- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
ฉันผัด (ผลัด?) แก่ท่านไว้ ในเรื่อง บุษบกไม้จันทน์ ว่าจะสืบดูก่อน เมื่อได้ทราบตลอดแล้วจึ่งจะบอกแก่ท่านนั้น บัดนี้ได้ทราบแล้ว
บุษบกไม้จันทน์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นสำหรับทรงพระสิหิงค์น้อย ตั้งไว้ในห้องอันหนึ่งบนพระพุทธมณเฑียร
พระพุทธมณเฑียร นั้นสร้างขึ้นไว้ในสวนศิวาลัย ฉันบอกแก่ท่านก่อนนี้ว่าสร้างในรัชกาลที่ ๒ นั้นผิด ที่ถูกสร้างในรัชกาลที่ ๔ จะมีแผนผังเปนอย่างไร ฉันบอกไม่ถูกเพราะจำไม่ได้ ด้วยเมื่อเห็นนั้นอายุยังน้อยและไม่สู้ได้เอาใจใส่ จำได้แต่ว่าห้องหนึ่งเปนห้องใหญ่ ตั้งพระเจดีย์ทอง มีรูปเทวดาเหาะผูกสายลวดแขวนกับเพดาน ห้อยล้อมรอบพระเจดีย์อยู่เสมอยอด สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงสันนิษฐานว่า ที่จะทรงพระราชดำริให้เปนพระจุฬามณีเจดีย์ เห็นจะถูก อีกห้องหนึ่งเปนห้องเล็ก ตั้งบุษบกพระพุทธสิหิงค์น้อย แล้วมีอะไรในนั้นอีกก็จำไม่ได้ อีกห้องหนึ่งเป็นห้องขนาดกลาง ใช้เปนที่ทรงบำเพญพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จสวรรคตล่วงลับไปแล้วทุกพระองค์ ตามกำหนดที่ตรงกับวันประสูติและสวรรคต พระบรมอัฏฐินั้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือแว่นฟ้าทองคำ เมื่อพ้นงานพระบรมอัฏฐิไปแล้ว จะยกบุษบกกับแว่นฟ้านั้นไปเก็บในที่อื่น หรือจะตั้งประจำเก็บไว้ที่นั้น ฉันก็ไม่ทราบ ด้วยนอกจากเวลามีงานฉันไม่เคยเข้าไปในห้องนั้น และนอกจากสามห้องนั้น จะมีห้องอีกหรือไม่ ถ้าหากมี จะไว้อะไรบ้าง ฉันก็ไม่ทราบ
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชดำริจัดให้มีพระพุทธรูปประจำพระชนมวารขึ้น (เรียกกันโดยทั่วไปว่า พระประจำวัน) โปรดให้ใช้พระพุทธสิหิงค์น้อย เปนพระพุทธรูปประจำพระชนมวารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีงานอันจะต้องใช้ ก็เชิญไปตั้ง
ภายหลังเมื่อพระพุทธมณเฑียรชำรุด โปรดให้รื้อ จึงโปรดให้เชิญพระเจดีย์ทองไปไว้ในพระพุทธปรางคปราสาท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามตามที่ฉันได้บอกแก่ท่านโดยละเอียดแล้ว ส่วนพระพุทธสิหิงค์น้อยนั้น เชิญไปเก็บไว้ในหอพระสุลาลัยพิมาน (เรียกกันโดยสามัญว่าหอพระเจ้า) อันปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งสำคัญในราชการ คงจะเปนด้วยเอาบุษบกไม้จันทน์เข้าไปตั้งทรงในนั้นไม่ได้ ด้วยหอเล็กคับแคบ เจ้าพนักงานจึงเชิญบุษบกไม้จันทน์นั้นไปตั้งเก็บไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม ภายหลังเมื่อรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชดำริจัดทำที่ตั้งพระบรมอัฏฐิขึ้นบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดใช้เชิญพระบรมอัฏฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ย้ายจากพระที่นั่งมหิศรปราสาท ขึ้นไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงได้เชิญพระพุทธสิหิงค์น้อยอันเปนพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขึ้นไปประดิษฐานรวมกันไว้ที่นั่นด้วย
ส่วนบุษบกไม้จันทน์นั้น ชะรอยสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ซึ่งโปรดทรงสะสมของเก่า จะไปทอดพระเนตรเห็นเข้าว่าเปนของเก่าตั้งอยู่เปล่า จึ่งโปรดให้ยกย้ายไปตั้งไว้ในตำหนัก ณ วังถนนพระอาทิตย์ ทรงจัดตั้งพระพุทธรูปแก้วผลึก (ดื่น) ไว้ในนั้น ครั้นสิ้นบุญสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์แล้ว เจ้าพนักงานจึงไปเชิญบุษบกไม้จันทน์นั้น กลับมารักษาไว้ในหอพระมณเฑียรธรรมตามเดิม หาใช่ทรงจัดส่งคืนไม่