- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๑
พระยาอนุมานราชธน
จะตอบคำถามของท่านเรื่อง อินทร์พรหม ที่มีในกระบวนแห่ของหลวง จะหมายความถึงอะไรนั้นบอกไม่ถูก เปนแต่คิดเห็นว่า ที่ชื่อพรหมนั้นเห็นจะเปนชื่อมีมาก่อนเก่า ด้วยได้เห็นใน กฎมณเฑียรบาล มีพูดถึงกลิ้งพรหม แต่จะได้แก่พวกอินทร์พรหมนี้หรือมิใช่ ก็ได้แต่ทึกเอาว่าใช่เท่านั้น อันชื่อ อินทร์ นั้น เห็นจะเรียกขึ้นภายหลังอย่างเถื่อนๆ ด้วยชื่อพรหมนำไปนั้นอย่างหนึ่ง กับใส่เสื้อสีเขียวนำไปอีกอย่างหนึ่ง
ความจริงสีแดงเขียวนั้น หมายทองเงินและขวาซ้าย ท่านจะเห็นได้ว่ากรมต่าง ๆ ย่อมมีกรมขวาและกรมซ้าย กรมขวาเดินแห่ขวา กรมซ้ายเดินแห่ซ้าย แล้วมีที่หมายในเครื่องแต่งตัวผิดกัน กรมขวาแต่งเครื่องทอง กรมซ้ายแต่งเครื่องเงิน แล้วก็มีสีตามเครื่องทองเงิน คือสีแดงตามทอง สีเขียวตามเงิน นี่ว่าตามหลักแบบบุราณ แต่เดี๋ยวนี้เลอะไปหมดแล้ว
อินทร์พรหมเดี๋ยวนี้มีอยู่ ๑๖ ตน ถือจามรเดินแซงพระที่นั่งข้างละ ๘ คน ที่แซงซ้ายใส่เสื้อเขียวเรียกว่าอินทร์ ที่แซงขวาใส่เสื้อแดงเรียกว่าพรหม ในกฎมณเฑียรบาลนั้น กลิ้งพรหมเพิ่มลดมากน้อยตามยศ แต่อินทร์พรหมทุกวันนี้มี ๑๖ ตนยืนที่ หรือมิฉะนั้นก็ตัดหมด ไม่ให้มีทีเดียวแม้ว่าต่ำยศ
คำว่า จามร ควรจะเปนแส้ขนจามรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตรัสเล่าว่า เจ้าแขกทางอินเดียเขามีคนถือแส้ขนจามรีเคียงข้างพระที่นั่ง และไม่ใช่ถือไปเฉย ๆ มี มีการกระทุ้งกระแทกขึ้นลง ให้ขนเผยิบผยาบด้วย ส่วนจามรของเรากลายเปนพัดยอดแหลมสองลอนไป ฉันสันนิษฐานเอาว่าจามรก็คือวาฬวีชนีในเครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นเอง คำ วีชนี นั้นก็เถียงกัน ลางอาจารย์ก็ว่าเปนแส้ ลางอาจารย์ก็ว่าเปนพัด จามรที่อินทร์พรหมถือ ทำเปนพัด เห็นจะดำเนินตามความเห็นอาจารย์ที่ตัดสินว่าวีชนีเปนพัด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เห็นจะทรงสงสัยเหมือนกัน จึ่งโปรดให้จัดหลีกไปเสีย แม้เปนกระบวนแห่องค์พระเจ้าแผ่นดินแล้ว อินทร์ซึ่งอยู่ซ้ายให้ถือพุ่มดอกไม้เงิน พรหมซึ่งอยู่ขวาให้ถือพุ่มดอกไม้ทอง
ถ้าจะสรตะคำ กลิ้งพรหม ซึ่งมาใน กฎมณเฑียรบาล ก็มีทาง ลางทีท่านจะได้เคยเห็น แต่ก่อนนี้ตลกที่กั้นร่มตัวโขนตัวละคอนออกตรวจพล ไม่ใช่แต่ถือกันเฉย ๆ เขาถือหมุนร่มไปด้วย เข้าใจว่านั่นได้แก่คำกลิ้งกลด ถ้าอันนั้นเปนถูกต้อง คำ กลิ้งพรหม ก็เห็นจะเปน กลิ้งพรม หมายความว่าหมุนจามรขนจามรี
เรื่องอินทร์พรหมฉันรู้พอจะบอกท่านได้เพียงเท่านี้
เรื่องคดซ่าง ฉันตั้งใจจะเขียนบอกให้ท่านอยู่แล้ว โดยที่ได้พบพูดกันที่วัดเทพศิรินทร์ แล้วท่านมาถามขึ้นก็พอดี จะเขียนให้ท่านต่อไปนี้
<img>
สิ่งที่ปลูกสร้างแวดล้อมสิ่งสำคัญอันเปนประธาน จัดได้เปนสามชั้นคือ อย่างน้อย อย่างกลาง และอย่างมาก ดังที่เขียนมาให้ดูนี้
เลขที่ ๑ เปนอย่างน้อย มีแต่คดสี่มุม เปนที่พักคนมาเพื่อสิ่งซึ่งเปนประธานนั้น ลางที่ก็เรียก พระระเบียง ทางนครศรีธรรมราชเรียกว่า พระห้อง นั่นเพราะทำพระพุทธรูปขึ้นประจำไว้ทุก ๆ ห้อง ซึ่งในกรุงเทพฯ นี้ก็มีอยู่ชุกชุม
เลข ๒ เปนอย่างกลาง คือปลูกศาลาแซกลงในระหว่างคค ถ้าประธานเปนพระสถูป ก็เรียกกันว่า วิหารทิศ ที่ประธานเปนเทวสถานในเมืองเราไม่มี มีแต่ในเมืองเขมร เขมรจะเรียกอะไรไม่ทราบ แต่ฝรั่งเรียก โคปุร เอาคำสํสกฤตมาเรียก และวิหารทิศนั้นไม่จำเปนจะต้องมีทั้งสี่ทิศ ที่พระธาตุนครศรีธรรมราชก็มีแต่ด้านหน้าทิศเดียว เรียกว่า ธรรมศาลา เห็นจะใช้เปนที่สำหรับมีเทศน์
เลข ๓ เปนอย่างมากอย่างใหญ่ ในเมืองเรามีทำขึ้นหน้าขึ้นตากันอยู่ก็ที่เมรุ ที่ชื่อว่า เมรุ นั้น ฉันเข้าใจว่าเพราะมีสิ่งแวดล้อม สัณฐานดุจเขาพระสุเมรุ มีเขาสัตตบริพันธ์ล้อม สิ่งที่ล้อมเมรุนั่น คดก็เรียก คด หอที่ประจำมุมนั้นเรียกว่า ส้าง บ้าง สำส้าง บ้าง ที่เขียน ซ่าง หรือ ซั่ง นั้น ออกจากทางสรตะของฉันเอง ฉันคิดว่า ส้าง ออกจาก ซัง ซึ่งมีที่เติ่งดวด ในพระราชพงศาวดารตอนเกิดกบฎในกรุงธนก็มีว่า พระยาสรรค์ขึ้นนั่งซัง คำว่า สำ คิดว่า สำ ส่ำ ซ้ำ อันเปนคำเดียวกัน หมายความว่า ซังหลายซัง สิ่งที่ปลูกสูญกลางหว่างคด ถ้าเปนเมรุแล้วเขาเรียกว่า เมรุทิศ หรือ เมรุประตู ที่เปนเทวสถานในเมืองเราไม่มี ในเมืองเขมรมีมาก ถ้าเปนสถานใหญ่ สิ่งที่แวดล้อมทำถึงสองชั้นสามชั้นก็มี