- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือของท่านลงวันที่ ๒ ตุลาคม ได้รับแล้ว จะอธิบายคำซึ่งท่านติดใจสงสัยตามที่รู้ และลางอย่างก็ประกอบทางสันนิษฐานด้วยนั้นก่อน
๑. สีกุหร่า เปนสีเทาเจือแดง ลางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อยอธิบายให้ชัดยาก เปนสีชะนิดสักหลาด หมวกสักหลาดซึ่งเราใส่กันอยู่ในสมัยนี้ก็มีสีอย่างนั้นถมไป ท่านอาจหลับตานึกเห็นได้ เข้าใจว่าเปนคำแขก
๒. พระภูษาริ้ววระวยี่ ฉันก็ไม่ทราบ แต่ผู้ใหญ่ฝ่ายในชั้นเก่าพูดกันมีอยู่ว่าแต่งตัว นุ่งหยี่ น่าจะ เปนชื่อผ้าชะนิดเดียวกัน หากจะเรียกขาดตกบกพร่องไปหรือมิฉะนั้นผ้าเครื่องต้นอาจเสริมคำขึ้นก็ได้ ผ้านุ่งหยี่ นั้นฉันก็เคยเห็น เปนผ้าลายเราดีๆ นี่เอง ที่มีลายเชิงด้วยก็มี ไม่มีก็มี ถ้าเปนผ้าพวกเดียวกัน พระภูษาริ้ววระวยี่ก็คงเปนผ้าลายตีพิมพ์มีเชิงท้องริ้ว ทั้งนี้ก็มีพยานเห็นอยู่ที่ชั้นหลังลงมาทรงพระภูษาเขียนทอง พระภูษาเขียนทอง ก็คือผ้าลายตีพิมพ์เหมือนกัน หากแต่อยากให้งามก็เขียนเส้นทองเติมเข้าเท่านั้น คำซึ่งลงท้ายว่า ยี่ หรือ หยี่ นั้น ให้นึกไปว่าเปนคำแขก จะบอกตำบลที่ทำผ้านั้นเข้ามาก็ได้
๓. พระแสงเวียดเห้า ฉันเคยได้ยินเรียกกันลุ่นๆ แต่ว่า พระแสงเวียด ได้รับพระราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า พระแสงองค์นื้องเชียงสือกลับออกไปได้เปนพระเจ้าแผ่นดินญวนขึ้น รำลึกถึงพระเดชพระคุณซึ่งทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ จึ่งส่งพระแสงองค์นี้เข้ามาถวายสนองพระเดชพระคุณที่เรียกกันว่าพระแสงเวียดนั้น คำ เวียด หมายถึงเวียดนาม ฉันก็หนักปากไปไม่ได้กราบบังคมทูลถาม ว่าเรียกเต็มชื่อเรียกอย่างไร บัดนี้มาปรากฏใน จดหมายการบรมราชาภิเษกรัชชกาลที่ ๔ เขียนว่า เวียดเห้า ฉันเกรงว่าทั้งคำเวียด และ เห้า จะเปนคำญวนหรือคำจีน ถ้าท่านสืบทางพวกชำนาญภาษาญวนภาษาจีนลางทีก็จะได้ความ แต่อย่างไรก็ดี ฉันเห็นว่าคำใดที่ไม่รู้แล้วไม่ควรแก้ ถ้าสู่รู้ไปแก้เข้าก็มีแต่ผิดเปนที่ไป
๔. ฉลองพระองค์ลงราชะ เปนฉลองพระองค์ลงยันตร์ มี ๗ องค์ ๗ สี สำหรับทรง (ชั้นใน) ตามสีวัน นับเปนอย่างหนึ่งในเครื่องพิชัยสงคราม ถ้าจะพิจารณาชื่อประกอบกับลักษณะสิ่งของด้วยแล้ว ฉลองพระองค์ ก็แปลว่า เสื้อ ลง ในที่นี้ต้องแปลว่า ขีด เขียน ราชะ ก็สมควรที่จะเปนชื่อชะนิดยันตร์ ท่านพบในหนังสือ ขุนช้างขุนแผน ที่ว่า เอายันตร์ราชะปะพื้นล่าง นั้น ก็มาสมกับที่นึกว่าจะเปนชือยันตร์นั้นแล้ว ควรเชื่อว่าถูกได้
๕. นุ่งสองปัก เปนผ้านุ่งหมายยศหมายเหล่า อย่างเดียวกับเครื่องแบบทุกวันนี้ เปนผ้าทอด้วยไหมเพลาะกลาง มีขนาดกว่าผ้านุ่งเดี๋ยวนี้สักเท่าเซี่ยว ยาวกว่าผ้านุ่งเดี๋ยวนี้สักเท่ากึ่ง พื้นผ้าเปนสีเปนลายต่างๆ ใช้ตามยศตามเหล่า มีสมปักปูม เปนสูงสุด และสมปักริ้ว เปนต่ำที่สุด วิธีนุ่งนั้นปล่อยชายกระเบนข้างหนึ่งไว้ยาวเท่านุ่งผ้ากันทุกวันนี้ แต่อีกข้างหนึ่งปล่อยยาวไปจนหมดผืนผ้า แล้ว <img> ทบกลับเข้าไปหาตัว เอาชายบนมาสอดเข้าใต้พก ชักขึ้นมีสัณฐานดังปากช้าง ส่วนชายกระเบนนั้นก็เปนชั้นเดียวซีกหนึ่ง เปนพับสองชั้นซีกหนึ่ง ทับกันม้วนโจงอย่างนุ่งผ้าทุกวันนี้ เรียกว่า นุ่งสมปักชักพก ส่วนชื่อผ้านั้นไม่ทราบว่าเรียกอะไรจะถูกแน่ สองปัก เห็นมีแต่เขียนไว้ในหนังสือ ไม่มีใครพูดส่วนพูดกันมีแต่เรียก สมปัก กับ ถมปัก คำ สมปัก เขียนลงเปนหนังสือมี แต่ ถมปักไม่มี หนังสือเขมรเขียน สมปัต โปรเฟสเส้อ เซเดส์ บอกว่าอ่านออกเสียงเปน ซอมปว้ต จะอย่างไรก็ตามใจท่าน
เมื่อได้อ่านปรูพเพื่อแก้ปัญหาห้าข้อนี้ ก็เลยเห็นคำอะไรต่ออะไรเตือนใจให้กำเริบที่จะพูดต่อไปนี้
๑. ในหน้า ๑๓ มีคำว่า ทรงฉลองพระกรน้อย คิดว่าตกคำ พระองค์ ไปเสีย ซึ่งควรจะเปน ทรงฉลองพระองค์พระกรน้อย หมายความว่าเสื้อแขนสั้น ตามที่ว่านี้ก็มือย่างให้เห็นได้อยู่หน้า ๒๔ ควรจะสอบต้นฉะบับดูให้ดี
๒. ทิศอิสาน ชื่อทิศอย่างนี้ไม่มีในบาลี มีแต่ทางสํสกฤตเขียนอีศาน เป็นชื่อเทวดา ในบาลีมีคำนี้ในธชัคคสูตต์ ซึ่งเก็บเอาเรื่องเทวาสุรสงครามของพราหมณ์มาเล่า ในภาษาบาลีมีตัว ส ตัวเดียว จึงต้องเขียน อีสาน ก็เมื่อหนังสือของเรามี ศ ษ ส เหมือนหนังสือสํสกฤตจะ เขียนตามสํสกฤตเป็น ทิศอีศาน ไม่ดีหรือ จัดว่าถูกกว่าเขียน อีสาน ตามบาลีเป็นไหนๆ ใน ปทานุกรมกระทรวงธรรมการ ก็มีให้ไว้ทั้งสองอย่าง จะเขียน อีศาน ก็ไม่เปนผิด
๓. มนต์ ในปรูพแก้เปน มนตร์ ทุกแห่ง ใน ปทานุกรมกระทรวงธรรมการ ก็มีอยู่ทั้งสองอย่าง จะเขียนอย่างไรก็ได้ไม่เปนผิด แต่ฉันพิจารณาเห็นว่า มนต์ กับมนตร์ นั้นมีความหมายต่างกัน มนต์ เปนภาษาบาลีทางพระพุทธศาสนาหมายความว่าสาธยายพระพุทธวจน ส่วน มนตร์ เป็นภาษาสํสกฤตทางไสยศาสตร์หมายความว่าอ้อนวอนพระผู้เปนเจ้า (Hymn) เพราะฉะนั้นถ้าเขียนต่างกันเปน สองอย่าง คือ ทางพระพุทธศาสนาเขียน มนต์ ทางพราหมณ์เขียน มนตร์ จะได้จะดีหรือไม่
๔. ไม้ไต่คู้ ครูเคยสอนว่าคำที่มาทางบาลีอย่าเอาไปใส่เข้า เพราะในภาษาบาลีไม่มีใช้ไม้ไต่คู้ ฉันเห็นชอบด้วย แม้แต่คำไทยเราก็ไม่ได้ใช้ทุกคำไป คำใดที่ข้างบนจึงใช้ได้ ถ้าคำใดที่ข้างบนไม่ได้ว่าง เช่น เงิน ต่องที่ใช้ก็ไม่เห็นมีใครใช้ ในปรูฟเรื่อง ราชาภิเษก คำ สรรเพชญ เพชร มีแก้ใส่ไม้ไต่คู้ไว้ทั้งนั้น
๕. แม้น กับ แม้ มีคนใช้ปนเปเปนคำเดียวกัน แต่ฉันเห็นว่าเปนคนละคำไกลกันมาก แม้น ตรงกับ คล้าย แม้ ตรงกับ ถ้า ในปรูฟเรื่องราชาภิเษก มีใช้คำแม้นอยู่ในที่ แม้ ดูเหมือนสองแห่ง
๖. บัณฑูร ภาษาอะไร แปลว่ากะไรไม่ทราบ ใช้อยู่ในที่ มานพระบัณฑูร
พูดถึงคำแล้วก็เลยไปถึงความด้วย ฉันไม่เลื่อมใสในตำรา ปัญจราชาภิเษก เลย เพราะใจไม่เห็นด้วย ดั่งจะแสดงข้อใหญ่ให้ทราบต่อไปนี้
๑. อินทราภิเษก จำเปนอย่างไรที่คำว่า อินทร จะต้องเปนพระอินทร์เขียวๆ ลงจากฟ้ามาช่วยทำอภิเษกให้ ซึ่งจะเปนไปไม่ได้ ถ้าหากจะเปนการอภิเษกพระอินทร์ในแผ่นดิน คือ นรินทร์ ชนินทร์ จะไม่ได้หรือ
๒. ปราบดาภิเษก ชื่อนี้ตามที่เรายึดถือกันต้องมีฆ่าอยู่ในนั้น แต่เมื่อตรวจดูคำ ปฺารปฺต ในดิกชันรีของโมเนียวิลเลียมส์ แปลให้ไว้เปนไป แต่ในทางว่าได้ ว่า ถึง ไม่มี ฆ่า อยู่ในนั้น ที่จัดว่าใกล้ ฆ่า มีอยู่คำหนึ่งว่า ชะนะ แต่ความชะนะก็ไม่จำเปนต้องมีฆ่าทุกทีไป เอาเปนใช้ได้ว่าถ้าได้ราชสมบัติด้วยชิงมาแล้วทำอภิเษก ควรเรียกว่าปราบดาภิเษก
๓. ราชาภิเษก รดน้ำให้เปนพระราชาแน่นอน แต่คำ ราชา นั้นจะหมายจำเพาะแต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นหรือ ในพระราชพงศาวดาร ลูกหลวง เรียก ราชา ก็มี เช่น พระอินทราชาในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระเธียรราชาในแผ่นดินขุนวรวงษาเปนต้น เพราะฉะนั้นถ้าราชาภิเษกหมายถึงตั้งลูกหลวงแล้ว อินทราชาภิเษกก็น่าจะหมายถึงตั้งพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าราชาภิเษก เปนตั้งพระเจ้าแผ่นดิน (King) อินทราชาภิเษกก็เห็นจะถีบขึ้นไปเปนตั้งราเชนทร์ (Emperor)
๔. โภคาภิเษก เห็นเปนงานขึ้นเรือน รดน้ำมอบสมบัติให้ครองใครๆ ก็ได้ไม่จำต้องเปนพระเจ้าแผ่นดิน อภิเษก ก็แปลว่ารดน้ำเท่านั้น การรดน้ำโกนจุกแต่งงานก็ทำกันอยู่ทั่วไป
๕. อุภิเษก คำนี้เปนคำไทย ไม่ใช่บาลีสํสกฤต เข้าใจกันอยู่ทั่วไปว่า เปนการแต่งงานสมรส เปนอย่างอื่นไปไม่ได้
เห็นว่าตำรา ปัญจราชาภิเษก นี้เก็บเอาคำร่วงๆ มารวมแต่งไขความให้เปนตำราอภิเษกพระเจ้าแผ่นดินขึ้นทั้งหมด ติดจะขอไปที แต่ที่เก็บได้มาก็ไม่หมด ยังมีตกอยู่อีกมาก เช่น สังครามาภิเษก บุษยาภิเษก และอื่นอีก แต่ตามที่ฉันกล่าวมานี้กล่าวตามความเห็นซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันยังหาได้สอบสวนหาที่ถูกผิดดูไม่
เสียใจ หลวงธรรมาภิมลไม่เคยเห็นกุลาตีไม้ ไปฉวยเอากลอนอะไรมาให้ เปนกลอนเก่าจริง แต่เปนเรื่องบ้านนอกคอกนา หาใช่คำร้องกุลาตีไม้ไม่ ฉันตั้งใจจะจดบันทึกในเรื่องการเล่น ๕ อย่างให้แก่ท่าน แต่ยังไม่พร้อม บัดนี้เห็นว่าท่านหลงจึงจะบอกไว้พลาง คำร้องกุลาตีไม้เปนดังนี้
ศักxดานุxภาพ | เลิศxล้ำแดนไตร |
สิทธิxครูมอบxให้ | จึ่งxแจ้งฤทธาเชี่ยวxชาญxชัย |
เหตุใดนาxพ่อ | พระเดชพระxคุณปกxเกล้า |
ไพร่xฟ้าอยู่xเย็น |
จบแล้วกลับต้น เวียนอยู่เท่านี้เอง คำ เลิศ ร้อง เลิศศะ ที่ x หมายจังหวะตีไม้ตรงคำนั้น
ฉันเห็นเค้าทีเปนโคลง โคลงอย่างเก่าซึ่งยังไม่ถือเฉียบขาดในสัมผัสส์และวรรณยุตนัก ดั่งจะเขียนเดาให้ดูนี้
ศักดานุภาพลา | แดนไตร |
สิทธิครูมอบให้ | จึ่งแจ้ง |
ฤทธาเชี่ยวชาญชัย | เหตุใด นาพ่อ |
เหตุพระคุณปกเกล้า | ไพร่ฟ้าอยู่เย็นฯ |
ได้ส่งปรูฟกับบทกุลาตีไม้ของหลวงธรรมาภิมลคืนมาให้นี้แล้ว ขอโทษ ฉันทำกระดาษขาดไปนิดหนึ่ง เพราะติดกาวที่ซอง เอามีดตัดกระดาษสอดเข้าไปตัดเลยตำทะลุ