๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส

กรมศิลปากร

วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๗๙

ขอประทานกราบทูล ทราบใต้ฝ่าพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้พระวิทิศวรการ เจ้าหน้าที่ในกรมศิลปากร นำปรูฟ กฎมนเทียรบาลพะม่า ไปสอบถามและจดคำพะม่าบางคำเพิ่มเติมจากหม่องลุนเผ่ ๆ ไม่สันทัด ได้พาไปหาพะม่าอีกคนหนึ่ง ชื่อหม่องหน่วย ว่าเป็นผู้สันทัดในเรื่องราชประเพณีพะม่า ได้ซักถามและสอบกับตำราหนังสือพะม่า คงได้ผลเท่าที่ข้าพระพุทธเจ้าจดเป็นบันทึกขึ้นไว้ คำใดที่มีอยู่ในบันทึกฉะบับเดิม ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายไปก่อนแล้วนั้น ถ้าถูกต้องตรงกัน ก็ไม่ได้จดซ้ำไว้ในฉะบับนี้ เว้นไว้แต่คำที่จดมาใหม่ผิดกันหรือเป็นคำที่ได้เพิ่มเติมและแก้ไขใหม่ จึ่งจดลงไว้ในบันทึกฉะบับนี้

ชื่อตำแหน่งพระมเหษี ตามที่พระวิทิศ ฯ มารายงานให้ข้าพระพุทธเจ้าฟัง ว่าหม่องหน่วยท่องปากเปล่าให้ฟังคล่องแคล่วดี ครั้นเมื่อสอบกับที่จดไว้ ก็ยังมีที่ไม่ตรงกันบางคำ ซึ่งเหลือความสามารถที่จะวินิจฉัยลงไปได้ว่าคำใดถูกหรือผิด แต่ก็มีอยู่หลายคำในที่อื่นที่เห็นได้ว่าฝรั่งจดเอามาผิดหรือจดเสียงเป็นตัวไทยเพี้ยนไปมาก

...........................................................................................หนังสือฉะบับนี้ ส่วนการแก้ปรูฟพิมพ์ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้โรงพิมพ์รอไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับ ๆ สั่งว่าจะโปรดให้แก้ไขคำใดบ้าง เมื่อได้แก้เสียชั้นหนึ่งแล้ว จึงจะได้ถวายปรูฟเพื่อทอดพระเนตรต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ

ข้าพระพุทธเจ้า พระยาอนุมานราชธน

บันทึกแก้ไขและเพิ่มเติมคำบางคำใน กฎมนเทียรบาลพะม่า

(ในฉะบับพิมพ์ดีด)

หน้า ๑ สคนาน Thaga-nan ที่ถูกเป็น สักจาเยสินัน ถ้าแก้ตามนี้ก็จะต้องเติมตัวฝรั่งในคำว่า เยสิ น่าจะคงไว้เป็น สักจานัน Thagya-nan

หน้า ๒ ต้น มะโยบิน พะม่าหลายคนไม่รู้จัก เลยเดาเป็น ซิบบินเมียว แปลว่าต้นไม้ต่าง ๆ ดูไม่สมกับเรื่อง มีคำพะม่า เมี้ยว (มะโย) แปลว่า เมือง บิน แปลว่าออก คือทางที่ออกนอกเมือง ดูเข้ากับข้อความในต้นฉะบับที่ว่า พอจะออกจากเขตต์พระราชฐาน เมื่อความไม่แน่ควรยึดคำว่า ต้นมะโยบิน ไว้ แต่แก้คำฝรั่งว่า Moyo-bin ตามที่มีอยู่ใน Gazetteer สิโดสอนว่า เป็น ซีโดสอ แปลว่าตีกลองสั้น (ซี ว่า กลอง โด ว่า สั้น สอ ว่า ตี) คำที่ตัวสกดเป็นพยัญชนะนาสิกเช่นแม่กน กง กม ตามที่ปรากฏในตัวอื่น ๆ ในที่ต่อไป เสียงพะม่ามักกร่อนหรอไป ถ้าจะแก้ สิโดสอน เป็น ซีโดสอ เห็นจะไม่ผิด

ปะเรียตะปัน Payeitpan ควรแก้เป็น ปะเย็............เพราะใน Gazetteer ฉะเพาะคำนี้มีตัวอักษรพะม่ากำกับไว้ด้วย

หน้า ๓ วุนติตอนสอน Wuntitonson ใน Gazetteer เป็น วุนสิตอนสอน Wunsitonson แต่พะม่าว่า วินดอตีสอ ว่าเป็นกลองสำหรับตีเวลาเสด็จกลับ ถ้าแก้ตามนี้ต้องเอาตัวฝรั่งออก ถ้าเอาไว้ก็ต้องแก้เสียงตัวท้าย คำว่า วุนสิตอนสอน เป็น วุนสีตอนสอ ให้เข้ากับคำว่า สิโดสอ ในหน้า ๒

หน้า ๔ เดิม มะเยนัน Mye-nan ว่าเป็นพระแท่นขนาดเล็กทำขึ้นชั่วคราว ที่แปลไว้เดิมยังไม่ตรง

ตะคาหนี่ ว่าเป็นประตูสำหรับพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกโดยฉะเพาะ โยดอยุ ว่าควรจะเป็น ยุยต่อซุตะคา ว่าเป็นประตูสำหรับข้าราชบริพารเข้าออก ที่จดไว้แล้วว่า โยต่อซุ ว่าไม่ตรงเสียที่แท้จริง มีซ้ำในหน้า ๕ อีก

หน้า ๖ ฆ้องเงินเรียกว่า มงคลเงวมอง เสียงพะม่าเป็น เมงคลา งุยเมา (ฆ้องเงินอันมงคล)

หน้า ๗ มิบุยะ พะม่าเป็น มิบุยา

นันมะดอมิบุยะขยองคยี ว่าควรเป็น นันมะดอมิบุยาจี (ตกคำว่า ขยอง)

อเลนันดอมิปุยะ ควรเป็น อะแลนันดอมิบุยา

คำว่า มยอก พะม่าว่าเป็น เมี้ยว เห็นจะเข้าใจผิดกันอะไรสักอย่างหนึ่ง เพราะความได้กันกับคำว่า เหนือ

มะยอกสองดอ พะม่าว่า เมี๊ยวเซาดอ น่าจะแก้แต่คำหลังเป็น มะยอกเซาดอ

คำว่า ตอง สอง ว่าเป็น เตาน์ และ เซา

หน้า ๘ นักสนม มโยสา และ ยะวาสา ว่าเป็น มโยเสา และ ยะเวเสา เจ้ากรมสนม อนอกดก ว่าเป็น อะเน้ากะต๋อ

หน้า ๙ พระนามเดิมพระเจ้ามินดง มองลวิน ว่าเป็น มองลอน พระนามเดิมพระเจ้าสีป่อ ว่าเป็น มองปุ๊

หน้า ๑๐ สันดอชิน (Thandawzin) ว่าเป็น สันดอซิ้น (ผู้รับพระราชโองการ)

หน้า ๑๓ มหาสมาคม Kadaw ว่าเป็น นัน ด่อ

หน้า ๑๗ บองดอสอง ว่าเป็น โบ๊งดอ

หน้า ๑๘ พิธีสงกรานต์ เรียกว่า นิตซิด-ตินจันดอป๊วย

หน้า ๑๙ นยองเยป๊วย ว่าเป็น กะชงเยซุ้นป๊วย ห่างกันมาก สอบพระปริยัติธรรม สะดอ ว่าเป็น ส่าต่อ

หน้า ๒๐ พิธีแรกนามงคล มิงคลาเลดอป๊วย ว่าเป็น เมงคลาแหล่ด่อป๊วย

หน้า ๒๒ พิธีบวชนาคหลวง เรียกว่า ปยินซินต่อขันป๊วย และ ปยินซินซินปยุ

หน้า ๒๓ พิธีเดือน ๑๐ เยซะบินเหล่ป๊วย ว่าเป็น เหย่ซะบินเหล่ป๊วย

หน้า ๒๔ พิธีถวายข้าวใหม่ เรียกว่า มหาเป็นแนป๊วยดอ

หน้า ๒๕ พิธีเดือนยี่ เรียกว่า เยนันยินด่อป๊วย

หน้า ๒๕ ฉัดตี เป็นชาติ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ