- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๐ เดือนนี้ ทรงพระเมตตาประทานอธิบายคำต่างๆที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามไป เป็นพระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้
ที่ทรงพระกรุณาประทานพระอธิบายเรื่องนกการเวกนั้น กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องนกวายุภักษ์เพิ่มขึ้นอีก เพราะนกวายุภักษ์ที่ใช้เป็นเครื่องหมายของกระทรวงพระคลัง เขียนเป็นรูปร่างอย่างนกผิดกับนกวายุภักษ์ที่เคยเขียนเป็นรูปคล้ายครุธ ซึ่งกระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าสงสัยมาช้านาน เพิ่งจะมาทราบเกล้า ฯ เมื่อได้ประทานพระอธิบายมาในครั้งนี้
ทัพ คำนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ค้นดูในปทานุกรมภาษาบาลีของชิลเดอร์ แปลว่า สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง และว่าเป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทรัพย์ ในภาษาสํสกฤต ข้าพระพุทธเจ้าได้สอบค้นคำว่า กองทัพ ในภาษาต่าง ๆ คงปรากฏว่า ภาษาไทยต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงจีน ก็ใช้คำในภาษาจีน บางภาษาก็หาคำว่า กองทัพ ไม่มี คงมีอยู่แต่ในภาษาไทยใหญ่ว่า ตั๊บ แปลว่า ป้อม ค่าย กองทหาร และใช้ประกอบเข้ากับคำอื่น อย่างเดียวกับภาษาไทยสยาม เช่น ตั๊บหลวง ตั๊บน่า ตั๊บหลัง เป็นต้น ส่วนในความหมายว่าที่ค่ายทหาร บางทีในภาษาไทยใหญ่ก็ใช้ว่า ตั๊บเตีก คำว่า เตีก คงจะตรงกับ เศิก ในภาษาไทย และมีอักษรพะม่าไว้ในวงเล็บ เป็นตัวอักษรอย่างเดียวกับไทยใหญ่ว่า ตั๊บ เหมือนกัน สอบทางภาษามอญ ได้ความในคำว่าป้อมค่ายนั้น มอญเรียกว่า โต๊บนาน โต๊บ คงเป็นคำเดียวกับ ตั๊บ แต่เพี้ยนเสียงไป ส่วนกองทัพว่า เป้อนาน สอบภาษาเขมร คำว่ากองทัพก็เป็นกองทัพ อย่างในภาษาไทย น่าจะเป็นคำที่ได้ไปจากไทยมากกว่าเป็นภาษาเขมร และ คำว่า ทัพ ก็คงไม่ใช่เป็นภาษาไทยมาแต่เดิม เพราะไม่ปรากฏมีร่องรอยไว้ให้พบ คงมีแต่ไทยใหญ่ พะม่า มอญ และเขมร รูปลักษณะของคำตามที่สอบสวน ก็ไม่ได้ความยิ่งขึ้นไปกว่าคำแปลที่กราบทูลมาแล้วจึงน่าจะเห็นว่า ทัพ คงจะเป็นคำที่ได้มาจากภาษาอื่น มีบาลีเป็นต้น ก็เป็นได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้ค้นหาคำว่า กระท่อม ในภาษาไทยต่าง ๆ ก็มีแต่คำว่า เถียง หรือ เถียงนา แปลว่ากระท่อมกลางนา คำนี้ไม่ปรากฏในภาษาไทยสยาม ส่วนภาษาไทยทางพายัพและอุดรมีคำว่า ตูบ แปลว่า กระท่อม เสียงใกล้กับคำว่า ทับ ที่แปลว่าที่พักมาก และใกล้กับคำว่า กะต๊อบ กะ คงจะเติมขึ้นเพื่อให้ถ่วงเสียงกับ กะท่อม ในภาษาเขมรมีคำว่า ขตอม ซึ่งคงเป็นคำเดียวกับกระท่อม ข้าพระพุทธเจ้าลองเทียบคำว่า ทับ กับ (กระ)ท่อม ดู ๆ ก็คล้ายกับว่า เป็นคำเดียวกัน เพราะคำในแม่กบ บางคำก็ปรากฏว่าแปลง ป็นแม่กมก็มี เช่น รวบ และ รวม นอบ และ น้อม ยอบ และ ยอม หรือคำว่า ริม ทางหลวงพระบางว่า ริบ เป็นต้น
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์ ทราบใต้ฝ่าพระบาท