- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑๕ เดือนนี้ ว่าด้วยเรื่องนักเทศขันที กับเรื่องระเบงนั้น ได้รับทราบแล้ว
ดีมาก ในเรื่องนักเทศขันทีท่านค้นเอาในกฎมนเทียรบาลออกมาพิจารณาเทียบเคียงได้ เปนอันได้รู้แน่แล้วด้วยกฎมนเทียรบาลรับรองว่านักเทศ ซึ่งฉันคาดว่าหมายถึงคนต่างประเทศ คือแขก นั้นไม่ผิด มีชื่อขุนราชาข่านแสดงให้เห็นเปนยาน แต่ก็ประหลาดอยู่หน่อย ที่เดิมนึกว่านักเทศขันทีเปนคนหมู่เดียว มาพบในกฎมนเทียรบาลแยกเปนคนละหมู่ แต่หน้าที่ก็ทำอยู่เปนคู่กัน ท่านคิดเห็นว่าจะเปนคนจำพวกเดียวกัน คือเปนแขกด้วยกัน และต้องเปนขันทีทั้งหมดด้วยมิฉะนั้นจะรับใช้อยู่ในที่ใกล้ชิดไม่ได้นั้น ฉันรับรองว่าความเห็นของท่านถูก ฉันก็เห็นเช่นนั้น
ข้อที่ท่านถามถึงระเบงและอื่นๆ อีกนั้น ฉันสามารถจะบอกท่านได้มาก แต่ไม่หมดจด เพราะฉันได้ดูแต่เปนขณะ ไม่ได้ดูเขาเล่นตั้งแต่ต้นไปจนจบ ฉันจะลองหาคนที่เคยเล่นดูก่อน ถ้ายังมีตัว ก็จะเอาตัวมาถามเอาคำให้การ แล้วทำรายงานให้แก่ท่าน ถ้าหาตัวไม่ได้ ฉันก็จะให้การแก่ท่านเอง แต่ท่านจะได้ความไม่หมดจด แม้จะได้ตัวคนเคยเล่นมาฉันก็กลัวจะเหลวเสียแหละมาก เพราะพอเสด็จขึ้น เขาก็เลิกไปบ้าน ไม่เคยเล่นจนจบบ
การเล่นทั้งนั้นมี ๕ อย่าง คือ ๑ ระเบง ๒ โมงครุ่ม ๓ กุลาตีไม้ ๔ แทงวิสัย และ ๕ กะอั้วแทงควาย ท่านเข้าใจว่าระเบงนั้นเปนเทวดา แต่หาใช่ไม่ เปน กษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร จะไปช่วยโสกันต์ใครก็ไม่ทราบ ที่เขาไกรลาศ บทมีว่า
โอละพ่อ เทวามาบอก
โอละพ่อ ยกออกจากเมือง
โอละพ่อ พร้อมกันทั้งปวง
โอละพ่อ จะไปไกรลาศ
แล้วก็มีเพลงเดิน ขึ้นต้นว่า
รักแก้วข้านี่เอย จะไปไกรลาศ
แล้วไปถูกพระกาลห้ามไม่ให้ไป แต่ฉันเข้าใจว่าเปนพระขันทกุมาร เพราะมีรูปนกยูงซึ่งเปนพาหนะอยู่ ทั้งพระขันทกุมารก็เกี่ยวข้องกับพระอิศวร ซึ่งอยู่ ณ เขาไกรลาศ ถ้าเปนพระกาล รูปพาหนะจะต้องเปนนกแสก เมื่อกษัตริย์ทั้งนั้นไม่ฟังห้าม จะยิงเอาพระกาล พระกาลก็สาบให้สลบ เมื่อพอใจแล้วก็ถอนสาบให้ฟื้น พวกกษัตริย์ก็กลับบ้านเมืองเท่านั้น ไปไม่ถึงเขาไกรลาศ เรื่องมีเท่านี้ ฉันอาจให้บทร้องได้แต่ต้นจนจบ แต่เชื่อว่าคงเปนเรื่องสำหรับเล่นงานโสกันต์เท่านั้น ถ้าเป็นงานอื่น น่าจะมีเรื่องเล่นเปนอย่างอื่น
ส่วน โหม่งครุ่ม กับ กุลาตีไม้ ดูเหมือนท่านจะเข้าใจว่าเปนการเล่นชะนิดเดียวกัน แต่ที่จริงเปนคนละอย่าง หากตั้งเล่นใกล้กัน เครื่องแต่งตัวเหมือนกัน ทั้งถือไม้ตีกลองเหมือนกัน จึงไม่มีใครสังเกตว่าเป็นคนละอย่าง ขอเวลาให้ฉันหาความรู้ให้ตลอดเสียก่อน แล้วจะบอกท่านโดยละเอียดเท่าที่รู้ได้