- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายหนังสือเรื่องกำเนิดคน ๑ เล่ม มาพร้อมกับหนังสือฉะบับนี้
เรื่องคำว่า เจ๊ก มาจากคำอะไร ข้าพระพุทธเจ้าได้สอบค้นดูในภาษาต่าง ๆ คงได้ความว่า พวกไทยใหญ่เรียกชาวไทยที่อยู่ในตอนใต้ของจีนว่า ไทยแขก คือไทยอื่น ข้าพระพุทธเจ้าค้นคำว่า แขก ในภาษาจีน คงปรากฏในเสียงชาวกวางตุ้งว่า หัก แต้จิ๋วว่า เค็ก หรือ แคะ เป็นคำเดียวกับที่ใช้เรียกจีนชาวแคะ ในสำเนียงชาวเซียงไฮ้ออกเสียงคำว่า แคะ เป็น เจี๊ยก ใกล้คำว่า เจ๊ก มาก ในภาษาพม่า เรียกจีนว่า เตยีก (Tayeuk, Tareuk) และเรียกไทยในประเทศจีนว่า ฉานเตยีก คำว่า เตยีก ใกล้เสียงว่า เจ๊ก มาก เพราะเสียง ตย กล้ำ ใกล้เสียง จ มาก ไทยทางเหนือของสยามใช้เรียก จีน และ เจ็ก ทั้งสองคำ ในภาษาเขมรและมลายู เรียก จีน อย่างเดียว ไม่ปรากฏว่าเรียกว่า เจ๊ก เพราะฉะนั้นคำว่า เจ๊ก น่าจะเป็นคำได้มาทางเหนือ และคงเป็นคำเดียวกับคำว่า แขก การจะผิดถูกสถานไร ขอรับพระบารมีเป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะทรงพระเมตตา
คำว่า ปฏัก ในภาษามลายู เป็น กะตัก ตรงกันกับที่เรียกกันอยู่ในชนบทบางถิ่น ที่ กะตัก มากลายเป็น ปฏัก คงเป็นเพราะจะลากให้เข้ารูปสํสกฤตที่เรียก กะตัก ว่า ปโฏท ซึ่งเสียงต่างกับคำว่า ปฏัก มาก และคงจะเป็นเพราะเสียงห่างกัน ในปทานุกรมจึงใช้เขียนว่า ประตัก หาได้ใช้ว่า ปฏัก ไม่
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์