- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
จะตอบหนังสือของท่าน ซึ่งลงวันที่ ๘ เดือนนี้ อันฉันได้รับแล้ว เรื่องวังจันทน์ เวียงจันทน์ ก็เปนแต่ความคิดฉันอันอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดั่งได้บอกแก่ท่านแล้ว โดยเห็นว่าจะเปนได้ ท่านสงสัยว่าเมืองเวียงจันทน์ จะเปนชื่อเมืองเดิมแต่ครั้ง ไทยตั้งอยู่ในแผ่นดินจีนเดี๋ยวนี้ ก็เปนได้เหมือนกัน มีหลักดีกว่าเสียอีก แต่ที่ว่ามาตั้งเมืองที่ป่าไม้จันทน์นั้นเหลวแน่ เปนตำนานแปลชื่อเมือง ซึ่งคนหย่อนความรู้ผูกขึ้นโดยไม่มีหลัก
ฉันจะบอกท่าน แก้ความที่บอกผิดไว้ในที่นี้ให้ทราบเสียด้วย ตามหนังสือฉะบับก่อน ฉันบอกว่าพระพุทธมณเฑียรสร้างในรัชกาลที่ ๒ แล้วบอกแก้ในหนังสือฉะบับหลัง ว่าสร้างในรัชกาลที่ ๕ นั้น สืบได้ความบัดนี้แจ่มขึ้นว่าสร้างในรัชกาลที่ ๒ จริง ๆ เวลานั้นเรียกว่าพระตำหนักทอง (สามหลัง) แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๕ ทรงซ่อมแก้ไขพระราชทานชื่อใหม่ว่าพระพุทธมณเฑียร
ลานช้าง คำนี้ฉันก็เข้าใจว่าเปนคำคิดใหม่ เคยรู้มาแต่ก่อนว่าล้านช้าง อันมีตำนานไขชื่อเปนนิทานว่ามีช้างนับด้วยล้านตัว ที่ว่าเปนลานช้างนั้น เคยได้ยินคำอธิบาย ว่าดินแดนทางเชียงใหม่เรียกว่า ลานนาไทย เพราะเหตุดังนั้น ล้านช้าง ก็ต้องเปนลานช้าง ไปเหมือนกัน ดินแดนล้านช้างในแผนที่เก่าของฝรั่ง ฉันเคยดูจำได้ตามที่ฉันอ่านว่า เลงเสง แต่จะเขียนตัวหนังสือฝรั่งอย่างไรฉันจำไม่ได้
คำ หง่ายลาว หง้ายลาว อ้ายลาว ซึ่งท่านเอามากล่าวสันนิษฐานว่าจะเปนรากแห่งคำที่เรียกพวกลาวนั้นดีมาก ดีกว่าที่เขาสันนิษฐานกันว่ามาแค่คำ ละว้า ลัวะ
ชื่อคนซึ่งขึ้นคำต้นว่า บุญ ฉันเคยคิดตกลงใจมาแล้วว่าเปนคำจีน ชื่อ บุญจันทน์ ฉันกลัวจะเปนคำจีนหมดนั้น คำ จั่น ในภาษาจีนใช้เปนชื่อโรงสีข้าวมีอยู่มาก โรงอาหารก็มี เช่น ก่ำจั่นเหลา ไม่ทราบว่าแปลว่ากะไร
ท่านให้คำ ผัดเพี้ยน กับ ผลัดเปลี่ยน เปนตัวอย่างนั้นดีเต็มทีฉันมีรู้สึกจะบอกแก่ท่านอีก ว่า ผ เปน ห ก็ได้ เช่น ผวนผัน หวนหัน เปนต้น ตัวควบก็มี เช่น ผลุนผลัน หุนหัน
เรียก ผนัง ว่า กำแพง ท่านจะเห็นว่าเพราะฝรั่งเรียก wall เหมือนกันก็ตามที แต่ เรือน กับ บ้าน นั่นฝรั่งเขาแยก เรือนเรียกว่า house บ้านเรียกว่า home จจะเล่านิทานให้ท่านฟัง มีร่างพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี มีข้อห้ามไม่ให้เก็บน้ำมันไว้ใกล้บ้าน ฉันก็รู้แล้วว่าผู้ร่างหมายถึง เรือน แต่ก่อนที่ฉันจะขอแก้คำ บ้าน เปน เรือน ได้พูดให้เห็นกันว่า ถ้าไม่ให้เอาน้ำมันไว้ใกล้บ้าน มิต้องเอาไปฝากไว้วัดหรือ กำแพง ทางเขมร เขามีคำมากออกไปกว่าเรา กำแพงที่มีเชิงเทินมีคู เขาเขียน บันทาย อ่านว่า บันเตียย ถ้าไม่มีคูและเชิงเทิน พบเขาเขียนว่า กำแพง แต่เขาจะอ่านอย่างไร ไม่เคยได้ยิน ที่เรียกต่างกันไป เห็นจะเปนด้วยกำแพงเข้าไปผสมกับเชิงเทินเข้าภายหลัง เห็นเมืองเก่ามาก มีแต่ดินกองเปนคัน แต่ก่อนจะมีไม้ปักกันดินเปนอย่างค่ายก็เปนได้ ผนังเรียกอะไรยังไม่เคยพบ
ท่านถามคำ จวน ฉันจำนน บอกไม่ได้ ที่ใช้ในพวกผ้า เคยได้ยินเรียก สมปักล่องจวน แต่ก็ไม่เคยเห็มสมปักนั้นว่าเปนอย่างไร ดูคำอธิบายที่ท่านคัดให้ไปเปนตัวอย่างว่า ผ้าปูม ผ้าไหม ผ้าจวนต่าง ๆ ตามคำนี้จะต้องวิเคราะห์ว่า ไม่ใช่ผ้าปูม ไม่ใช่ผ้าไหม เทียบด้วยคำในแห่งอื่นซึ่งท่านคัดให้ไปก็ลงกัน เช่นว่า นุ่งจวนไหม ก็ต้องหมายความว่าทอผ้าไหมเปนอย่างจวน นุ่งยกทองล่องจวน ก็ต้องหมายว่าทอผ้ายกทองเปนอย่างจวน
คำ เจตคลี ก็ไม่ทราบ มีตำบลบ้านแห่งหนึ่ง ในแขวงลพบุรี ได้ตั้งสถานีรถไฟลงเรียกว่า บ้านตาคลี หรือ ตักคลี หรือ ตากคลี อะไรฉันก็ดิ้นด้วยไม่รู้ คงเกี่ยวกับคำ เจตคลี ที่ท่านถามนี้ ถ้าเปน ตะคลี ก็แสดงว่าคำ เจ เปนอีกคำหนึ่ง มีความหมายไปต่างหาก หรือตกคำ เจ ไปก็ได้
เมื่อดีดพิมพ์หนังสือนี้เสร็จแล้วจึ่งนึกขึ้นได้ จะทำอย่างไรให้ง่ายกว่าดีดพิมพ์ต่อเปนไม่มี คำว่า จวน จะหมายความว่า ผ้าเพลาะ มาแต่ ชุน จะได้หรือไม่ เห็นคำนี้ขึ้นก็ด้วย สมปัก อันเปนผ้าเพลาะนำไป ล่อง กับ ร่อง เปนคำเดียวกัน หมายความว่าเปนแนวยาว เช่น ร่องรอย สมปักล่องจวน หมายความว่า ผ้าสมปักซึ่งเย็บเปนรอยยาว ผ้าจวนต่างๆหมายความว่าผ้าเพลาะชะนิดต่าง ๆ เดาอย่างหกคะเมน จะใช้ได้หรือไม่ก็ตามใจท่าน