- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายรายงานเรื่องไม้ม้วน ตามที่สอบค้นได้ดังต่อไปนี้
ในพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ ตามที่ฝรั่งใช้ถ่ายเสียงจดลงเป็นอักษรโรมัน ถ้าเป็นเสียง ไอ อาย ก็ใช้ ai ลงกันทั้งในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และคำที่ไทยสยามใช้ ไอ (ไม้มลาย) เสียงในไทยถิ่นอื่น ก็ลงกันทุกแห่ง ส่วนเสียง ใอ (ไม้ม้วน) มีลักลั่น
(๑) ภาษาอาหม
ใบ้ ใหม่ ใย | ใช้ aü |
ใต้ ใน ใคร ใจ ใช่ ใส ใส่ ให้ | ใช้ eu |
ใบ ใฝ่ | ใช้ aū |
ใหญ่ | ใช้ ao |
ใกล้ ใช้ | ใช้ ai |
ใคร่ ใด ใหล สะใภ้ | ค้นยังไม่พบ |
เสียง aü (อะ กล้ำ อือ) ใกล้เสียง เออ เสียง eu ใกล้ไปทาง เอว อิว เสียง aū และ ao ใกล้ เอา อาว
(๒) ไทยใหญ่
ใด ใต้ ใน ใบ ใฝ่ ใหม่ ใส่ ใหญ่ ให้ | ใช้ aü |
ใคร | ใช้ aū |
ใจ ใส่ | ใช้ eu |
ใกล้ ใคร่ ใช่ ใช้ สะใภ้ ใหล ใส่ | ยังค้นไม่พบ |
(๓) ไทยคำที่
ใจ ใช้ ใน ใบ ใบ้ สะใภ้ ใหม่ ใย ใหญ่ ให้ | ใช้ aü |
ใกล้ ใคร | ใช้ aū |
ใคร่ ใช่ ใด ใต้ ใฝ่ ใหล ใส ใส่ | ยังค้นไม่พบ |
ในภาษาไทยตะวันตกทั้ง ๓ ถิ่นข้างต้นนี้ เสียงเป็น ไอ ก็มีแต่ ใกล้ และ ใช้ ในอาหมเพียง ๒ คำ นอกนั้นเป็นเสียง aü aū eu ao เสียงทั้ง ๔ นี้ก็กลับกลอกมาก เช่น ใจ ในภาษาไทยคำที่ เขียน chaü แต่ในอีกตำราหนึ่ง (ฉะบับ Barua) เขียนเป็น cheu คำว่า ใกล้ ในอาหมเป็น kai ในไทยคำที่เป็น kau แต่ฉะบับ Grierson เขียนเป็น kai คำว่า ใช้ ในอาหมเป็น chai แต่ในไทยคำที่เป็น saü คำว่า ใหญ่ ในอาหมเป็น jao แต่ในไทยใหญ่และไทยคำที่เป็น yaü คำว่า ใส่ ในภาษาอาหมเขียนเป็น sheu แต่ในที่อีกแห่งหนึ่ง ในสมุดเล่มเดียวกัน เขียนเป็น hsaü เป็นอันเชื่อแน่ในเรื่องใช้เสียงสระไม่ได้ แต่ก็มีแน่อยู่อีกอย่างหนึ่งที่เสียงไม้ม้วนไม่ใช่เสียง ไอ เสียงไม้มัวนน่าจะเป็นเสียงสระควบ ซึ่งออกเสียงยากและเพี้ยนง่าย แม้แต่พวกเดียวกัน ผิดถิ่นเสียงพูดก็คงเพี้ยนไป ผู้จด ๆ ไม่ลงหรือฟังไม่ชัด จึงจดเป็นโรมันต่างๆ กัน คำว่า ใกล้ และ ใช้ ที่ในภาษาอาหมเป็นเสียง ไอ ก็เชื่อถือไม่ได้ ถึง ใกล้ จะพ้องกับของไทยคำที่ก็น่าจะเป็นเพราะลอกคัดมาจากคำราเล่มเดียวกัน ไม่ได้จดจากปากโดยตรง สรุปความเสียงไม้ม้วนในภาษาไทยตะวันตก ไม่ใช่เสียง ไอ คงเป็นเสียงใกล้ เออ เอว เอา แต่ส่วนมากจะเป็น aü
คำว่า ใคร ในภาษาอาหมเป็น phreu ไทยใหญ่และไทยคำที่เป็น phaū ตรงกับคำว่า ใผ ทางอีศานและพายัพ แปลกที่ในภาษาไทยสยามใช้เป็น ใคร
สอบภาษาไทยถิ่นทางตะวันออก
(๔) ไทยขาว
ใกล้ ใคร ใจ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใหม่ ใหล
ใส ใส่ ให้ | ใช้ ou |
ใคร่ ใช่ ใช้ ใฝ่ สะใภ้ ใย ใหญ่ | ยังหาไม่หบ |
(๕) ไทยดำ
ใจ ใด ใต้ ใบ ใหม่ ให้ | ใช้ aeu |
ใหญ่ | ใช้ aille |
(เสียงคล้าย ไอ็ย)
(นอกนี้ยังค้นไม่พบ)
(๖) ไทยโท้
ใกล้ ใจ ใด ใต้ ใบ | ใช้ oeu |
ใน | ใช้ ei |
ใหม่ | ใช้ eu |
ใส่ | ใช้ ou |
ใหญ่ | ใช้ aille |
(นอกนี้ยังหาไม่พบ)
ไทยในเมืองจีน
(๗) ไทยนุง
ใกล้ ใคร (cou) ใต้ ใบ ใหม่ ใส ใช้ | ใช้ ou |
ใช่ | ใช้ ay |
ใช้ (soi ตรงกับ ใช้สอย) | ใช้ oi |
ให้ | ใช้ u |
(นอกนี้ยังหาไม่พบ บางคำก็ใช้ภาษาจีนเช่น ใจ ใช้ว่า sam)
(๓) ไทยย้อย
ใกล้ | ใช้ iaeu |
ใคร่ | ใช้ iai |
ใช้ | ใช้ ou |
ใด ใน ใบ ให้ | ใช้ aeu |
สะใภ้ | ใช้ paeuh |
(นอกนี้ยังหาไม่พบ คำว่า ใจ ใช้ตามจีน)
ไทยในสยาม
(๙) ไทยพวน ทางสระบุรี
ใกล้ ใคร ใจ ใต้ ใบ สะใภ้ ใส่ ใหญ่
ออกเสียงเป็น เออ นอกนี้ยังหาไม่พบ
(๑๐) อีศาน
คำไม้ม้วน เป็นเสียง ไอ ทุกคำ เพี้ยนกับไทยใต้เพียงระดับเสียงอย่างเดียว
(๑๑) พายัพ
คำว่า ให้ ใช้ว่า หื้อ นอกนั้นเป็นเสียง ไอ หมด ผิดกันแต่ระดับเสียงอย่างเดียว
ถ้ายกเว้นเสียงไทยถิ่นอีศานและถิ่นพายัพแล้ว คำไม้ม้วนในไทยนอกนั้นก็ตกอยู่ในเสียง เออ เอว เอา ไอย เอย เอียว แต่เสียง เออ หรือคล้าย เออ มากกว่าเพื่อน ถึงกระนั้น คำว่า ให้ ในถิ่นพายัพ ยังเหลือตกค้างไม่เป็น ไอ แต่เป็นเสียง หื้อ ใกล้กับเสียง hu ในไทยนุง และ เห่ย ในภาษาพูดของชาวแต้จิ๋ว
คำว่า ใคร่ ในภาษาไทยย้อย เป็น kiai แปลว่า รัก แต่ในถิ่นพายัพ ไค่ แปลว่า ต้องการ
คำว่า ใด ในไทยใหญ่เป็น laü ในไทยขาวเป็น lou หรือ rou ในไทยดำเป็น laeu ในไทยโท้เป็น toeu หรือ roeu ในไทยย้อยเป็น laeu ในถิ่นอีศานและพายัพเป็น ใด เพราะฉะนั้น คำว่า ใด ไร ไหน ถ้าเป็นคำเดียวกันก็น่าจะใช้ไม้ม้วน เป็น ใหน ใร ไปตามแนวกัน
ใคร ไทยนุงใช้ว่า cou นอกนั้นเป็น phreu, phaū, hou ทั้งสิ้น แม้ในอีศานและพายัพ ก็เป็น ไผ พวนเป็น เผ้อ
ใต้ ในพายัพหมายความฉะเพาะทิศ ที่ตรงกันข้ามกับเหนือ ถ้าใต้ถุนเรือน ใช้ว่า พื้นล่าง
ใหม่ ในภาษาญวนเป็น เม่ย
สะใภ้ ไทยถิ่นต่าง ๆ ไม่มีเสียง สะ คงเป็น luk paü ในคำที่ paeuh ในไทยย้อย น่องใภ่ ในอีศาน ไป๊ ในพายัพ และ เพ้อ ในพวน ในอีศานเรียกพี่สะใภ้ว่า พี่เอื้อย พี่เขยว่า พี่อ้าย น้องสะใภ้ว่า น่องใภ่ น้องเขยว่า น้องเขย
ใหล ในไทยขาวเป็น lou แปลว่า ฝัน ในพายัพ ใหล แปลว่า เมา เช่น ใหลฮัก ว่า เมารัก
ใบ้ ทางปักษ์ใต้ว่า เบ้ย ก็เป็นคำคู่ตัวหลังของใบ้
ข้าพระพุทธเจ้าเคยซักไซ้หญิงแก่ชาวผู้ไทย ที่ตำบลดอนหอม จังหวัดสกลนคร ถึงเสียงไม้ม้วน ในชั้นต้นบอกเป็นเสียงสระไอ สงสัยว่าจะใช้เสียงของชาวอีศาน จะไม่ใช่เสียงเดิมของชาวผู้ไทย เมื่อใช้ล่ามอธิบายถึงความประสงค์เป็นที่เข้าใจกันแล้ว หญิงคนนั้นจึงได้ออกเสียงคำไม้ม้วนเป็นเสียง เออ อย่างเสียงพวนทุกคำที่สอบถาม
สำเนียงชาวปักษ์ใต้ ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าสำเหนียกไว้เมื่อออกเสียง ไอ เช่น ใจ ก็เป็นเสียง ใจ็ย หรือ เจ็ย กลาย ๆ มีการเน้นเสียง ย นิดๆ อยู่ด้วย
ตามเหตุผลที่กราบทูลมาข้างต้นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อแน่ว่าเสียงไม้ม้วนไม่ใช่เสียง ไอ แต่จะเป็นเสียงสระควบเช่น ไอ้ย เอ็ย อืย เสียงใดเสียงหนึ่งซึ่งยังทราบไม่ได้ว่าเสียงใดแน่ เพราะสระควบบางเสียงก็ออกได้ยาก และฟังให้แน่ว่าเสียงใด ก็ยาก เช่น อา ควบ แอ อา ควบ เอ อา ควบ อี อา ควบ เออ และ อา ควบ อือ ฟังเสียงเกือบเหมือนกันหมด แต่ที่จริงผิดเสียงกันทุกตัว ถ้าเน้นเสียงสระ อา ตัวต้นให้หนัก ก็เป็นจำพวกเสียง ไอ ถ้าเน้นเสียงสระ แอ เอ หรือ อี ตัวหลังให้หนัก เสียงก็เป็นจำพวก เอ็(ย) มีเสียง ย นิด ๆ ไม่ใช่สระ เอ เฉย ๆ ซึ่งเป็นเสียงสระเดี่ยว ถ้าเสียงสระควบเสียงไหนไม่มีเป็นระเบียบอยู่ในการออกเสียงของภาษาผู้ฟัง เสียงนั้นผู้ฟังจะสังเกตไม่ออก เสียงข้างต้นนี้ ฝรั่งไม่มี หรือจะมีอยู่บ้างก็ในบางภาษาแต่น้อยเต็มที เพราะฉะนั้น เมื่อมาจดเสียงสระไอในภาษาไทย จึงเขียนเป็นตัวโรมันต่าง ๆ กัน และคงจะเป็นเพราะเสียงไม้ม้วนของเดิม เป็นสระควบออกเสียงยาก เสียงต่อมาก็เลื่อนมาเป็นเสียง ไอ ในภาษาไทยสยามซึ่งเป็นเสียงสระควบด้วย อา กับ อี (เน้นเสียงสระ อา)
ถ้าจะถือเสียงคำคู่เป็นหลักแนวเทียบ เสียง ไอ ก็มี เอย เป็นคำหลัง เช่น ใบ้เบ้ย ไขเขย ที่เพี้ยนเป็น ออย ก็มีเช่น ใช้สรอย (ในภาษาจีน เสย สอย หรือ โสย ในเสียงชาวกวางตุ้ง แปลว่า ของใช้ ในเสียงชาวแต้จิ๋ว เป็น ใช้ หรือ ช้าย) ก็น่าจะสันนิษฐานไว้ทีว่า เสียงไม้ม้วนเดิมจะเป็นเสียง เอ็ย ใกล้กับเสียงบาลี เช่น เทยฺยทาน เพี้ยนเป็น ไทยทาน ในภาษาไทยสยาม
ทั้งนี้ การจะสมควรสถานไร แล้วแต่จะทรงพระเมตตาโปรดเกล้าฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์