- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ตามหนังสือซึ่งฉันเขียนมาถึงท่านเมื่อวานนี้ บอกความวิบัติลางแห่งในหนังสือเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นั้น ตกไปเสียลางอย่าง เช่น หน้าที่พระองค์เจ้าปรีดา ซึ่งอยู่หน้าเดียวกับพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ท่านไม่ได้ทำแต่กระจกอย่างเดียว ท่านทำการเคลือบกระเบื้องด้วย ฉันจำได้ว่าซุ้มพระเจดีย์และหอพระคันธารราษฎร์ ซึ่งเปนหน้าที่ฉันได้ทำ ฉันต้องคิดลายฝาว่าจะประดับกระเบื้องอย่างไร จะเปนสีไรเท่าไร แล้วทูลไปให้ท่านทรงทราบ ท่านก็ทำจ่ายมาให้ เข้าใจว่ากระเบื้องเคลือบประดับฝาทุกแห่ง บรรดาที่เปนสีเดียว ไม่มีลายนั้น ท่านทรงทำทั้งสิ้น เว้นแต่ที่มีลายแผ่นหนึ่งเคลือบลายสีนั้นทำไม่ได้ นายด้านต้องสั่งไปทำที่เมืองจีน ทั้งนึกเอาโดยใจว่าท่านเห็นจะทรงทำกระเบื้องเคลือบมุงหลังคาบรรดาที่บกพร่องอยู่ในสถานต่าง ๆ ทุกแห่งด้วย
อนึ่ง ชื่อหลวงสิทธินายเวร (บุศ) นั้นเห็นจะถูกแล้ว ด้วยนายบุศเปนลูกแล่งของเจ้าพระยาสุรศักดิ คงจะเอาตัวมาใช้ทำการเปนสาขาในหน้าที่ของท่าน เจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) นั้นแต้มเขาสูง เขาไม่เข้าคอเจ้าพระยานรรัตน์ และเจ้าพระยาสุรศักดิเห็นจะขวาง เข้ามาทำการร่วมด้วยไม่ได้
อนึ่ง การเขียนผนังในหอราชพงษานุสรนั้น เคยได้ยินเขาพูดกันว่าช่างมหาดเล็กเขียน แต่จะถูกหรือไม่ถูก ฉันทราบไม่ได้ ด้วยช่างมหาดเล็กไม่มีใครมีฝีมือดีที่ฉันจะพึงใส่ใจจำ
คำว่า บาง กับ ลาง ใช้ปนเปกันอยู่ทั้งสองอย่าง เช่น บางที ลางที เปนต้น ฉันคิดว่า บาง จะเคลื่อนมาจาก บ้าง แต่จะอย่างไรก็ดี ฉันตัดช่องน้อยเดินจำเพาะตัวไปเสีย คำใดที่ประกอบคำ บ้าง ไม่สนิทฉันก็ยักไปใช้คำ ลาง ฉันอยากฟังคำตัดสินของท่านในคำทั้งสองนี้ เพื่อหาหลักที่แน่ใจ