- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์ ทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๐ เดือนนี้ ประทานข้อทรงสังเกตในเรื่องพระราชนิพนธ์ทรงพระราชวิจารณ์พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามไปนั้น เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้าในข้อที่ประธานมาทุกประการ และได้แก้ไขต้นฉะบับที่จะส่งไปตีพิมพ์ ตามที่ทรงทักท้วงแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับความรู้เรื่องเมืองท่าทองที่ทรงอธิบายมาเป็นอันมาก เพราะที่ในหอสมุดแห่งชาติ มีเรื่องเมืองนครศรีธรรมราชอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้กราบทูลไปในหนังสือของข้าพระพุทธเจ้าฉะบับก่อน ในหนังสือเรื่องนั้นมีข้อความมัว ๆ ด้วยเป็นสำนวนโบราณและเกี่ยวเนื่องมาถึงเมืองเพชรบุรีด้วย เมื่อได้อ่านพระอธิบายถึงเรื่องเมืองท่าทองแล้ว กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความอย่างอื่นที่จะสอบสวนได้ต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าคัดตำนานเมืองนครศรีธรรมราชถวายมาด้วยแล้ว
ในเรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรี จะได้ทำราชาภิเษกรับพระราชโองการหรือเปล่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องกับที่ได้ประทานพระอธิบายมา เป็นหลักสำคัญของข้าพระพุทธเจ้าต่อไป ในที่จะวินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้จากหนังสือ
เรื่องที่จะลงพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพในเรื่องรูปสัมฤทธิ์ต่อท้ายพระราชนิพนธ์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้มีหนังสือกราบทูลขอพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอพระองค์นั้นแล้ว
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า จะนำประกาศในการกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต และคำประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ดั่งที่มีประกาศอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาต่อท้ายพระราชนิพนธ์ด้วย จะเป็นการสมควรหรือไม่ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระกรุณาเพื่อทราบเกล้า ฯ
คำว่า เวียดนาม ขอประทานกราบทูลว่า เวียด คำนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยพบตัวอักษรจีนที่เขาเทียบเอาไว้ด้วย ปรากฏว่าเป็นคำเดียวกับคำว่า อวด ในเสียงภาษาชาวแต้จิ๋ว และเป็น หวัด ในเสียงภาษาชาวกวางตุ้ง อวด เป็นชื่อแว่นแคว้นตอนใต้ของประเทศจีนในครั้งโบราณ ได้แก่ กวางตุ้ง และกวางซี เรียกว่าอวดตะวันออกและอวดตะวันตก ส่วนเวียดนามก็คือ แคว้นอวดใต้
ในภาษาจีนหลวง ไม่มีสำเนียงแม่กงและกม จึงต้องใช้เสียงแม่กนแทน เหตุฉะนี้ หนำ หรือ นาม จึงเป็น นาน ทั้งนี้จะสมควรด้วยประการไร ขอรับพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า