- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๗ เดือนนี้ ทรงพระเมตตาประทานข้อความรู้อันเกี่ยวด้วยการร้องรำมาเป็นพิเศษโดยฉะเพาะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเต็มตื้นในพระกรุณาเป็นล้นเกล้า ฯ อย่างสุดซึ้ง ข้าพระพุทธเจ้าจะได้รักษาความรู้ที่ประทานมานี้ไว้เป็นพิเศษ เพราะเป็นความรู้ที่ไม่สู้มีผู้รู้ว่าความจริงเป็นมาอย่างไร ถ้าต่อไปเมื่อหน้าไม่มีผู้ทราบเหตุอันแท้จริง ก็จะเป็นที่น่าเสียใจเป็นที่สุด เมื่อมีการสอบสวนค้นคว้าในวิชาเหล่านี้ ก็อาจเข้าใจผิดเหมือนเช่นที่ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจผิดมาแล้ว เกิดเป็นผลเสียหายให้แก่ความรู้ในวิชานี้ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อด้วยเกล้าว่าวิชาที่เรียกกันว่า ศิลป ย่อมเป็นเครื่องค้ำชูสิ่งอื่นให้เจริญและทรงอยู่ได้ ไม่กลายเป็นอื่น เพราะความเห็นงามคิดงาม เป็นส่วนนำความเจริญ จะขาดเสียไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าค้นพบในภาษามลายูอยู่คำหนึ่ง เขียนว่า Guna แปลว่า magic, phillre และว่ามาจากคำ guana ในภาษาเปอร์เซีย ข้าพระพุทธเจ้าสงสัยว่า คุณไสย ก็น่าจะเป็นคำเดียวกับ guna ในภาษามลายู คงจะเป็นคนละคำกับคุณในภาษาบาลี ซึ่งใช้แต่ในทางให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่ปรากฏว่าใช้ในทางถกคุณ ส่วนคำว่า ไสย ในภาษาสํสกฤตก็ไม่มีใช้ในความนี้ คำที่ใกล้กันที่สุด ก็มี ไศว ซึ่งอาจเพี้ยนเป็น ไศพ และ ไสย ได้ ทั้งความหมายก็ได้กัน การจะผิดถูกสถานไร ขอพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง
อนึ่ง คำว่า เฉก ก็ใช้นำชื่อเช่น เฉกอาหมัด ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นคำเดียวกับคำว่า sheik ในภาษาอาหรับ แปลว่าหัวหน้า
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์