- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ได้รับแล้ว
เรื่องพระจุฬามณี เห็นเค้าว่าเกี่ยวกับพระศรีอาริย์ ส่วนพระมาลัยนั้น คงมืดอยู่ทั้งแปดด้าน
เรื่องยันตร์ที่ตุ๊กตา ฉันเห็นด้วยว่าเปนอันเดียวกันกับที่พราหมณ์ทำ ตัวอย่างที่พราหมณ์ศาสตรีว่า ปกติการลงยันตร์ที่เราทำกันก็ต้องเรียกสูตร ไม่ใช่ลงเฉย ๆ แต่ก่อนนั้นพราหมณ์ทำตัวคงเปนทั้งเรียกสูตร และเอานิ้วลงอวยวในตัวเปนยันตร์ด้วย แล้วก็เรียวลงเปนแต่เรียกสูตร ส่วนที่ลากนิ้วเปนยันตร์นั้น คงเหลือแต่เอานิ้วแตะลงเฉย ๆ พวกโรมันคาโธลิกแตะอวยวในตัว สมมตว่าเปนไม้กางเขนนั้น ก็เปนอันเดียวกันกับที่พราหมณ์ทำตัวนั้นเอง ไม่มีที่สงสัยเปนแน่ว่ามาแต่ครูเดียวกัน ฝรั่งเขาก็ยอมรับว่าเขามาแต่พวกอารยัน คำฝรั่งหลายคำพ้องกันกับภาษาบาลีสํสกฤต อาจารย์โมเนียวิลเลียมส์ก็ลงไว้ในพจนานุกรมของท่าน ขอให้สังเกตว่ายันตร์ที่ฉันเขียนมาให้นั้นมี ँ มี ○ เหมือน โอม ของเรา แต่มี | เบื้องบนแทน <img>
บุษบกไม้จันทน์นั้น ฉันทราบแน่แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๔ ทรงสร้าง แต่จะสร้างตั้งอะไร ตั้งไว้ที่ไหน ดูเหมือนจะเปนที่พระพุทธมณเฑียร เหล่านี้ความรู้ฉันเลือนเต็มที แล้วรื้อพระพุทธมณเฑียร จะยกบุษบกจันทน์ไปไว้ที่ไหน สมเด็จกรมพระสวัสด์จึ่งฉวยเอาไป ฉันไม่ทราบทั้งนั้น ขอเวลาให้ฉันสืบดูก่อน ได้ความประการใด จะบอกท่านทีหลัง
ในการที่ทรงสร้างบุษบกไม้จันทน์นั้น คิดว่าน่าจะเปนพระราชดำริเทียบด้วยคำ วิมานจันทน์ ตำหนักจันทน์ พระเสาวคนธกุฎี แต่ก่อนนี้เราทำเรือนกันด้วยไม้ทั้งนั้น จะเปนว่าบ้านคนสามัญทำด้วยไม้สัพเพเหระ แต่พระตำหนักพระที่นั่งทำด้วยไม้ดี ๆ คือ ไม้หอม คำ เวียงจันทร์ วังจันทร์ ฉันคิดว่าเปน จันทน์ ไม่ใช่ จันทร์ วัง กับ เวียง ก็คิดว่าเปนคำเดียวกัน เห็นใกล้กันหนัก อาจเปนเสียงพูดเพี้ยนได้ ภายหลังความหมายจึ่งต่างกันไปเสีย วัง เปนบ้าน เวียง เปนเมือง แต่ถ้าจะว่าไปก็เปนอันเดียวกันนั้นเอง บ้านเปนเอกพจน์ เมืองเปนพหูพจน์เท่านั้น ชื่อวังจันทร์ (จันทน์) เท่าที่รู้เปนชื่อวังที่พิษณุโลก เข้าใจว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อเปนอุปราชอยู่พิษณุโลกประทับอยูที่วังนั้น ครั้นยกเข้ามาอยู่ในกรุง สร้างวังใหม่ประทับอยู่ จึ่งเรียกวังนั้นว่าวังหน้า คือรับหน้าศึก คงจะให้ชื่อวังว่าวังจันทร์ ตามชื่อวังที่ประทับ ณ พิษณุโลก ภายหลังความเข้าใจตกเปนวังจันทร์หรือวังหน้าเปนนามเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๒ เมื่อทรงดำรงพระยศเปนมกุฎราชกุมาร ตำแหน่งวังหน้า จึงทรงถ่ายทอดเอาชื่อนั้น มาตั้งเปนชื่อวังที่ประทับที่นครปฐม และกรุงเทพ ฯ ฉันเห็นดังนี้ ถูกผิดขอโทษ