- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของฉันซึ่งให้มาถึงท่านเมื่อวานนี้ มีความอยู่ข้อหนึ่งว่า ฉันไม่ได้แก้ปรูฟในทางใช้ตัวอักษร ถ้าเห็นไม่ผิดความแล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป ด้วยไม่ทราบทางของหอสมุดว่าแก้ด้วยหลักฉันใดนั้น บัดนี้มานึกรู้สึกขึ้นว่า มีคำอยู่คำหนึ่งซึ่งฉันได้ผ่านไป แต่ควรจะบอกให้ท่านทราบ เพื่อท่านจะได้พิจารณาเสียดีกว่าให้ผ่านไปด้วยละเลย คำนั้นคือพระนามพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งในพระราชนิพนธ์หน้า ๓๙ เขียน พระรัชฎาธิราช มีสองแห่ง แต่ในบัญชีท้ายเรื่องเขียน พระรัษฎาธิราช ลักลั่นอยู่ในสมุดเล่มเดียวกัน แต่ความลักลั่นนั้นจะเปนด้วยเจ้าพนักงานหอสมุดยึดต้นฉะบับที่คัดมาสองแห่งเปนหลัก หรือจะแก้ตัวอักษรแล้วแต่แก้ไม่หมดฉันก็ทราบไม่ได้ บอกมาให้ท่านทราบด้วยเห็นว่าคำนั้นติดจะสำคัญ ท่านจะได้ไต่สวนว่าควรวางลงไปอย่างไร
มานึกขึ้นได้ในปัญหาคำ ยัง กลอนที่ว่า จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว นั้น คิดเอาความไม่ค่อยได้ แต่สังเกตเห็นว่าพูดไปในทางเพาะปลูก ถ้าหากคำว่า ยัง นั้นจะเปน หยั่ง จะทำให้ได้ความดีขึ้นมาก เปนจะปลูกฝังเสียให้หยั่งลงแล้วในพื้นดินโดยมั่น คือแต่งให้มีคู่ ทั้งนี้มาจากทางที่สงสัยว่าคำ ยัง หยั่ง ยั่ง ยั้ง จะพูดสับสนปนกันทำให้ความเลอะเลือน แต่จะหาแน่ก็ต้องหาคำใช้ในสำนวนเก่ามาพิจารณาหลาย ๆ แห่ง ฉันขี้เกียจหาจึ่งเปนแต่หลบ หนีเอาตัวรอดไปเสียไม่ใช้เท่านั้น