- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ พฤษภาคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๖ เดือนนี้ ได้รับแล้ว ขอบใจท่านเปนอันมากที่ช่วยตรวจและคัดตำราเพชรพวง ไปให้
ฉันจะอธิบายเหตุที่ขอให้ท่านช่วยตรวจให้ท่านทราบ ด้วยเกิดความคิดเห็นขึ้นว่า ช้างชนผูกสัปคับนั้นไม่ไหว ทำให้หนักให้กีด เกิดขัดข้องแก่ช้างที่จะชนชิงชัยไม่ได้คล่องแคล่ว แม้ไปชนกับช้างสตรูซึ่งไม่ได้ผูกสัปคับจะต้องแพ้สตรูเปนแน่ อีกประการหนึ่ง ได้ยินคำทางอินเดียเขาว่าขุนรถกับนายสารถีต้องเปนผู้ที่รู้กัน เปนน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ขุนรถเปนตัวรบ สารถีเปนผู้ขับม้าหาช่องให้ขุนรถชิงได้ชัย เมื่อเอามาเทียบกับช้างก็ลงกัน ขุนช้างเปนตัวรบ ย่อมพะวงอยู่แต่การต่อสู้ จะแบ่งภาคกายใจมาทำการบังคับช้างด้วยไม่ถนัด จำต้องอาศัยนายท้ายช้างช่วย ควานหาช่องชัยให้แก่ขุนช้าง ก็ถ้าเอาสัปคับเข้าผูกขวางหน้านายท้ายช้างเสียแล้ว จะควานหาช่องชัยให้แก่ขุนช้างได้ที่ไหน ทำให้ไม่เชื่อว่าชนช้างจริง ๆ จะผูกสัปคับพระคชาธาร คิดว่าคงเปนแต่ปรุงขึ้นสำหรับแห่ดูเล่นงาม ๆ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง นึกถึงรูปเขียนชนช้าง ตามที่เห็นรูปเก่าๆมา ก็เห็นเขียนชนตัวเปล่าทั้งนั้น รูปเขียนช้างชนผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตร ดูเหมือนจะมีในหอราชกรมานุสรเปนรูปแรกอันได้เห็น ซึ่งเปนของเขียนในรัชชกาลที่ ๕ เข้าใจว่าเขียนตามพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตทรงเรียบเรียงขึ้นในรัชชกาลที่ ๓ เปนเหตุให้สดุ้งใจขึ้นว่า สัปคับพระคชาธารปักฉัตรนั้น จะปรุงขึ้นในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์เรานี้เองเสียดอกกระมัง จึงวานท่านดูสอบ ตำราเพชรพวงของครั้งกรุงเก่า ว่าจะมีช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตรอยู่ในนั้นหรือไม่
คำถามของท่านซึ่งแถมมาในท้ายหนังสือ ฉันอาจตอบได้เปนบางคำ
พนาด เคยทราบมาว่าเปนผ้าปกกระพอง ตามที่เคยเห็นมีสองอย่าง ติดผ้าจีบเปนระบายอย่างหนึ่ง ตรงกับคำที่ท่านคัดให้ไปว่า พนาฏปักทองแผ่ลวดมีระไบ กับติดข่ายซึ่งเรียกว่าตาข่ายหน้าช้างอีกอย่างหนึ่ง ตรงกับคำที่ท่านจดให้ไปว่า พนาถกำมญีหักทองขวางประดับพลอยมีคายหน้า (คือข่ายหน้า) เตมทน เปนหนังสืออย่าง น้ำพิงกได แปลกันแทบตายเท่านั้น เบาะอยู่ที่คออานก็เรียก จำคำในหนังสือเรื่องอนิรุทธมาได้คำหนึ่ง มีว่า แพรวพรนาดชนักแรง แย่งสุพรรณอานเอก ในที่นี้กล่าวถึงของ ๓ อย่าง คือ พนาด ผ้าปกกระพอง ชนัก เชือกมัดควบที่สอดเท้า จะแปลว่าโกลนก็จะได้กระมัง อาน เบาะรองก้นนั่งเหนือคอช้าง เขาเอาสายชะนักผูกทับไว้ เบาะอานนี้ใช้สำหรับแต่ท้าวพญา หาได้ผูกให้แก่คนขี่ช้างทั่วไปไม่
ตเกิง ได้แต่สันนิษฐาน จะต้องเปนชื่อตำแหน่งพนักงาน เพราะเห็นกล่าวไว้เปนสามภาค คือนายจำลองขวาแต่งตัวเช่นนั้น ตเกิงแต่งตัวเช่นนั้น นายช้างแต่งตัวเช่นนั้น สงสัยว่า ตเกิง จะเปนคนกลางช้าง ด้วยท้ายบอกเครื่องแต่งตัวมีคำว่า ปีนกลาง อยู่ด้วย
พุดตาน ท่านสำคัญเอาแผ่นช้างสัปคับเปนพุตตาน ส่วนฉันเห็นไปว่า แผ่นอันนั้นทำเทียบเขน ซึ่งผูกอยู่ข้างสัปคับช้างเขน แต่ตกแต่งแปลงรูปให้งามขึ้น คำว่า พุดตาน ฉันเข้าใจว่าเปนชื่อลาย อาจเปนลายที่ทำทั่วไปในสัปคับนั้น อันเลียนอย่างมาจากลายจีนซึ่งเขียนเครื่องลายครามเข้ามา เรียกกันว่าลายพุดตาน แต่จะเหมือนดอกพุดตานหรือโปตั๋นจริง ๆ หรือไม่ ใครรับผิดชอบก็ไม่ทราบ ลางทีจีนผู้เขียนลายนั้นจะไม่ได้ตั้งใจทำเปนพุดตานหรือโปตั๋นเลยก็ได้ ลางทีความสำคัญของท่าน ซึ่งถือเอาแผ่นข้างสัปคับว่าสิ่งนั้นเปนพุดตานก็จะถูก เพราะพัดยศของพระสงฆ์ชนิดรองพัดแฉกลงมา ทำเปนรูปดอกบัวแท้ ๆ ก็เรียกกันว่าพัดพุดตาน อย่างไรก็ดี ความเข้าใจในสมัยนี้ ที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดิน หากว่ามีแผ่นเขนเทียมติดอยู่ข้าง ๆ เปนเรียกว่าพระที่นั่งพุดตาน เปนของแน่นอนอย่างนั้น แต่ถ้าจะค้นเอาที่มา ว่าทำไมจึงเรียกพุดตาน ข้อนั้นต้องพักไว้ก่อน เพราะยังคิดไม่เห็น
ทองตะกู เห็นจะพอแปลได้ว่าทองเทียม ด้วยอาศัยเทียบจากกระดาษทองน้ำตะโก เห็นในหนังสือเก่าและคนเก่าเรียกว่าทองน้ำตะกู แต่ไม่ประหลาดอะไร ตะกู หรือ ตะโก ก็เอา อู เปน โอ จัดว่าเหมือนกัน วิธีทำ ใช้ตะกั่วดาษลงแล้วทายางใสสีเหลืองชะนิดหนึ่ง เรียกว่า ยางแต้ว แล้วปรากฏเห็นสีคล้ายทอง
ห่มเสื้อ ใส่เสื้อ สวมเสื้อ คิดว่าหมายความไม่ต่างกัน เสื้อเกราะของไทยซึ่งเอาประกับหน้าหลังไม่เคยทราบ ทราบแต่ว่าทำด้วยหนัง เปนเสื้อแขนสั้น ถ้าจะให้งามก็เอาผ้าสาบนอก
มิสรู ท่านค้นพบมาดี ซ้ำสอบพจนานุกรมภาษามลายูได้คำมาตรงกันด้วย ทุกวันนี้เรียกกันว่า มัสหรู่ หรือ เข้มขาบไหม ก็เรียก ทอด้วยไหม มีลักษณะเปนริ้ว ในริ้วมีลายสลับสีอีกทีหนึ่ง คำว่า ยก หมายถึงผ้ามีลาย ลายไม่ใช่ ริ้ว ยกไหมก็มี ยกทองก็มี คำว่า ยก มาแต่กระบวรทอ เส้นด้ายที่เชิดขึ้น เรียกว่าเส้นยก เส้นด้ายที่จมลงเรียกว่าเส้นข่ม แล้วพุ่งกะสวยไปในหว่างกลาง ถ้าจะให้เปนลายเลือกยกเส้นข่มขึ้นลางเส้น ทอไปให้เกิดเปนลายขึ้นจึงได้เรียกว่าผ้ายก เพราะต้องตะบอยยกเส้นข่มลางเส้นให้เกิดเปนลายขึ้น
นอกจากนี้ตอบไม่ได้ ไม่ทราบ คิดไม่เห็น
ตำรานุ่งผ้ามืดแปดด้าน จะไปถามใครก็เห็นจะไม่มีใครรู้ เปนอันสูญแน่นอน