- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ฉะบับหนึ่ง และลงวันที่ ๑๗ มกราคม อีกฉะบับหนึ่ง โปรดประทานเรื่องร้องรำ ตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล ขอพระกรุณา ทั้งนี้กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าเต็มตื้นในพระเมตตาปรานีเป็นสุดซึ้ง จนมิทราบเกล้า ฯ ว่าจะกราบทูลได้อย่างไร นอกจากรู้สึกเป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านข้อความที่ทรงพระเมตตาโดยละเอียดหลายครั้ง จนข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจเรื่องได้แจ่มแจ้งตลอด เมื่อครั้งที่ทรงทักเรื่องละครในละครนอกที่ข้าพระพุทธเจ้าเรียบเรียงว่าเหลวหมดนั่น ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้พยายามทานดูข้อความที่เรียบเรียงก็ยังไม่เห็นข้อผิดทั้งหมด ต่อเมื่อมาได้อ่านพระอธิบายที่ประทานมา จึงได้ทราบความแจ่มแจ้งว่าข้อความที่ข้าพระพุทธเจ้าเรียบเรียงไว้ ใช้ไม่ได้ทีเดียว ทั้งนี้เป็นเครื่องสอนใจข้าพระพุทธเจ้าให้รู้สำนึกตนในเรื่องความรู้อยู่ไม่น้อย ข้อความที่ประทานมาในบางตอนเป็นหลักสำคัญที่สมควรรักษาไว้ แม้ไม่ได้ทรงพระเมตตาจดเป็นหลักฐาน ก็น่าจะสาปสูญได้ง่าย หรือไม่เช่นนั้นก็อาจกลายหลักไปโดยเร็วทันตาเห็นเป็นแน่
ข้าพระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้า ฯ ซึ่งข้อความที่ตรัสสั่งไว้ในตอนต้นของลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ทุกประการ การจะควรสถานใด ขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า