- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
จะตอบหนังสือของท่านซึ่งมีไปถึงฉัน ลงวันที่ ๔ เดือนนี้ ที่ว่าด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ฉันเห็นด้วยตามที่ท่านว่านั้นทุกประการ
ขอบใจเปนอย่างยิ่งที่ให้คำ สาน แปลว่าช้าง ควรที่จะรู้สึก เพราะบุราณใช้คำนั้นมาก็เปนช้างโดยตรง เช่นว่า เสด็จทรงพญาสาร หรือ สารเสวตร เปนต้น แต่ทำไมจึ่งผ่านไปไม่สดุดใจเสียเลยไม่ทราบ เขียน สาน เปน สาร ก็ไม่ได้ทำให้เปนทางที่ควรหลงไปเลย
ข้าวสาน แปลว่าข้าวปอกเปลือกนั้น เมื่อหลงไปเพราะเขียนเปน ข้าวสาร นั้นควรอยู่ ด้วยยังไม่รู้ ทั้งที่เขียน สาร ความก็กินกัน แปลเอาความได้
ศาล อีกคำหนึ่ง เช่น ศาลชำระความ และ ศาลเจ้า กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เคยตรัสทักว่าเขียนผิด ด้วยเข้าใจว่าเปนคำย่นมาจาก ศาลา แต่ที่จริงย่นไม่ได้ ถ้าย่นเปน ศาล ก็กลายเปนอื่นไป คือเปนต้นรัง เข้าพระทัยว่าจะเปน สาน เปนคำไทยเรานี่เอง
วิสัญชนี ฉันรังเกียจมานานแล้ว เห็นว่าไม่ใช่สระอะ เอามาใช้เปนสระอะ ไม่ควรอย่างยิ่ง วิสัญชนีเปนเครื่องหมายให้ออกเสียงหนัก เช่น ละเลย คำนี้ควรจะประวิสัญชนี แต่ถึงคำ ลลาย ไม่ควรจะประวิสัญชนีเลย ถ้าใครอ่านไม่ออก ก็ไม่ควรจะอ่านหนังสือ ไปลากซุงดีกว่า