- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม บอกรายงานการสอบคำใช้ไม้ม้วนไปให้ทราบนั้น ได้รับแล้วด้วยความขอบใจเปนอย่างยิ่ง
ในรายงานนั้นเปนอันสอบได้ในสาขาหนึ่ง ว่าคำใช้ไม้ม้วนนั้น เพื่อนภาษาเดียวกันซึ่งอยู่ต่างถิ่นเขาออกเสียงเปนอย่างอื่น ไม่เหมือนกับคำใช้ไม้มลาย
จะลองขุดต้นตอหาทางดูว่าจะเปนไปได้สักกี่ทาง ต้นตอนั้นมีไม้มลาย ไม้ม้วน ซ้อนกันอยู่ใน แม่ ก กา แจกไปเหมือนกันทุกพยัญชนะ แต่ไม่มีครูบาอาจารย์คนใดอธิบายให้เข้าใจว่าวางซ้อนกันไว้ด้วยเหตุอันใด ลองเดาดูก็เห็นว่าอาจเปนไปได้ ๓ ทาง
ทางที่ ๑ วางไว้ให้เลือกตามใจ จะเขียนไม้มลายหรือไม้ม้วนก็ได้
ทางที่ ๒ ออกเสียงผิดกัน อย่างที่ท่านจับเอาไปสอบมาได้ แต่เพราะเสียงใกล้กันมาก ทีหลังจึงเลยเลือนเข้าหากันเปนเสียงเดียว
ทางที่ ๓ เสียงเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกัน ทางนี้อาศัยเหตุที่ท่านสอนกันมาแต่ก่อนให้อ่านว่า เก้ แก่ ไก่ ใก้ ลางทีจะเปนก่อนคิดใช้ไม้เอก โท เปนเครื่องหมายขึ้นก็เปนได้ ไม้มลายจัดเปนระดับเสียงสูง ไม้ม้วนจัดเปนระดับเสียงต่ำ หากจะช่วยทางที่ว่าอย่างนี้ ยกเอาคำไกล ใกล้ ไฝ ใฝ่ มาเปนอย่างจะเปนสมกัน แต่เปล่า คำ ใช้ ใช่ ใคร ใคร่ แม้ระดับเสียงจะต่างกันก็เปนไม้ม้วนด้วยกัน ไม่เปนหลักที่ควรฟังได้ว่าถูก
คำ ใคร นั้นแปลกอยู่ ถ้าพูดก็ว่า ใค ต่อเขียนหนังสือจึ่งจะเขียนว่า ใคร ส่วนคำว่า ใคร่ นั้นดูจะใช้แต่เขียนหนังสือ ส่วนพูดดูเหมือนจะไม่ได้พูดกันเลย นี่เขียนพุ่งมาให้ท่านดูเล่นแปลกๆ