- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๑๗ เดือนนี้ ส่งปรูฟตีพิมพ์พระราชนิพนธ์วิจารณพงศาวดารแลตั้งวังหน้าไปให้ตรวจ ได้ตรวจแล้ว รู้สึกว่าเรื่องที่เก็บมาติดต่อกันเข้านั้น กินกันเรียบร้อยดีเปนอย่างยิ่ง คงจะเปนคุณงามความดีของหอสมุด ซึ่งจะได้ความสรรเสริญ ขอแสดงความยินดีด้วย
ทีนี้จะแจ้งรายงานในการที่ได้ตรวจแก้ไว้ให้ทราบ
(๑) ได้แก้ไม้โท เปนไม้เอก แห่งหนึ่ง ในหน้า ๑๘
(๒) คั่นตอนด้วยขีด ในหน้า ๒๐ รู้สึกว่าแรงเกินไป ถ้าใช้เพียงดอกจันทน์คั่นจะดีกว่า ถ้าไม่มีพิมพ์ดอกจันทน์ เอาฟองมันใช้แทนก็ได้
(๓) ในหน้า ๒๙ แก้ไว้ระยะผิดแห่งหนึ่ง
(๔) ในหน้า ๓๔ และ ๓๕ อยากจะไขพระนามพระเจ้าแผ่นดินลงไว้ในวงเล็บ ครั้นเขียนลงแล้ว ไปเห็นในหน้า ๔๑ ถึง ๔๒ มีไขความในวงเล็บของต้นฉะบับอยู่ ทำให้เกิดวิตกขึ้นว่าใส่ไขความในวงเล็บลงไปใหม่ จะกลายเปนเขียนปลอมไป จึงได้แก้เสียใหม่ ทำเปนฟุตโนต เพื่อให้ตระหนักแน่ว่าเปนของหอสมุดหมายไว้ เมื่อในที่นี้ได้ทำดังนี้แล้ว จำต้องย้อนกลับไปแก้ข้างต้นให้ลงเปนแนวเดียวกันด้วยอีก ๕ แห่ง ในหน้า ๑๒ แห่งหนึ่ง หน้า ๑๓ สองแห่ง กับหน้า ๑๕ และ ๑๙ อีกหน้าละแห่ง
(๕) ในบัญชีพระนามพระเจ้าแผ่นดินข้างท้าย เข้าใจว่าหอสมุดได้ทำขึ้น มีพระนามพระเจ้าแผ่นดินหลายองค์ที่จะเข้าใจยาก จึงได้แก้ไขพระนามเติมเข้าไว้อีกด้วย
ได้แก้ไว้ด้วยดินสอแดง ซึ่งท่านจะพลิกเห็นได้โดยง่าย ในการแก้นั้นยากมาก ทางใช้ตัวอักษรฉันไม่กล้าแก้ เพราะไม่ทราบทางของหอสมุดว่าแก้โดยหลักฉันใด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ผิดความแล้วฉันก็ผ่านไปไม่ได้แก้
กับได้หมายสงสัยไว้ในหน้า ๕๕ อีก ๒ แห่ง
๑ คำว่า โปรดเกล้าฯ ให้......... สงสัยคำ เกล้าฯ ว่าจะหมายความถึงตัวผู้พูด ถ้าไม่ได้โปรดเราผู้พูด เขียนว่าโปรดเกล้าฯ กลัวจะผิด แม้โปรดผู้อื่นเขียนว่า โปรดให้...... ดูก็จะไม่ต่ำช้าอะไรไป เข้าใจว่าถูกด้วย
๒ คำว่า พิมพ์ เปนนามแท้ ๆ หมายถึงตัวตะกั่ว จะต้องประกอบคำกิริยาด้วย เปน ตีพิมพ์ ลงพิมพ์ อัดพิมพ์ อะไรเช่นนั้นจึงจะชอบ เอาคำว่าพิมพ์ ซึ่งเปนนามมาใช้เปนกิริยา สงสัยว่าจะผิด
คำที่ท่านสงสัยมีคำหนึ่งคือ ยัง เจ้ากรรมจริงๆ ที่ฉันก็สงสัยเหมือนกัน และสงสัยมานานแล้ว คิดจับเอาความเข้าใจก็ยังไม่ได้ ดูแปลไปได้หลายอย่าง ด้วยความสงสัยนั้นแหละจนฉันเลยหลบ ถ้าไม่เข้าที่จำเปนจริงๆ แล้ว ไม่ใช้คำว่า ยัง นั้นเลย ช่วยกันพิจารณาสักทีก็ดี จะบอกท่านบัดนี้เท่าที่นึกได้ตามที่เคยพบ ฉันไปตามหัวเมืองปักษ์ใต้ มีกรมการเขามาต้อนรับ สนทนากับเขา ถามเขาว่าที่นี่ตะเข้มีไหม เขาตอบไม่ได้ เพราะไม่ใช่ถิ่นของเขา เขาจึงหันไปถามกำนัลหรือผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งว่า “เขยังเฮอ” ได้รับคำตอบว่า “ยังคราบ” เขาก็หันมาบอกเราว่า “มี” จึ่งได้รู้ภาษาชาวปักษ์ใต้พูด มี ว่า ยัง ในพระราชนิพนธ์หน้า ๕๒ ว่า พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ๆ สิ้นพระชนม์เสียแต่ก่อนยังมาก ยัง ณ ที่นี้แปลว่า มี ตามอย่างภาษาชาวปักษ์ใต้ก็ได้ความ จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ในที่นี้จะแปลว่า มี เห็นขัดข้อง สุภาสิตว่า เสือมีเพราะป่าปรก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินดีเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดี ในที่นี้จะแปลว่า มี ก็ได้ หรือจะแปลว่า อยู่ ก็ได้ คำ ยัง กลัวจะปนกัน หยั่ง ยั่ง ยั้ง เลยทำให้เลอะเทอะไป
อีกคำหนึ่ง ทองสัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ สำเรทธิ์ ว่าเสร็จ ว่าแล้ว ดูเข้ากันไม่สนิทเลยกับทอง ซึ่งหมายว่าทองผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ลองค้นปทานุกรมของอาจารย์โมเนียวิลเลียมส์ ได้พบคำ สัมฤต แปลว่า มาด้วยกัน พบกัน เห็นเหมาะที่จะเขียน ทองสำฤต แต่เปนนอกคอก บอกท่านเพื่อให้สังเกตเท่านั้น