- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
เพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ผนังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตอนบน หลังพระบัญชร เขียนเปนเมืองสวรรค์ มีผะอบทองปักฉัตรกั้นอยู่ที่ด้านขื่อทางตะวันออก เข้าใจว่านั้นหมายถึงพระเกศาพระพุทธเจ้า หามีพระจุฬามณีเจดีย์ไม่ จึงได้ตรวจ ปฐมสมโพธิ (ฉะบับพระโสภณอักษรกิจตีพิมพ์) ว่าพระพุทธเจ้าตัดพระเกศแล้วโยนขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศ พระอินทร์เอาใส่ผะอบ เชิญขึ้นไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ มิได้กล่าวว่าสร้างขึ้นใหม่โดยฉะเพาะ ดูเปนทีว่าของมีอยู่แล้ว ถ้าเปนเช่นนั้นพระจุฬามณีเจดีย์จะสร้างขึ้นเปนที่ระลึกถึงใครเล่า พระวิปัสสี สิขี เวสภู องค์ใคองค์หนึ่งซึ่งล่วงไปแล้วนั้นหรือ ชะรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๓ พระองค์ผู้ทรงพระราชดำริให้เขียนพระที่นั่งไพศาลทักษิณ จะทรงระแวงอยู่ในข้อนี้ จึงโปรดให้เขียนเปนผะอบพระเกศา หาให้เขียนเปนพระจุฬามณีเจดีย์ไม่
ในตอนธาตุวิภัชนปริวัตต์แห่งหนังสือปฐมสมโพธิฉะบับนั้น กล่าวว่า พระอินทร์ขะโมยพระทาฐธาตุได้ ก็เอาไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ สมด้วยความคาดที่ว่าบรรจุเติม คำ ทาฒธาตุ ในหนังสือปฐมสมโพธิฉะบับที่อ้างถึงนั้นเขียน ทาฐธาตุ สอบพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอส์ พบคำทาฐาธาตุ แปลให้ไว้ว่า Tooth relic เปนอันว่าที่เขียน ทาฐ เปนถูก
บรรดาชั้นไว้พระซึ่งเขียนรูปพระจุฬามณีเจดีย์ไว้นั้น เท่าที่ได้พบเปนฝีมือทำในรัชกาลที่ ๓ ทั้งนั้น แต่อาจจะเปนของเก่ามีมาก่อนนั้นก็มีได้ คิดว่าจะต้องเกิดขึ้นเมื่อคัมภีร์พระมาลัย ได้แปลออกเฟื่องฟุ้งไปในประเทศเรานี้ จะเปนเมื่อไรก็ไม่ทราบ แต่เอาเปนแน่ได้ว่าครั้งกรุงเก่า