- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ขอประทานกราบทูล ทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๓ เดือนนี้ โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าสอบสวนตำราแห่เพชรพวง ครั้งแผ่นดินสมเดจพระนารายณ์ ในกระบวนช้าง มีช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตรอยู่ในนั้นหรือไม่ เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า
ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจดูตำราแห่เพชรหวง ครั้งแผ่นดินสมเดจพระนารายณ์ ที่มีอยู่ในหอสมุดอยู่สามฉะบับ คือ (๑) ฉะบับสมุดไทยดำ ขนาดใหญ่เส้นรงค์ เปนฝีมือเขียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าในรัชกาลที่ ๑ หนังสือฉะบับนี้ หอสมุดได้มาจากออฟฟิสหลวงเมื่อปีที่แล้ว ในบานแพนกว่า เขียนขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๒ ปีชวด โทศก
(๒) ฉะบับหม่อมเจ้าปิยภักดีนาถ สมุดไทยขาวเส้นหมึก เป็นฉะบับชุบเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลู เบ็ญจศก
(๓) ฉะบับหอสมุด สมุดไทยขาว จำลองจากฉะบับที่ (๒) แต่มีรูปภาพเส้นหมึก ข้อความทั้งสามฉะบับนี้เหมือนกัน
ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจดูข้อความทั้งสามฉะบับแล้ว ไม่ปรากฏว่ากล่าวถึงช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตร ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดข้อความในฉะบับ (๑) ตอนที่ว่าด้วยช้างพระที่นั่ง ถวายมาด้วยแล้ว
ข้อความในนั้นมีคำแปลกๆ ที่ข้าพระพุทธเจ้าอ่านไม่เข้าใจอยู่หลายคำเช่น
พนาฏ พนาถ คำนี้ในปทานุกรมเขียนว่า พนาด แปลว่า เบาะ แต่ในที่นั้นก็มีคำว่าเบาะอยู่ด้วย ถ้าเป็นเบาะก็คงเป็นเบาะพิเศษที่ใช้โดยฉะเพาะ
ใส่เสื้อเครื่องเกี้ยวเจรบาต ตะเกีง นุ่งลายใส่เสื้อ ไม่ทราบเกล้าว่าตะเกีง เป็นอะไร
ช้างพังพระที่นั่ง ภุตานทองสคนผูกดาวทองพนาถ คำว่า ภุตาน ข้าพระพุทธเจ้าเคยเหนพระที่นั่งพุดตาล เป็นรูปกลีบคล้ายใบเสมา ดูไม่คล้ายคลึงกับดอกพุดตาลที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยเหน บางท่านก็ว่าเป็นคำเดียวกับดอกโบต๋านของจีน แต่ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังไม่เคยเห็นตอกโบต๋าน ทองสคน ไม่ทราบเกล้าว่า ทองชะนิดไร ในที่แห่งอื่นบางทีก็มีคำว่า ทองตะกู ซึ่งไม่ทราบเกล้าว่า ทองอะไร จะว่า ตะโก ความก็ไม่เข้ากัน
พระแสงลัจกัน กบี่ภก-บุญเบาะ และคำว่า ลูกมากลันไต ในความว่า หมื่นสรสำแดงห่มเสื้อสักลาดเขียวแทงลูกมากลันไต ไม่ทราบเกล้าว่าเป็นของสิ่งไร ความในตอนหลังใช้ว่า ห่มเสื้อ และที่บางแห่งก็ใช้ว่าใส่เสื้อ ทำให้ข้าพระพุทธเจ้าสงสัยไปว่า ที่ใช้ว่า ห่มเสื้อ จะเป็นเสื้อที่ไม่มีแขนและใช้คลุมอย่างเสื้อเกราะที่เอาเข้าประกับข้างหน้าหลัง ผิดกับที่ใส่เสื้อกันธรรมดากระมัง
ทั้งนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบารมีเปนที่พึ่ง ขอประทานทราบเกล้าด้วย
อนึ่ง ในเรื่องตำราแห่เพชรพวง มีคำว่า ห่มเสื้อมิสรูริ้ว นุ่งกางเกงยก ข้าพระพุทธเจ้าค้นในพจนานุกรมภาษามลายู พบคำว่า Misru แปลว่า “ผ้าซึ่งมีไหมทองแล่น” เสื้อมิสรูริ้ว ก็เหนจะเป็นเสื้อผ้าเข้มขาบชะนิดหนึ่ง ส่วนคำว่า ผ้ายก จะหมายความถึงแพรหรือผ้าที่ยกดอก ใช้ได้ทั่วไป หรือฉะเพาะชะนิด ขอประทานทราบเกล้า
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายเรื่องลักษณะนุ่งผ้าขี่ช้าง ซึ่งคัดมาจากตำราขี่ช้าง ข้าพระพุทธเจ้าลืมเรื่องนี้ และนึกไม่ออกถึงที่เคยรับสั่งไว้ ค้นหาโนตที่จดไว้ก็ไม่พบ ต่อเมื่อได้รับลายพระหัตถ์เรื่องตำราเพชรพวง จึงระลึกขึ้นมาได้ ทั้งนี้พระอาชญาไม่พ้นเกล้า ข้อความในเรื่องนุ่งผ้าขี่ช้าง ไม่ได้อธิบายถึงวิธีนุ่ง บอกว่าถึงจะอธิบายก็จะมิเข้าใจ ข้าพระพุทธเจ้าลองค้นดูรูปเขียนก็ไม่มี รู้สึกด้วยเกล้าว่า ต่อไปเหนจะสูญ น่าเสียดายมาก นอกจากจะได้เขียนเป็นรูปขึ้นไว้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเดจพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ทราบใต้ฝ่าพระบาท
----------------------------
ช้างพระที่นั่งในตำราแห่เพ็ชรพวง
-๑-
ช้างพังพระธี่นั่งนำ ผูกตาวทองพนาฏปักทองแผ่ลวดมีระไบ เชิญพระแสงปืนสั้น ๒ บอก พระแสงพร้าเล่ม ๑ พระแสงกบี่เบาะองค์ ๑ นายจำลองขวาน่งสนับเพลา ใส่เสื้อเครื่องเกี้ยวเจรบาด ตเกิง นุ่งลายใส่เสื้อเครื่องเรือปืนกลางนายช้างนุ่งลายเกี้ยวลายควาน
-๒-
ช้างพังพระธินั่งภุตานทองสคนผูกดาวทองพนาถ กำมญีหักทองขวางปรดับพลอยมีคายหน้า ชาวแสงเชิญพระแสงเกาทัน พระแสงปืนซั่น ๒ บอก พระแสงปืนยาวบอก ๑ พระแสงหอกลัจกันด้ำทองถึบ ๒ พระแสง ดาบใจเพชรทรงม้า ๑ ม้าผูกข้างพระที่นั่ง มหาดเล็กเชิญพระล่วมทอง พระสุพัณศรี นายทรงบาทนุ่งสนับเพลาสมปักลาย ใส่เสื้อเครื่องเกียว ปันเหนงทองสายเงิน ดอกปรจำยามทอง ควานท่ายพระธีนัง
-๓-
ช้างพังพระธินั่งรอง ผูกดาวทองกลมพนาด สักลาดประกดาด ชาวแสงเอาพระแสงปืนซั่น ๒ บอก พระแสงพราเล่ม ๑ ใส่เบาะ พระแสงกะบี่องค์ ๑ ผูกหลังเบาะ หมื่นสรสำแดงห่มเสื้อสักลาดเขียวแทงลูกมากลันไต ถือปืนกลาง นายจำลองทำคอ นุ่งลาย ห่มเสื้อเครื่องเกี้ยวลาย นายช้างนุ่งลายเกี้ยวลาย ควาน
-๔-
ช้างพังพระธินั่งทรง พลายดาวนกแปดกลีบพนาด มีภูแลข่ายหน้า ชาวพระแสงเอาพระแสงปืนซั่น ๒ บอก พระแสงพราเล่ม ๑ พระแสงกบี่ภกบุญเบาะเล่ม ๑ ขี่ใส่สนับเพลานุ่งสมปักลายใส่เสื้อเครื่อง คาดเจียรบาดเวนขึน นายมหานุภาพ เวนแรมปราบไตรภพ นายช้างนุ่งลายเกียวลายควาน
ลักษณะนุ่งผ้าขี่ช้าง
คัดจาก พระสมุดตำราช้าง ฉะบับซื้อจาก ม.ล. แดง สุประดิษฐ์ สมุดไทยดำ เส้นรงค์ มีว่า
สิทธิการิยะ จะเรียนขี่ช้าง ให้รู้จักกลจะนุ่งผ้าขี่ช้าง ๙ ชั้น ๗ ชั้น ๕ ชั้น ๓ ชั้น เป็นนพนั้น จะบอกไว้ในนี้จะมิเข้าใจ ต่อนุ่งให้ดูเห็นแล้วจึงจะเข้าใจ จะบอกไว้ก็แต่นุ่งผ้านี้มี ๔ อย่าง ๆ หนึ่งชื่อว่า บัวกลม อย่างหนึ่งชื่อว่า บัวห่อ อย่างหนึ่งชื่อว่า บัวจีบ อย่างหนึ่งชื่อว่า เกไล จะนุ่งอย่างไรก็ตามแต่จะรักนุ่งเถิด ชั้นในนั้นเหมือนกันแล
อันว่ากลจะเกี้ยวผ้านั้นมี ๔ อย่าง ๆ หนึ่งชื่อว่า กระหวัดจำ อย่างหนึ่งชื่อว่า พันทะนำ อย่างหนึ่งชื่อว่า กองกะพัน ๆ เกี้ยวเป็น ๓ อย่าง อย่างเอก อย่างโท อย่างตรี อย่างหนึ่งชื่อว่า เกไล ๆ เกี้ยวเป็น ๓ อย่าง อย่างหนึ่งเอกอุ ตรวย ๓ ชั้น อย่างหนึ่ง เอกสอ ตรวย ๒ ชั้น อย่างหนึ่ง เอกมอ ตรวยชั้นหนึ่ง เกี้ยวได้แต่มหาดไทย กลาโหม จัตุสดมภ์ จางวาง เกี้ยวกองกะพันเอก เกี้ยวเพียงเข่า เกี้ยวกองกะพันโท เกี้ยวเพียงกลางขา เกี้ยวกองกะพันตรี เกี้ยวเพียงคอช้าง สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าสั่งพระเพชราชา ผู้ว่าที่กลาโหม ให้จัดแจงผู้จะนุ่งผ้าเกี้ยวผ้า ผู้ขี่ช้างตามบันดาศักดิ์ให้ศึกษาร่ำเรียนให้ถูกในกฎหมายนี้