- คำนำ
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๓)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๓)
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส
- ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ยส (๒)
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
- ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น (๒)
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น (๒)
- ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส (๓)
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ น
- ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยส
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๙
พระยาอนุมานราชธน
ได้รับหนังสือของท่าน ลงวันที่ ๑๔ ตอบเห็นชอบในหลักอันตั้งขึ้นสำหรับแก้กฎมนเทียรบาลพะม่า ฉันจะทำบันทึกที่เห็นว่าตรงไหนควรจะแก้เปนอย่างไร มาให้ท่านพิจารณาในวันหน้า
เมื่ออ่านถ้อยคำของท่านในตอนท้าย ทำให้เกิดความเห็นว่า ควรจะเติมหลักขึ้นอีกข้อหนึ่งดังนี้
(๖) คำใดอันเปนที่สำคัญ ถ้าสืบมาสอบได้ผิดกันอยู่มาก ต้องทำบันทึกจดเปนฟุตโนตลงไว้ด้วย
ท่านพูดถึงภาษาธิเบต ทำให้ฉันนึกอดหัวเราะไม่ได้ ฉันได้เคยบุกเข้าไปในภาษาธิเบตมาแล้ว ด้วยมีธุระในนั้น ถ้อยคำที่เขียนไว้เป็นหนังสือโรมัน พยายามที่จะเดาอ่านออกเสียง แต่ไม่ได้เสียเลย เพราะใช้ตัวอะไรต่ออะไร ซึ่งไม่เคยเห็นภาษาใดใช้กันเลย เอาเข้าควบกันไม่ใช่เล็กน้อยตั้งสามตัวสี่ตัว หมดปัญญาที่จะอ่านทีเดียว
อนึ่ง การออกเสียงของชาติเดียวชาติหนึ่ง เขาก็ว่าไม่เหมือนกัน เช่นเขมรเมืองพนมเพญกับเขมรเมืองบัดตัมบอง เขาก็ว่าพูดผิดกัน ต้องเปนอันแน่ เช่นไทยเราชาวเหนือชาวกรุงและชาวปักษ์ใต้ ใช้ถ้อยคำสำนวนและออกเสียงผิดกันมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการสอบหนังสือ หากว่าหาคนที่มาแต่เมืองหลวงสอบได้ จะได้หลักมั่นดีกว่าได้คนที่มาแต่หัวเมืองอีกด้วย
----------------------------
บันทึกคำพะม่าในหนังสือนี้
หน้า ๑๕ ลุด หรือ ลุดต่อ (Hlut หรือ Hlutdaw) ที่ประชุมใหญ่
หน้า ๔ พระที่นั่ง มะเยนัน ว่าพระที่นั่งพื้นดิน (เมี้ยวนาน)
หน้า ๕ ประตู ตะคาหนี่ พระทวารกลาง หรือพระทวารใหญ่
หน้า ๒ นาขั่นด่อ (นาขั่น นักการ ด่อ พระหรือหลวง) ผู้ทูลเสนอหวุ่นยี่ เสนาบดีผู้ใหญ่มี ๔ นาย ยี่ แปลว่าหลวง ว่าใหญ่
Yôn หรือ Rôn (โรง) ที่ประชุม ศาล
Nyilakan ที่อัครมหาเสนาบดีเฝ้า อยู่ในพระราชฐาน
หน้า ๑๕ บะเยไดก์ ที่พบกับอตวินหวุ่น บะแย ว่าโสด ไดก์ ว่าตึก
หน้า ๑๕ อตวินหวุ่น
หน้า ๑๙ พระที่นั่ง มันนันดอ ที่ข้าราชการเฝ้า
lopetye-siang ที่เฝ้าเหมือนกัน
Bo-shu ที่เฝ้าตอนบ่าย
tè ห้องพักอำมาตย์ที่ลุดต่อ
หน้า ๓๑ chatty
หน้า ๓๒ สันดอซิ้น สัน ว่าพูด ดอ ว่าพระ ชิ้น ว่าสิงห์ คือปลัดทูลฉลอง รับสีหนาทมา
หน้า ๑๘ หนิดสิตกาเดาะ หนิด ว่าปี สิด ว่าใหม่ กาเดาะ ว่าพิธี พิธีขอฝน โมนัดปูชอป๊วย โม ว่าฝน นัด ว่าเทวดา ปูชอ ว่าบูชา ป๊วย ว่าพิธี
พิธีทำรูปปราสาทจำลอง ตาชองเดียงป๊วย ตาชอง ว่าธงลงคาถา เดียง ว่าเสา