- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๖ บอกเรื่องตีพิมพ์พระราชนิพนธ์วิจารณพงศาวดาร กับพระราชนิพนธ์วิจารณเรื่องวังหน้านั้น ได้รับทราบความแล้ว
การเก็บพระราชนิพนธ์มาตีพิมพ์เสียให้หมดนั้น เปนการดี ควรกระทำ แต่การที่จะเรียงลำดับเอาเรื่องไรไว้ก่อนไว้หลังนั้น อาจทำได้โดยอเนกนัย เช่น จะเรียงตามวันที่ทรงพระราชนิพนธ์ก็ได้ หรือจะเรียงตามเรื่องเก่าเอาไว้หน้าเรื่องใหม่เอาไว้หลังก็เห็นว่าได้ ไม่เห็นขัดขวางอะไร
ว่าจำเพาะหนังสือซึ่งคิดจะตีพิมพ์ในคราวนี้ เรียงตามเรื่องดีกว่าเรียงตามวัน ด้วยเปนหนังสือหลายฉะบับอันเกี่ยวกันกับเก็บเอามาประติดประต่อ ถ้าเรียงตามวันแล้วเรื่องจะไขว้เขวกระจุยกระจายแตกกันไปหมด
ประกาศสองเรื่องซึ่งท่านตัดสินใจตกลงว่าควรเอาลงนั้น ฉันตรวจดูความซึ่งท่านคัดให้ไปก็เห็นชอบด้วยว่าควรเอาลง แต่สงสัยในถ้อยคำอยู่มาก เช่นพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย รู้สึกว่าผิดกับที่ฉันจำไว้ได้เปนหลายแห่ง จะให้ตัวอย่างสักแห่งหนึ่ง เช่น สุธาธิการสังสฤษดิ์ ฉันจำได้ว่า สุภาธิการรังสฤษดิ์ ผิดกันไม่ใช่เล็กน้อย และสังเกตได้ว่ามีแก้อักษรไปแล้วหลายแห่งด้วย เช่น พินิตประชานารถ ก็แก้เปน พินิจ เพราะไม่รู้ว่าคำ พินิต สกด ต มีในโลก ขอท่านจงระวังให้ดีหน่อย สำเนาประกาศทั้งสองฉะบับซึ่งคัดไปให้ดูนั้นบ่งไว้ว่าคัดจากกฎหมาย ย่อมคัดลอกกันไปหลายต่อกว่าจะถึงกฎหมายซึ่งเอาไปตีพิมพ์รวม ถ้าหากมีนักเลงดีส่งเดชแก้อย่าง หาบโล่ห์ หอสมุดจะเจ็บมากที่สุด ขอให้ท่านเลือกดูต้นฉะบับที่ใกล้ที่สุด เช่น ราชกิจจานุเบกษา กับนึกได้ว่ากรมพระสมมตอมรพันธทรงเก็บประกาศต่าง ๆ รวมตีพิมพ์ไว้ก็มี โดยได้ทรงตรวจเองอย่างถี่ถ้วน หนังสือซึ่งออกชื่อมาแล้วนั้นและ จะพึงไว้ใจได้ จะไปเที่ยวคัดเอาหนังสือซึ่งออกกันต่อ ๆ ไปตั้ง ๑๐ ต่อแล้วมาลง เห็นเปนอันตรายที่สุด
พระดำรัสสมเด็จกรมพระยาดำรง ซึ่งตรัสทักว่าพระราชวิจารณเรื่องวังหน้าศักราชผิดนั้น ไม่ยากอะไร ที่ไหนผิดลงฟุตโนตเรียกว่าสอบใหม่ได้ความภายหลังว่าเช่นนั้น ก็แล้วกัน