- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๑เดือนนี้ ประทานข้อทรงสันนิษฐานเรื่อง ตรามหาโองการ ว่าหมายถึงพระอิศวร ตราครุธพาห์ หมายถึงพระนารายณ์ ตราหงส์พิมาน หมายถึงพระพรหม เป็นที่ซึมทราบข้าพระพุทธเจ้ายิ่งนัก แต่ อุณาโลม รูปโคมูตร์อยู่เหนืออักขระ โอม ทรงเห็นว่า น่าจะมาจากตาที่สามของพระอิศวรนั้น คิดด้วยเกล้าฯ ว่า มีอะไรอยู่ในเรื่องโอมและอุณาโลมอยู่ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายรายงานการสอบค้นเรื่องนี้
ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปดูเทวรูปในหอพิพิธภัณฑ์และค้นดูรูปในสมุดต่างๆ ปรากฏว่า ตาที่สามของพระอิศวร ทำเป็นรูปตาทั้งนั้น เพื่อให้แน่ใจข้าพระพุทธเจ้าได้สอบถามพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี ก็ว่าตาที่สามของพระอิศวร ตามที่เคยเห็นรูปก็เป็นรูปตาจริง ๆ หาได้ใช้เป็นรูปอย่างอื่นไม่ และว่า อุณาโลม ตามตำราสํสกฤต ก็หมายถึงขนหลายเส้นอยู่ต่อหว่างคิ้วทั้งสอง ถือว่าเป็นลักษณะมหาบุรุษ ไม่เกี่ยวกับตาที่สามของพระอิศวร ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจดูพระพุทธรูปในหอพิพิธภัณฑ์ ปรากฏว่า ถ้าเป็นพระพุทธรูปของอินเดียและของฝ่ายมหายาน ก็ทำเป็นเม็ดกลมอยู่หว่างคิ้วดังที่ตรัสไว้ ส่วนพระพุทธรูปในสยามทุกยุค มีพระนลาฏเกลี้ยง เว้นแต่พระพุทธรูปยุคสุโขทัยพระเศียรหนึ่งมี อุณาโลม ฝังไว้เป็นเส้นทอง แต่เล็กและบางมาก ถ้าไม่สังเกตก็อาจผ่านไปได้ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ชี้แจงว่า แม้พระพุทธรูปยุคสุโขทัยที่มี อุณาโลม ก็เป็นบางองค์เท่านั้น ไม่ใช่ทั่วไป จึ่งทำให้ข้าพระพุทธเจ้านึกเดาว่า อุณาโลม รูปโคมูตร์น่าจะเป็นของได้มาตอนหลัง และอาจมาทางมหายาน เพราะข้าพระพุทธเจ้าเคยพบคำว่า โอม ในหนังสือมหายานที่ฝรั่งแต่งอยู่บ่อย ๆ ผิดกับทางหินยาน ซึ่งจะพบมีอยู่ก็แต่ในจำพวกมนตร์ ก็พอดีมีจีนคนหนึ่งมีความรู้ทางเรื่องมหายาน และพูดไทยได้บ้างมาที่หอพระสมุด ข้าพระพุทธเจ้าลองซักถึงเรื่อง โอม คงได้ความว่าอักขระโอมของจีนเขียนเป็นรูปดั่งนี้ <img> และของยี่ปุ่นเขียนดั่งนี้ <img> เขาอธิบายว่า วงกลมคือจินดามณี รูปพาลจันทร์คือหมวกเทวดา ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าเดาว่า จะเป็นอุณหิส ส่วนตัวกลางเป็นอักขระอินเดีย (เห็นจะเป็น उा ในสํสกฤต) ส่วนโอมของยี่ปุ่นว่าแปลงไปตามรูปอักษรของยี่ปุ่น โอมของธิเบตเขาเขียนให้ข้าพระพุทธเจ้าดูเป็นรูปดั่งนี้ <img> ข้าพระพุทธเจ้าเห็นรูปคล้ายเลข ๖ ก็ดีใจ ซักถามต่อไปว่านั่นอะไร เขาอธิบายว่า หมายความถึงรัศมีของโอม ทำให้ข้าพระพุทธเจ้าเกิดความคิดว่า ถ้าวงกลมเป็นจินดามณีก็ไม่ยากที่จะเสริมรัศมีของดวงแก้วต่อขึ้นไปอีก (รูปจินดามณีของธิเบตที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยเห็นรูปภาพเขียนเป็นวงกลมรี มีรัศมีเป็นรูปเปลวไฟอยู่ข้างบน) ที่คติของไทยว่าวงกลมและพาลจันทร์เป็นพระอาทิตย์พระจันทร์ก็คงไม่ได้นึกเดาเอาตามรูป ดั่งที่ข้าพระพุทธเจ้านึกไว้ในชั้นต้นเสียทีเดียว น่าจะมีที่มาจากทางใดทางหนึ่ง ทางนั้นก็คงเป็นพุทธตันตรยาน หรือมนตรยาน ซึ่งเกิดขึ้นในอินเดียรุ่นหลังทางแคว้นเบงคอล และคติในนิกายนี้เอง คงเป็นที่มาของมนตร์ต่าง ๆ ในจำพวก ปถมํอิทฺธิเจ ข้าพระพุทธเจ้าค้นดูคำอธิบายคำว่า อูรณา ในคติมหายาน อธิบายว่า อูรณา เป็นขนขาวขมวดประดิษฐานอยู่ระหว่างพระโขนงพระพุทธเจ้า อันเป็นลักษณะของมหาบุรุษ พระอูรณา นี้ พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นที่เปล่งแสงพระพุทธรัศมีให้สว่างไสวไปทั่วทุกจักรวาฬ ค้นคำ โอม ก็อธิบายไว้ว่า เป็นของพราหมณ์ซึ่งผู้นับถือพุทธศาสนานำเอาไปใช้ในลัทธิของตน โดยฉะเพาะก็ในนิกายพุทธตันตระ คือนำเอามาใช้เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในมนตร์ และเป็นสิ่งสำหรับเพ่งเล็งในการเข้าฌานภาวนา เป็นคำประกอบขึ้นเป็นพยางค์แรกของรูปมนตร์บางประการ ดั่งนี้
ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า อุณาโลม ที่เป็นรูป <img> น่าจะมีเค้ามาจากพุทธรัศมีในคติมหายาน ที่รูปโอมของจีนอธิบายรูปจุดและพาลจันทร์ว่า เป็นจินดามณีและหมวกเทวดา ก็น่าจะหันเหอธิบายรูปอนุสวาร ँ ในสํสกฤตให้เข้าเรื่องในคตินิยมของมหายาน ที่นำรูปรัศมีมาใส่เหนือรูปโอมของไสยศาสตร์และของพุทธศาสนา ก็คงจะเป็นด้วยการรวม ๆ กันไปในสองศาสนานี้
ตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลมานี้ จะผิดถูกสถานไร ขอรับพระบารมีเป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์