- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
จะตอบหนังสือของท่านซึ่งมีไปถึงฉัน ลงวันที่ ๔ เดือนนี้ ว่าด้วยเรื่องผ้า
ผ้ายามะหาดนั้น เปนแต่เข้าที ได้ความ เปนภาษา แต่ช่างเขียนเขาไม่ได้เรียกน้ำยาสีใด ๆ ว่า ยามะหวด เพราะฉะนั้นตราไว้ก่อนก็ดีแล้ว
นุ่งผ้ามีอีกอย่างหนึ่ง ฉันเห็นเด็กเงาะซึ่งชื่อ คนัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเอาตัวมาเลี้ยงไว้ ได้นุ่งถวายทอดพระเนตร ตามวิธีที่พวกเขานุ่งกันเปนปกติ เริ่มด้วยเอาชายผ้าข้างหนึ่งทาบบนหน้าอก เอาลูกคางทับชายไว้ แล้วชักผ้าลอดไปในหว่างขา อย่างที่เรานุ่งผ้าเตี่ยว เรียกกันว่า ขี่ม้า ถึงชายกระเบนเหน็บ เอามือกดไว้ แล้วหักผ้าที่เหลือพันรอบพุง เอาชายผ้าสอดที่ตรงหักทบเปนชายกระเบน แล้วปล่อยชายหน้าห้อยลง เปนอันมีชายห้อยทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ชายข้างหน้านั้น ถ้าจะห่ออะไรก็ทบเอาขึ้นมาเหน็บที่ท้องเปนกระเป๋า นุ่งชะนิดนี้ภาษาเงาะเรียกว่า เลาะเตี๊ยะ รูปคำก็ใกล้ เตี่ยว และคล้ายกับที่ท่านว่าข่านุ่ง แต่ที่ข่านุ่งนั้นเหมือนเกี้ยวเกไลมากกว่า สังเกตว่าตัวยักษ์ในละครของเราก็แต่งตัวมีผ้าห้อยหน้าห้อยก้น สงสัยว่าจะมาแต่นุ่งเลาะเตี๊ยะนั้นเอง เปนแบบเงาะ เงาะก็ยักษ์
ข้อที่ท่านถามถึงเชือกพันไหมของกระทรวงคลัง ซึ่งใช้ใส่พานเชิญไปให้เจ้าภาษีนายอากร เพื่อการเร่งเงินนั้น ฉันไม่เคยทราบว่ามีอยู่เลย ทั้งไม่เคยได้ยินเรื่องเช่นนี้มาด้วยซ้ำ