- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๒๐ เดือนนี้ มีพระเมตตา ประ ทานคำอธิบายเรื่อง อินทรพรหม ในกระบวนแห่ และเรื่อง คดช่าง แก่ข้าพระพุทธเจ้า เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
ความรู้เรื่องเหล่านี้ เป็นชะนิดที่หาได้ยาก เพราะ เป็นความรู้พิเศษ รู้กันน้อย แม้จะรู้กันบ้าง ก็สักแต่ว่ารู้ ไม่ทราบเหตุผลต้นปลายเป็นมาอย่างไร เมื่อต้องการจะรู้ แต่ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มักทำให้เบื่อหน่าย เลิกสังเกตเลิกคิดค้น ความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก็เสื่อมไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้ามาได้อ่านพระอธิบายเรื่องข้างต้นนี้แล้ว ก็กระทำให้กระหายที่จะได้เห็นตัวจริงขึ้นมาทันที เพราะจะได้ความรู้สิ่งอื่น ๆ จากที่ทรงพระเมตตาอธิบายไว้ออกไปอีก
ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อเป็นแน่ว่า พรหม ก็คือคนถือ พรม หรือ ขนจามรี ดังที่ทรงสันนิษฐาน ต่อมาเมื่อเลิกถือขนจามรี จะโดยเหตุที่หาได้ไม่สะดวก เพราะไม่มีในเมืองไทย หรือจะด้วยเหตุไรไม่ทราบเกล้า ฯ จึงได้ทำสิ่งอื่นสมมตขึ้นแทน แล้วยืดเสียง จมร ซึ่งแปลว่าขนหางจามรีในภาษาสํสกฤตให้เป็นจามร หนักเข้าแปลไม่ออก ก็เกิดลากเข้าความเป็น จ่ามอญ โดยคิดเดาลากเข้าความเอาตามรูป ส่วน พรม เมื่อแปลไม่ออก และของที่ถือก็ไปเป็นทางชวนให้คิดไปถึง ผมหรือขนเสียแล้ว ก็ลากเข้าความให้เป็น พรหม เพื่อให้แปลได้ แล้วพรหมก็นำอินทรมาเข้าคู่ เพราะเครื่องแต่งตัวสีเขียว ช่วยหนุนอีกแรงหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าคิดเห็นดังนี้ จะเป็นถูกผิดประการไร ขอรับพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
เรื่อง คดช่าง ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจทราบซึ้งในพระอธิบาย พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ เมื่อก่อนหน้านี้ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะได้พบรูปสิ่งปลูกสร้างของโบราณก็มักผ่านเลยไป เพราะไม่มีความรู้ โคปุระ ข้าพระพุทธเจ้าก็เคยเห็นรูป นึกเสียว่าเป็นประตูเข้าเทวาลัยตามธรรมดา ความรู้ก็ยุติอยู่เพียงแค่นั้น ในคราวทำปทานุกรม ถึงคำว่า คด ก็ไม่มีกรรมการชำระปทานุกรมคนใดทราบลงไปได้ชัดว่า คด คืออะไร เอารูปถ่ายวิหารคดวัดพระเชตุพนมาดู ก็ไม่เข้าใจ เพราะหาเฉลียวถึงคดเป็นข้อศอกไม่ คงค้างคำว่า คด ไว้ ข้าพระพุทธเจ้าได้จคคำอธิบายเรื่อง คด จากข้อความที่ทรงอธิบายไว้สำหรับลงในปทานุกรม คำ คด ว่า ‘สิ่งที่ปลูกสร้างแวดล้อมสิ่งสำคัญอันเปนประธาน อยู่ตรงด้านมุมที่หักคดเป็นมุมฉาก’
อนึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสมายังข้าพระพุทธเจ้าถึงคำ cross section ในภาษาอังกฤษว่าทรงจำได้ว่า ดูเหมือนมีคำแปลที่เคยใช้กันมาแล้ว มิใช่แปลว่าลูกตัด แต่ว่ากะไรทรงจำไม่ได้ ตรัสสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามใต้ฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์