- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พูดเรื่องตราและถามถึงคำหลวง นั้น ได้รับแล้ว
ขอบใจท่านเปนอันมาก ที่ให้สำเนาพระราชสารคำหับไป ฉันยังไม่เคยเห็นสำเนานั้นเลย ดีใจมากที่ปรากฏในนั้น ว่าพระราชสารไปเมืองจีนแต่ก่อนประทับตราโลโต ต้องตามที่ฉันคาด และในสำเนาพระราชสารคำหับนั้น มีกล่าวถึงตราต่าง ๆ อยู่ถึง ๕ ดวง ฉันคิดว่าท่านคงอยากทราบ จึงจะพรรณนาให้ท่านทราบต่อไปนี้
๑. ตราโลโต--มหาโลโต ดวงนี้ได้พรรณนาโดยละเอียดมาให้ท่านทราบ ด้วยหนังสือฉะบับก่อนนั้นแล้ว
๒. ตราพระราชโองการ ชื่อนี้เข้าใจว่าเปนดวงเดียวกับที่ฉันเคยได้ยินเรียกว่า มหาโองการ หรือ มหาอุณาโลม เปนรูปบุษบกมีเกริน บนเกริน ตั้งฉัตรขนาบบุษบกอยู่สองข้าง ในบุษบกมีรูปอุณาโลมอยู่เบื้องบน ใต้นั้นมีรูปวงกลม ใต้วงกลมเปนรูปพาลจันทร์ ใต้พาลจันทร์ เปนตัว อุ หนังสือขอม (เข้าใจว่าเปนหนังสือรวมกันอ่านว่า โอม ได้แก่ โองการ) ตราดวงนี้ในอายุฉันไม่เห็นใช้ ใช้ตราพระบรมราชโองการซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ แทน เปนรูปสี่เหลี่ยมรีตัดมุม มีอุณาโลมข้างบน มี ఓం ข้างใต้ เขาว่าเปนหนังสือพราหมณ์อ่านว่า โอม ใต้นั้นเปนอักษรขอมว่า พระบรมราชโองการ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๕ ตรัสสั่งให้ฉันเขียนถวายเปลี่ยนใหม่อีก เปนรูปไข่ ลายในย้อนกลับไปเอาอย่างตรามหาโองการอีก แต่มีเปลี่ยนแปลงบ้างดังท่านจะได้เห็นประทับในสัญญาบัตรแล้ว
๓. ตราพระครุฑพ่าห์ เคยค้นไม่พบตราประทับขาด พบแต่ตราประจำครั่ง เปนรูปนารายน์ทรงครุฑ แต่ท่านอย่าได้เข้าใจว่าโตเท่าหัวแม่มือ มีขนาดใหญ่เท่าตราประจำชาดเหมือนกัน เจ้าพนักงานผู้รักษาว่าสำหรับประทับประจำผนึกฝากล่องพระราชสาร ฉันไม่สู้เชื่อ แต่จะใช้อะไรที่ควรก็นึกไม่ออก เหตุที่ค้นกันนี้ ก็เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่โปรดตรา อาม ซึ่งใช้ระทับประจำพระนามขึ้นมาว่าเปนฝรั่งไป ควรจะใช้ตรา พระครุฑพ่าห์ ประจำตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ค้นหาตราประทับชาดเก่าไม่ได้ จึงโปรดให้ฉันเขียนถวายใหม่ ทรงพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรจะมีแค่ครุฑ จึ่งจะสมด้วยชื่อพระครุฑพ่าห์ ฉันก็รับพระบรมราชโองการมาเขียน แต่ฉันมาเกิดความเห็นขึ้นอย่างรู้มากอีกว่า นาคที่ครุฑจับนั้นเปนอะไร เปนอาหารของครุฑเท่านั้น ดูตะกลามเต็มที จะไปไหนนิดก็ต้องหิ้วปิ่นโตไปด้วย ฉันจึ่งเขียนเอานาคออกเสีย มือที่กางอยู่นั้นให้รำ ตามแบบครุฑนารายณ์ทรงของเขมร ถวายก็ผเอิญโปรด จึ่งโปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับประจำพระนามและสืบเนื่องมาเปนตราแผ่นดินถึงทุกวันนี้
๔. ตราไอยราพต ตราเก่าจะเปนอย่างไรฉันไม่ได้เห็น ไม่มีโอกาสได้ค้น ด้วย ตราไอยราพต องค์ที่ทำด้วยโมราในรัชกาลที่ ๕ มีใช้อยู่แล้ว ท่านจะเห็นได้ในสัญญาบัตร ไม่ต้องอธิบายละเอียด
๕. ตรามังกรหก เปนรูปมังกรจีนหน้าอัด วางท่าตามแบบเช่นทำกันอยู่ที่ผ้าหน้าโต๊ะหรือในถ้วยชามฉะนั้น ทำให้โจษกันว่าทำไมจึ่งเรียก มังกรหก ไม่เห็นหกคะเมนเก่นเก้ที่ตรงไหน จึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชวินิจฉัยว่า มังกรฮก มาแต่ ฮก ลก ซิ่ว
คราวนี้จะออกความเห็นเรื่อง คำหลวง ฉันเกิดมาก็ได้เห็นหนังสือมหาชาติคำหลวง ฉะบับที่เขาอ่านสวดกันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเปนครั้งแรก มหาชาติคำหลวงเปนอย่างไร ก็มีสังวรรณนาไว้ในคำนำหนังสือ มหาชาติคำหลวง ซึ่งตีพิมพ์ในหอพระสมุดนั้นแล้ว ฉันจะพูดแต่นอกที่มีในคำนำ มีคำอีกคำหนึ่งว่า โอ้เอ้วิหารราย ท่านก็คงเคยได้ยิน มีคนอธิบายว่า เมื่อครั้งกรุงเก่านั้นท่านหัดนักสวดมหาชาติคำหลวงมาก ท่านคัดเอาคนสวดดีเข้าสวดรับเสด็จในพระมหาวิหารหลวง ที่สวดไม่ดีนั้นจ่ายไปสวดโอ้เอ้ตามวิหารราย คงเป็นสวดมหาชาติคำหลวงหมดด้วยกันทุกแห่ง จะจริงเช่นนั้นหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ท่วงทีว่าเข้าทีอยู่ ด้วยเทียบกับชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็เหมือนกัน มีสวดในพระอุโบสถและมีสวดตามศาลารายด้วย ในพระอุโบสถนั้นเปนนักสวดสวดอยู่ตามเดิม บทสวดใช้มหาชาติคำหลวง แม้กระนั้นก็ยังสวดกันได้อยู่แต่กัณฑ์มหาพนกัณฑ์เดียว กัณฑ์อื่นล้มละลายสวดไม่ได้แล้ว ส่วนตามศาลารายนั้นเกณฑ์เด็กวัดมาสวดแทน แต่ก่อนใช้เรื่องอะไรต่าง ๆ แต่เดี๋ยวนี้ใช้บทเรื่อง พระไชยสุริยา อันเปนการสดวกแก่เด็ก จะอย่างไรก็เห็นได้ว่ารูปคงอยู่
โดยเหตุเช่นกล่าวมาแล้วนี้ จึ่งเห็นว่า คำหลวง จะหมายความว่า คำราชการ หรือจะว่าให้ชัดก็ มหาชาติคำหลวง คือคำมหาชาติซึ่งใช้อยู่ในราชการ ส่วน นันโทปนันทสูตรคำหลวง นั้นเปนของแต่งทีหลัง แต่งทำไมก็ไม่ทราบ คิดว่าแต่งเล่น เอาอย่างวิธีแต่งมหาชาติคำหลวง ก็พลอยเรียกคำหลวงไปด้วย เปนความหมายอันเคลื่อนที่มาเสียแล้ว ส่วน พระมาลัยคำหลวง นั้นไม่เคยเห็น พูดไม่ถูก หากเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงแต่งเหมือนกัน ก็คงเปนลักษณอย่างเดียวกัน