระลับ หลับ คำว่าศิลาแลง อาจเป็นคำเดียวกับ แดง ก็ได้ ลม กับ ดม น่าจะมีความหมายว่าเอาลมเข้า ส่วน มหาด ในคำว่า มหาดเล็ก มหาดไทย ข้าพระพุทธเจ้าค้นหามานักไม่พบ มีผู้ว่าเพี้ยนมาจาก มหาอุไทย ความยังไม่สนิท
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายรายงานเรื่องคำ วิรุทธ ในหนังสือเรื่อง ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือคำว่า คาบรักทาบสุพรรณนพมาศ ในต้นฉะบับเขียนเป็น อาบรัก
ต้นไม้เพศ ต้นฉะบับเป็น เทศ
กึ่งฐานบัว คงเป็น กึ่ง ในต้นฉะบับเขียนทั้ง ๒ ฉะบับ
นั่งทับผนังเชิง ต้นฉะบับทั้ง ๒ ฉะบับ เป็น นั่งทับพนังเชิง คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า พนัง กับ แพนง เป็นคำเดียวกัน มีแนวเทียบ เช่น ตั้งแต่ง ปลาบแปลบ คับแคบ
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระเมตตาทราบเกล้า ฯ ถึงคำราชาศัพท์ทีข้าพระพุทธเจ้าจะใช้ว่า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีรับสั่งมายังกรมศิลปากรว่า ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระมารดาณเมรุ.....มีพระประสงค์ให้กรมศิลปากรจัดหาหนังสือสำหรับตีพิมพ์เนื่องในงานนั้นถวายสักเรื่องหนึ่ง ดังนี้ จะเป็นการสูงต่ำผิดถูกประการไร ขอรับพระเมตตากรุณาเพื่อทราบเกล้า ฯ ด้วย ทั้งนี้พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ
อนึ่ง ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระวันรัตน์เป็นสมเด็จพระสังฆราชขึ้น มีผู้มาถามข้าพระพุทธเจ้าว่า ถ้าสมเด็จพระสังฆราชจะเซ็นชื่อ จะเซ็นว่า สมเด็จพระสังฆราช หรือว่า สมเด็จพระวันรัตน์ ดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช ถ้าในสมัยก่อน เมื่อยังใช้ตราตำแหน่งแทนเซ็นชื่อ ดั่งที่ตรัสประทานแก่ข้าพระพุทธเจ้า ปัญหาเรื่องนี้ก็ไม่มี หรือจะถือว่าสมเด็จพระสังฆราชก็เท่ากับเป็นนามตำแหน่งอื่นๆ เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาจเซ็นชื่อเช่นนั้นได้
คำราชาศัพท์ที่ใช้เนื่องด้วยสมเด็จพระสังฆราช และ สมเด็จเจ้าพระยา ก็มีคำว่า ทรงเสวย เหมือนกัน แต่สมควรจะใช้เพียงไหนก็สังเกตไม่ได้ ด้วยหาตัวอย่างที่ใช้มีน้อย ทั้งนี้ขอรับพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระเมตตา
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์