- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ฉันไปเที่ยว กลับมาถึงบ้าน มีเวลาจะเขียนอะไรเล่นได้ตามเคย จึ่งเขียนวิจารณ์หนังสือพระมาลัยคำหลวง ซึ่งได้อ่านตลอดแล้ว มาให้ท่านดูเล่น พระมาลัยคำหลวงนั้นทางแต่งผิดกันกับมหาชาติคำหลวง อันมหาชาติคำหลวงนั้น ดูเหมือนตั้งใจจะแปลอรรถทุกๆ คำ ตามที่มีใน (๑๐๘) พระคาถา แต่พระมาลัยคำหลวงหาได้ทำเช่นนั้นไม่ ผู้แต่งว่าละเลิงไปตามใจ วางท่วงทีเอาอย่างมหาชาติคำหลวง แต่ไม่ได้แปลทุกอรรถควบกันไป นานๆ จึ่งยกศัพท์ภาษามคธขึ้นนำหน้าตอนนิดหนึ่ง อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๔ ตรัสเรียกว่า ยกศัพท์อวดตุ๊กแก ฉะนั้น ผู้แต่งก็ไม่ได้เรียกหนังสือของท่านว่า คำหลวง ท่านเรียกว่า ลิลิต ดั่งปรากฏอยู่ในหน้า ๗๓ ว่า จำนองลิลิตกลกลอน
คราวนี้จะสันนิษฐานถึงท่านผู้แต่ง หนังสือนั้นมีคำนมัสการซ้อนกันในเบื้องต้น สังเกตเห็นว่าเปนคนละสำนวน คำที่มาก่อนนั้นถ้อยคำสำนวนแขงกว่าในท้องเรื่อง ทั้งท่วงทีก็วางท่าเปนอย่างมหาชาติคำหลวงมากกว่าในท้องเรื่อง เห็นได้ว่าแต่งเติมซ้อนเข้าให้ภายหลัง แต่จะทำซ้อนเข้าทำไม คิดไม่เห็นประโยชน์ ถ้าจะว่าคำนมัสการที่มาก่อนเปนพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ก็ตามทีเถิด แต่สำนวนที่แต่งท้องเรื่องนั้นไม่ใช่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เปนแน่ เพราะเห็นสำนวนต่ำกว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์มากนัก
ทีนี้จะว่าด้วยองค์พระเจดีย์ พระอินทร์บอกพระมาลัยว่าสร้างไว้ให้เทวดาบูชา ดังปรากฏในหน้า ๑๕ จึ่งเป็นปัญหาถามตัวเองว่าสร้าง ณ ปางใด ในหน้า ๑๓ มีคำว่า จุลามณีทาฒธาตุ คำ ทาฒธาตุเคยได้ยินบอกกันว่าพระเขี้ยว แก้ว แต่หาในพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอส์ไม่พบ ถือเอาตามความที่เข้าใจกันก็ต้องเปนอันว่าบรรจุพระเขี้ยวแก้ว แต่แย้งกันกับที่ปรากฏในหน้า ๒๒ ซึ่งมีคำว่า เทพอุทโยคมาถึง เกศธาตุจึ่งบูชา ในที่นี้เปนว่าบรรจุพระเกศา คำที่แย้งกันนี้จะเปนเวลาสร้างต่างกันหลายปี ถ้าบรรจุเกศาจะต้องเปนสร้างเมื่อแรกเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงตัดพระเกศแล้วพระอินทร์รับเอาพระเกศาไปสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้บนสวรรค์ ถ้าบรรจุพระเขี้ยวแก้ว จะต้องเปนสร้างเมื่อปรินิพพานแล้ว พระอินทร์ขะโมยพระเขี้ยวแก้วจากมวยโทนพราหมณ์ได้ เอาไปสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้บนสวรรค์ หรือหนึ่งจะเปนว่าสร้างบรรจุพระเกศา เมื่อครั้งเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ภายหลังเมื่อขะโมยพระเขี้ยวแก้วมาได้ มาเจาะพระเจดีย์บรรจุเติมเข้าไว้ก็เปนได้
ถ้าจะวิจารณ์ชื่อพระเจดีย์เข้าประกอบกับข้อสงสัย ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น แม้ใช้อักษรเขียนเปน พระจุฬามณี ก็เปนว่าปืนฝังพลอย ความเฉไปเสียอีกทางหนึ่ง แต่อาจที่ผู้ผูกชื่อจะหมายความเปนอย่างอื่นไปก็ได้ คือ จุฬา หมายความว่าบรรจุพระเกศาจุก มณี หมายความว่าพระเจดีย์ทำด้วยแก้วมณี ก็เปนได้กระมัง แต่ในหนังสือพระมาลัยคำหลวง ใช้อักษรเขียนเปนพระจุลามณี จะต้องแปลว่ามณีน้อย มณีรอง มณีที่ ๒ ได้แก่พลอยหุง ถ้าจะว่าไปก็สมควรแล้ว ด้วยพระเจดีย์นั้นเปนของเทวดานิรมิตให้เห็นปรากฏเปนแก้วมณี ไม่ใช่มณีจริงๆ ศักดิ์ก็เท่ากับพลอยหุงเหมือนกัน
ตามที่เขียนรูปกันอยู่นั้น องค์พระเจดีย์ทาสีเขียวก็ถูกแล้ว ต้องตามอักษรซึ่งปรากฏในพระมาลัยคำหลวง หน้า ๒๗ ซึ่งมีว่า สถูปอินทนิลมณี เปนการอัศจรรย์อยู่มาก ที่ชั้นไหว้พระของเก่าย่อมเขียนอุดหลังเปนพระจุฬามณี มีเทวดาเหาะมาเปนกลุ่มๆ ทั้งนั้น ทำให้ตระหนักใจได้ว่าคนรุ่นนั้นตั้งใจจะไหว้พระจุฬามณีกันโดยมาก ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจึ่งจำเพาะจะไหว้พระจุฬามณี พระเจดีย์อื่นมีถมไป แม้ไหว้จะไม่ได้ผลเสมอกันหรือ คิดไปก็เห็นความไกลไปเปนอย่างอื่น ว่าตั้งใจจะไหว้พระศรีอาริยเทวโพธิสัตว์ หาใช่ตั้งใจจะไหว้พระโคตมพุทธไม่ ด้วยหนังสือเรื่องพระมาลัย นั้น แต่งขึ้นเพื่อจะสรรเสริญคุณพระศรีอาริยเมไตรย พระมาลัยจึ่งต้องขึ้นไปไหว้พระจุฬามณี เพื่อจะได้พบกับพระศรีอาริยเทวโพธิสัตว์ แล้วจะได้แสดงคุณสมบัติแห่งพระองค์ พาคนให้ทะเยอทะยานอยากพบบ้าง ก็สมคิด คนจึ่งเขียนพระจุฬามณีมีพระศรีอาริยเทวโพธิสัตว์เสด็จมาไหว้ เพื่อทำใจให้หยั่งถึงพระองค์อยู่ทุกวันจะได้พบ ความเห็นอันนี้อยู่ข้างจะเปนการใส่ร้ายให้แก่คนแต่ก่อนมาก
หนังสือพระมาลัยคำหลวงดีที่มิได้พรรณนาถึงนรกละเอียดมากมาย แม้กระนั้น ในสวรรค์ก็พรรณนามากซ้ำซากเต็มที ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะอ่านให้สิ้น ก็เห็นจะต้องวาง หรือมิฉะนั้นก็หลับ
ท่านผู้รจนาเรื่องพระมาลัยดูจะไม่ปกติคน ความเปนไปที่ท่านกล่าวล้วนแต่ผิดธรรมดา จะเปนไปไม่ได้ทั้งนั้น แต่กระนั้นคนก็ยังเชื่อถือกันมาก น่าปลาดอยู่