- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๘๐
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่าน ลงวันที่ ๘ เดือนนี้ นำส่งหนังสือเรื่องกำเนิดคนไปให้ด้วยความเมตตา กับทั้งบอกที่มาแห่งศัพท์ลางศัพท์ไปให้ ได้รับแล้วขอบใจเปนอย่างยิ่ง
หนังสือเรื่องกำเนิดคน ยังไม่ได้อ่าน จะค่อยอ่านไปในเวลาว่าง แม้อ่านแล้วเกิดความเห็นขึ้นประการใด ก็จะบอกมาให้ท่านทราบ แต่เชื่อว่าดีเปนแน่
ศัพท์ เจ๊ก เมื่ออ่านหนังสือของท่านไปถึงคำว่า เค็ก ก็ทำยอมเสียแล้วว่ามาแต่คำนั้น เพราะเคยทราบคำนักปราชญ์ฝรั่ง เขาว่าตัว จ เป็น ก ได้ ครั้นอ่านไปถึงสำเนียงชาวเซี่ยงไฮ้ออกเสียงว่า เจี๊ยก ก็เปนสิ้นที่จะพึงสงสัยกันเท่านั้น
ท่านว่าในภาษาเขมรและมลายูไม่ปรากฏคำใช้ซึ่งเรียกว่า เจ๊ก แต่ฉันจะบอกท่านว่าทางชะวามีคำใช้เรียก เจ๊ก หรือ อันเจ๊ก ใช้ในที่ตะโกนเรียก มีเรื่องอันเกี่ยวแก่เรื่องนี้ ฉันตะโกนเรียกคนใช้ว่า เด็ก แต่มันไม่ได้ยิน ลูกหญิงปลื้มจิตรจึ่งช่วยตะโกนต่อ แต่เธอเปลี่ยนคำเสียเรียกว่า เจ๊ก ทันใดนั้นคนใช้ก็วิ่งมาหา มันได้ยินและเข้าใจว่าเรียกมัน แต่มันจะเปนเจ๊กนั้นหามิได้ ฉันสงสัยจึ่งถามลูกว่าทำไมจึ่งเรียกว่าเจ๊ก เธออธิบายว่าถ้าเรียกเด็กแล้วเสียงไม่กังวานไปไกล เรียกเจ๊กจึงจะได้ยินไปไกล เธอว่าคำ เด็ก กับ เจ๊ก ก็คล้าย ๆ กัน มาคำนึงถึงคำชะวา ถ้าจะตะโกนเรียกว่า จีน เสียงจะด้านส่งไปไกลไม่ได้ ที่ใช้คำ เจ๊ก สำหรับตะโกนเรียกนั้นเหมาะยิ่ง คำว่า อันเจ๊ก คิดว่ามาแต่ อาเจ๊ก
คำ กะตัก ซึ่งเขียน ปฏัก นั้นเหลวอย่างยิ่ง ฉันได้ค้นพจนานุกรมสํสกฤตแล้วก็ไม่พบ จึ่งพูดกับท่าน ท่านค้นได้คำว่า ปโฏท มาบอก ขอบใจมาก แต่ไกลลิบลับ รับไม่อยู่ ที่แท้ไม่ใช่คำสํสกฤตเลย
ฉันยังไม่ได้จดที่มาคำ ราชาวดี มาให้ท่านนั้น ไม่ใช่ลืม เปนเรื่องยังหาไม่พบ คำนั้นไม่ใช่ฉันพบคนเดียว ช่วยกันกับสมเด็จกรมพระสวัสดิ์ หาอธิบายในพลอยนพเก้า ต่างคนต่างก็พบ ดูเหมือนเขียนบ Lāzavati ยังได้มาปรึกษาหารือกันว่าเห็นจะได้แก่ ราชาวดี แต่ค้นหนังสือหลายฉะบับ จำไม่ได้ว่าอยู่ในฉะบับไหน จะสอบถามสมเด็จกรมพระสวัสดิ์ก็ตายเสียแล้ว ฉันยังคลำค้นหาอยู่เนือยๆ เมื่อได้แล้วจะบอกมาให้