- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
ฉันเคยได้ค้นหาเศษผ้าต่าง ๆ ให้ท่าน เพื่อจะได้เห็นตัวจริงประกอบคำที่ฉันบอกให้เข้าใจดีขึ้น ได้ส่งมาให้นี้แล้ว เว้นแต่ผ้าตาดระกำไหมหาเศษไม่ได้ ได้ส่งผืนผ้ามาให้ท่านดู เมื่อท่านดูแล้วขอให้ส่งกลับคืนไป แต่ส่วนเศษผ้าอย่างอื่นนั้นท่านเอาไว้ได้ ดีใจที่ได้เศษผ้าขี้ริ้วทองปัตหล่ามาให้ท่านด้วย ฉันก็พูดผิดไปด้วยเข้าใจว่าริ้วทองนั้นทำด้วยไหมทอง แต่ครั้นหาเศษผ้าได้ มาพิจารณาดู เห็นไม่ใช่ไหมทอง เปนเส้นทองแล่งทีเดียว
อนึ่ง นึกขึ้นมาได้ว่า ผ้าสมปักนั้นเปนสองชะนิด คือผ้าสมปักลายสำหรับนุ่งเต็มยศชะนิดหนึ่ง กับผ้าสมปักไหมสำหรับนุ่งเข้าเฝ้าเวลาปกติชะนิดหนึ่ง ผ้าสมปักไหมนั้นได้ชี้แจงมาให้ท่านทราบโดยละเอียดแล้ว และจะชี้แจงให้ท่านทราบต่อไปอีกว่า อันผ้าสมปักไหมนั้น เขาไม่นุ่งกันมาแต่บ้านมิได้ เขามานุ่งกันเอาในพระราชวัง เวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้าออกจากเฝ้าแล้วก็ผลัด เห็นจะเพื่อรักษาไม่ให้ทรุดโทรมไปเสียเร็ว เห็นจะเปนของหายาก ส่วนผ้าสมปักลายนั้นเห็นเรียกแต่ในหมาย ดูที่เขานุ่งกันจริง เขาก็นุ่งผ้าชะนิดที่เรียกว่า เกี้ยวลาย จนทำให้เข้าใจไปว่า ผ้าสมปักลายกับผ้าเกี้ยวลายเปนผ้าชะนิดเดียวกัน จนกระทั่งเรียกของเก่าที่คลังในมาดู ผเอิญมีผ้าลายติดออกมาด้วยผืนหนึ่ง มีขนาดกว้างยาวเท่ากับสมปักไหม และเพลาะกลางเหมือนสมปักไหม จึงได้เข้าใจว่าผ้าสมปักลายนั้นมีต่างหาก แต่นุ่งแล้วดูก็คงเหมือนกับเกี้ยวลาย เขาจึงนุ่งเกี้ยวลายแทน สมปักลายจริง ๆ เห็นจะหานุ่งยาก ในเรื่องราชาภิเษกนั้น เห็นจะพูดหมายถึงสมปักลาย แต่สมปักลายจะถือลายเปนชั้นยศอย่างไรหรือไม่ ฉันไม่ทราบ เกิดไม่ทันเวลาที่เขาใช้กัน แต่เชื่อว่าเห็นจะไม่มีกำหนด เพราะเอาผ้าเกี้ยวใช้นุ่งแทนก็ไม่เห็นเลือกกันที่ว่าใครจะต้องนุ่งลายชะนิดไร